ผู้เขียน หัวข้อ: วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อราคายาง วันจันทร์ที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2557  (อ่าน 998 ครั้ง)

Rakayang.Com

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 84462
    • ดูรายละเอียด

วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อราคายาง

วันจันทร์ที่  8  ธันวาคม  พ.ศ. 2557


ปัจจัย

วิเคราะห์

1. สภาพภูมิอากาศ

- บริเวณความกดอากาศสูงจากประเทศจีนยังคงแผ่ปกคลุมประเทศไทยตอนบน ทำให้บริเวณดังกล่าวมีอากาศเย็น ส่วนภาคใต้มีฝนอยู่ในเกณฑ์กระจายร้อยละ 40 - 60 ของพื้นที่ ส่วนมากบริเวณจังหวัดชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา และนราธิวาส ส่งผลกระทบต่อการกรีดยาง

2. การใช้ยาง

- สมาคมผู้นำเข้ารถยนต์ญี่ปุ่นเปิดเผยว่า ยอดจำหน่ายรถยนต์นำเข้าเดือนพฤศจิกายน ซึ่งรวมรถยนต์ที่ผลิตโดยบริษัทญี่ปุ่นในต่างประเทศลดลงร้อยละ 6.8 เมื่อเทียบเป็นรายปี อยู่ที่ 26,555 คัน

3. สต๊อคยาง

- สต๊อคยางจีน ณ วันที่ 5 ธันวาคม 2557 เพิ่มขึ้น 3,279 ตัน หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.40 อยู่ที่ 139,810 ตัน จากระดับ 136,531 ตัน เมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน 2557

4. เศรษฐกิจโลก

- ธนาคารกลางยุโรป (ECB.) มีมติคงอัตราดอกเบี้ยระดับต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ที่ร้อยละ 0.05 ในการประชุมเมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน 2557 ท่ามกลางความวิตกกังวลเกี่ยวกับเศรษฐกิจที่ชะลอตัว และภาวะเงินฝืดในยูโรโซน การคงอัตราดอกเบี้ยครั้งนี้มีขึ้นหลังจากมีข้อมูลระบุว่าผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ไตรมาส 3 ของยูโรโซนขยายตัวเพียงร้อยละ 0.2 และอัตราเงินเฟ้อเดือนพฤศจิกายนอยู่ที่ร้อยละ 0.3 ซึ่งเป็นเดือนที่ 14 ติดต่อกันที่อัตราเงินเฟ้อเคลื่อนไหวต่ำกว่าร้อยละ 1.0 และต่ำกว่าเป้าหมายที่ ECB. กำหนดไว้ที่ร้อยละ 2.0

- เทโคกุ ดาด้า แบงค์ เปิดเผยว่า จำนวนบริษัทล้มละลายอันเป็นผลมาจากการอ่อนค่าของเงินเยนในญี่ปุ่นปรับตัวเพิ่มขึ้น 2.3 เท่าจากปีก่อน อยู่ที่ 42 ราย ทำสถิติสูงสุดเท่าที่เคยเริ่มบันทึกข้อมูลเมื่อเดือนมกราคม 2556 และได้ปรับตัวทำสถิติสูงสุดเป็นเดือนที่ 3 ติดต่อกัน

- ศูนย์วิจัยทางสังคมวิทยา (CIS) เปิดเผยว่า ความเชื่อมั่นผู้บริโภคสเปนเดือนพฤศจิกายนปรับตัวลง 3.2 จุดจากเดือนก่อน สู่ 83.6 จุด สะท้อนว่าผู้บริโภคมีมุมมองเชิงลบต่อสถานการณ์ทางเศรษฐกิจของประเทศ

- สำนักงานคณะรัฐมนตรีญี่ปุ่นเปิดเผยว่า ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ไตรมาส 3 หดตัวร้อยละ 1.9 ลดลงจากที่ประมาณการเบื้องต้นเมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน 2557 ว่าจะหดตัวลงร้อยละ 1.6 ทั้งนี้การหดตัวลงของ GDP เป็นสาเหตุที่ทำให้นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นตัดสินใจเลื่อนการปรับขึ้นภาษีการบริโภคครั้งที่ 2

- กระทรวงการคลังญี่ปุ่นเปิดเผยว่า ญี่ปุ่นมียอดเกินดุลบัญชีเดินสะพัดติดต่อกันเป็นเดือนที่ 4 โดยเดือนตุลาคมมียอดเกินดุลอยู่ที่ 8.334 แสนล้านเยน

- กระทรวงเศรษฐกิจเยอรมันเปิดเผยว่า คำสั่งซื้อภาคอุตสาหกรรมเดือนตุลาคมปรับตัวขึ้นร้อยละ 2.5 บ่งชี้ว่าเศรษฐกิจของเยอรมันมีแนวโน้มขยายตัวแข็งแกร่งมากขึ้นในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปี

5. อัตราแลกเปลี่ยน

- เงินบาทอยู่ที่ 33.04 บาทต่อดอลล่าร์สหรัฐ อ่อนค่าลง 0.16 บาทต่อดอลล่าร์สหรัฐ

- เงินเยนอยู่ที่ 121.51 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ อ่อนค่าลง 1.70 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ

6. ราคาน้ำมัน

- สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาด Nymex ส่งมอบเดือนมกราคม 2558 ปิดตลาดที่ 65.84 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล ลดลง 0.97 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล โดยได้รับแรงกดดันจากซาอุดิอาระเบียประกาศลดราคาน้ำมันที่เสนอขายให้กับลูกค้าในเอเซีย

- ราคาน้ำมันดิบเบรนท์ (Brent) ตลาดลอนดอน ส่งมอบเดือนมกราคม 2558 ปิดที่ 69.07 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล ลดลง 0.57 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล

7. การเก็งกำไร

- ราคาตลาด TOCOM ส่งมอบเดือนมกราคม 2558 อยู่ที่ 187.4 เยนต่อกิโลกรัม เพิ่มขึ้น 0.7 เยนต่อกิโลกรัม และส่งมอบเดือนพฤษภาคม 2558 อยู่ที่ 199.4 เยนต่อกิโลกรัม เพิ่มขึ้น 2.0 เยนต่อกิโลกรัม

- ราคาตลาด SICOM เปิดตลาดที่ 155.1 เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม เพิ่มขึ้น 1.1 เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม

8. ข่าว

- สำนักงานสถิติแห่งชาติฝรั่งเศสเปิดเผยว่า อัตราว่างงานไตรมาส 3 ได้ปรับตัวขึ้นแตะร้อยละ 10.4 เพิ่มขี้นจากร้อยละ 10.1 ในไตรมาส 2

- กระทรวงแรงงานสหรัฐฯ เผยยอดจ้างงานนอกภาคเกษตรเดือนพฤศจิกายนเพิ่มขึ้น 321,000 ราย เป็นการเพิ่มขึ้นในอัตราเร็วที่สุดนับตั้งแต่เดือนมกราคม 2555 โดยรายงานระบุว่าอัตราว่างงานยังคงทรงตัวอยู่ที่ร้อยละ 5.8 ในเดือนพฤศจิกายน ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดในรอบ 6 ปี ส่วนจำนวนผู้ว่างงานแทบไม่มีความเปลี่ยนแปลง โดยอยู่ที่ 9.1 ล้านราย

- ประธานธนาคารเพื่อการพัฒนาเอเชีย (ADB) กล่าวว่า การปรับตัวขาลงของราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกช่วงที่ผ่านมามีแนวโน้มจะส่งผลดีต่อเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชีย

- กระทรวงแรงงานสหรัฐฯ เปิดเผยจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานครั้งแรกในรอบสัปดาห์ สิ้นสุดวันที่ 29 พฤศจิกายน 2557 ปรับตัวลง 17,000 ราย อยู่ที่ 297,000 ราย ขณะที่นักวิเคราะห์คาดว่าตัวเลขดังกล่าวจะลดลงอยู่ที่ 295,000 ราย

9. ข้อคิดเห็นของผู้ประกอบการ

- ราคาคาดว่าจะปรับตัวสูงขึ้นเล็กน้อยจากเงินบาทอ่อนค่า และผู้ประกอบการบางรายยังมีความต้องการซื้อเพื่อส่งมอบล่วงหน้า อย่างไรก็ตาม ยังคงขายยาก ผู้ซื้อเสนอซื้อราคาต่ำ ต้องรอดูสถานการณ์ต่อไปหลังปีใหม่

แนวโน้ม ราคายางมีแนวโน้มทรงตัวหรือเปลี่ยนแปลงในช่วงแคบ ๆ โดยมีปัจจัยบวกจากราคาชี้นำตลาดล่วงหน้าโตเกียวปรับตัวสูงขึ้นจากการอ่อนค่าของเงินเยนและเงินบาท ประกอบกับสหรัฐฯ เปิดเผยตัวเลขจ้างงานที่แข็งแกร่งเพิ่มขึ้นมากที่สุดในรอบเกือบ 3 ปี ส่วนปัจจัยลบมาจากราคาน้ำมันปรับตัวลดลง และนักลงทุนเกิดความวิตกกังวลจากการที่ญี่ปุ่นเปิดเผยตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ไตรมาส 3 หดตัวลงร้อยละ 1.9 ลดลงจากที่ประมาณการเบื้องต้นว่าจะหดตัวร้อยละ 1.6 ขณะที่สต๊อคยางตลาดล่วงหน้าของจีนเพิ่มขึ้นแตะที่ 139,810 ตัน (5 ธันวาคม 2557) จาก 136,531 ตัน (28 พฤศจิกายน 2557)


ทีมวิเคราะห์สำนักงานตลาดกลางยางพาราสงขลา