ผู้เขียน หัวข้อ: วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อราคายาง วันพฤหัสบดีที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557  (อ่าน 978 ครั้ง)

Rakayang.Com

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 84478
    • ดูรายละเอียด

วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อราคายาง

วันพฤหัสบดีที่  27  พฤศจิกายน  พ.ศ. 2557


ปัจจัย


วิเคราะห์


1. สภาพภูมิอากาศ


- ประเทศไทยตอนบนมีอุณหภูมิสูงขึ้น 1 - 2 องศาเซลเซียส ส่วนภาคใต้มีฝนเป็นแห่ง ๆ ร้อยละ 30 ของพื้นที่ ทำให้หลายพื้นที่ฝนทิ้งช่วง เกษตรกรชาวสวนยางกรีดยางได้เพิ่มขึ้น


2. การใช้ยาง


- สำนักข่าวรอยเตอร์รายงานว่า เวียดนามส่งออกยางธรรมชาติช่วงเดือนมกราคมถึงพฤศจิกายน 2557 คาดว่าจะอยู่ที่ 954,000 ตัน ลดลงประมาณร้อยละ 27.0 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากอุปสงค์ยางลดลง เศรษฐกิจจีนผู้บริโภคยางรายใหญ่ของโลกชะลอตัว


3. เศรษฐกิจโลก


- ข้อมูลล่าสุดจากเวสต์แพค แบงค์ เปิดเผยว่า ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค (CSI) ของจีนเดือนพฤศจิกายนอยู่ที่ 111.0 จุด เปลี่ยนแปลงเล็กน้อยจากเดือนตุลาคมที่ 110.9 จุด และดัชนี CSI ปรับตัวลดลงร้อยละ 8.8 นับตั้งแต่ช่วงต้นปีก่อนที่จะขยับมาทรงตัวในเดือนพฤศจิกายน


- คณะกรรมาธิการยุโรปนำเสนอแผนการลงทุนมูลค่า 3.15 แสนล้านยูโร เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจที่ซบเซาของยูโรโซน เพื่อดึงดูดความสนใจของนักลงทุนเอกชนในการระดมทุน โดยกลุ่มผู้นำสหภาพยุโรปจะอภิปรายแผนลงทุนดังกล่าวในการประชุมวันที่ 18 - 19 ธันวาคม 2557


- ผลการสำรวจความคิดเห็นของบริษัทสัญชาติญี่ปุ่นชี้ว่า บริษัทที่ตอบรับการสำรวจร้อยละ 48.4 ได้รับผลกระทบอันเนื่องมาจากการอ่อนค่าลงอย่างรวดเร็วของเงินเยน


- สำนักข่ารอยเตอร์และมหาวิทยาลัยมิชิแกน รายงานว่าดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคสหรัฐฯ ช่วงท้ายเดือนพฤศจิกายนอยู่ที่ระดับ 88.8 จุด ชะลอตัวลงจาก 89.4 จุดในช่วงต้นเดือนพฤศจิกายน และสวนทางกับที่นักวิเคราะห์คาดว่าจะเพิ่มขึ้นแตะ 90.0 จุด


- ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) เขตชิคาโกลดลงแตะ 60.8 จุดในเดือนพฤศจิกายน จาก 66.2 จุดในเดือนตุลาคม เนื่องจากได้รับแรงกดดันจากยอดสั่งซื้อสินค้าใหม่ที่ลดลง


- องค์การเพื่อความร่วมมือและพัฒนาเศรษฐกิจ (OECD) คาดการณ์ว่า


ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) สหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 3.1 ในปี 2558
ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ยูโรโซนจะขยายตัวร้อยละ 0.8 ในปี 2557 ร้อยละ 1.1 ในปี 2558 และร้อยละ 1.7 ในปี 2559 อย่างไรก็ตาม ภาวะเศรษฐกิจยูโรโซนจะยังคงอ่อนแอ เพราะหนี้สาธารณะและภาคเอกชนยังคงอยู่ในระดับสูง ภาวะสินเชื่อตึงตัว และการว่างงานสูง นอกจากนี้หากอุปสงค์อ่อนแอ เศรษฐกิจยูโรโซนอาจเสี่ยงที่จะเผชิญภาวะถดถอยอย่างยืดเยื้อและเงินฝืด
ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ญี่ปุ่นจะขยายตัวร้อยละ 0.8 ในปี 2558 และร้อยละ 1.0 ในปี 2559 เทียบกับร้อยละ 0.4 ในปี 2557 เนื่องจากตลาดแรงงานที่ปรับตัวขึ้น และการผ่อนคลายทางการเงินเพิ่มมากขึ้น
แนวโน้มเศรษฐกิจในกลุ่มตลาดเกิดใหม่ คาดว่าเศรษฐกิจจีนชะลอตัวลงแตะร้อยละ 7.1 ในปี 2558 เทียบกับร้อยละ 7.3 ที่คาดการณ์ไว้ในปี 2557 และคาดว่ากิจกรรมทางเศรษฐกิจจะฟื้นตัวในอินเดีย อินโดนีเซีย และแอฟริกาใต้ แต่จะยังคงอ่อนแรงในรัสเซีย และบราซิล
- กระทรวงพาณิชย์สหรัฐฯ เปิดเผยว่า การบริโภคส่วนบุคคลปรับตัวขึ้นร้อยละ 0.2 ในเดือนตุลาคม เมื่อเทียบเป็นรายเดือนใกล้เคียงกับที่นักวิเคราะห์คาดว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.3
4. อัตราแลกเปลี่ยน


- เงินบาทอยู่ที่ 32.78 บาทต่อดอลล่าร์สหรัฐ อ่อนค่าลง 0.01 บาทต่อดอลล่าร์สหรัฐ


- เงินเยนอยู่ที่ 117.57 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ แข็งค่าขึ้น 0.17 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ


5. ราคาน้ำมัน


- สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาด Nymex ส่งมอบเดือนมกราคม 2558 ปิดตลาดที่ 73.69 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล ลดลง 0.40 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล หลังจากสำนักงานสารสนเทศด้านการพลังงานของรัฐบาลสหรัฐฯ (EIA.) เปิดเผยสต๊อคน้ำมันดิบประจำสัปดาห์เพิ่มขึ้นสวนทางกับการคาดการณ์ ขณะที่นักลงทุนจับตาดูการประชุมของกลุ่มผู้ส่งออกน้ำมัน (โอเปค) อย่างใกล้ชิด


- ราคาน้ำมันดิบเบรนท์ (Brent) ตลาดลอนดอน ส่งมอบเดือนมกราคม 2558 ปิดที่ 77.75 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล ลดลง 0.58 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล


- สำนักงานสารสนเทศด้านการพลังงานสหรัฐฯ (EIA.) เปิดเผยว่า สต๊อคน้ำมันดิบสหรัฐฯ ในรอบสัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 21 พฤศจิกายน 2557 ทะยานขึ้นสวนทางกับที่คาดการณ์ โดยน้ำมันดิบเพิ่มขึ้น 1.9 ล้านบาร์เรล แตะ 383 ล้านบาร์เรล ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่วันที่ 27 มิถุนายน 2557 สวนทางกับที่คาดว่าจะลดลง 100,000 บาร์เรล


6. การเก็งกำไร


- ราคาตลาด TOCOM ส่งมอบเดือนธันวาคม 2557 อยู่ที่ 187.5 เยนต่อกิโลกรัม ลดลง 1.7 เยนต่อกิโลกรัม และส่งมอบเดือนเมษายน 2558 อยู่ที่ 200.1 เยนต่อกิโลกรัม ลดลง 1.2 เยนต่อกิโลกรัม


- ราคาตลาด SICOM เปิดตลาดที่ 160.3 เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม ลดลง 2.5 เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม


7. ข่าว


- กระทรวงแรงงานสหรัฐฯ เปิดเผยว่า จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานครั้งแรกในรอบสัปดาห์ที่สิ้นสุดวันที่ 22 พฤศจิกายน 2557 ปรับตัวเพิ่มขึ้น 21,000 ราย สู่ระดับ 313,000 ราย สวนทางกับที่คาดว่าจะลดลงแตะ 289,000 ราย เป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ต้นเดือนกันยายนที่ตัวเลขดังกล่าวเกิน 300,000 ราย


- กระทรวงพาณิชย์สหรัฐฯ เปิดเผยว่า ยอดจำหน่ายบ้านใหม่เดือนตุลาคมเพิ่มขึ้นอยู่ที่ 458,000 ยูนิต หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.7 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน


- สมาคมนายหน้าอสังหาริมทรัพย์แห่งชาติสหรัฐฯ (NAR) เปิดเผยว่าดัชนีการทำสัญญาขายบ้านที่รอปิดการขายปรับตัวลดลงร้อยละ 1.1 แตะที่ 104.1 ในเดือนตุลาคม เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า


8. ข้อคิดเห็นของผู้ประกอบการ


- ราคายางปรับตัวลดลง เนื่องจากสภาพอากาศเริ่มดีขึ้น ผลผลิตออาจออกสู่ตลาดเพิ่มขึ้น ขณะที่ผู้ส่งออกยังคงมีราคาส่งมอบล่วงหน้าในราคาต่ำ ประกอบกับราคาชี้นำต่างประเทศยังคงย่ำแย่








แนวโน้ม ราคายางมีแนวโน้มปรับตัวลดลงตามตลาดล่วงหน้าโตเกียวจากการแข็งค่าของเงินเยนและราคาน้ำมันที่ปรับตัวลดลงแตะระดับต่ำสุดในรอบ 4 ปีอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับความวิตกกังวลเกี่ยวกับการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก หลังจากหลายประเทศยังคงเปิดเผยข้อมูลเศรษฐกิจที่อ่อนแอ ซึ่งส่งผลกระทบต่ออุปสงค์ยางชะลอตัวลงด้วย




ทีมวิเคราะห์สำนักงานตลาดกลางยางพาราสงขลา