ผู้เขียน หัวข้อ: วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อราคายาง วันพุธที่? 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557  (อ่าน 1034 ครั้ง)

Rakayang.Com

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 84478
    • ดูรายละเอียด

วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อราคายาง

วันพุธที่  26  พฤศจิกายน  พ.ศ. 2557


ปัจจัย


วิเคราะห์


1. สภาพภูมิอากาศ


- บริเวณความกดอากาศสูงที่ปกคลุมประเทศไทยตอนบนอ่อนกำลังลง ทำให้บริเวณดังกล่าวมีอุณหภูมิสูงขึ้นเล็กน้อย ส่วนมรสุมตะวันตกเฉียงเหนือยังมีกำลังอ่อน ทำให้ภาคใต้มีฝนกระจายเป็นแห่ง ๆ ร้อยละ 30 - 40 ของพื้นที่ เป็นอุปสรรคต่อการกรีดยาง


2. การใช้ยาง


- บริษัทโตโยต้ามอร์เตอร์ ประเทศไทย จำกัด เปิดเผยสถิติการจำหน่ายรถยนต์ประจำเดือนตุลาคม 2557 มีปริมาณ 70,850 คัน ลดลงร้อยละ 20.4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา


3. เศรษฐกิจโลก


- สำนักงานสถิติแห่งชาติเยอรมันเปิดเผยว่า เศรษฐกิจเยอรมันขยายตัวเพียงเล็กน้อยในไตรมาส 3 ปี 2557 โดยผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ไตรมาส 3 ปรับตัวขึ้นร้อยละ 0.1 หลังจากหดตัวร้อยละ 0.1 ในไตรมาส 2


- คอนเฟอเรนซ์ บอร์ด เปิดเผยว่า ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือนพฤศจิกายนแตะที่ 88.7 จุด ปรับตัวลดลงจาก 94.1 จุดในเดือนตุลาคม เนื่องจากผู้บริโภคมีมุมมองด้านบวกลดลงเกี่ยวกับภาวะธุรกิจและตลาดแรงงาน ทั้งในปัจจุบันและอนาคตอันใกล้


- OECD ประมาณว่าเศรษฐกิจโลกจะขยายตัวปานกลางในช่วง 2 ปีข้างหน้า พร้อมเตือนถึงความเสี่ยงจากตลาดการเงินที่ผันผวน และการว่างงานสูงในยูโรโซน โดย OECD คาดการณ์ว่าเศรษฐกิจโลกจะขยายตัวแตะร้อยละ 3.3 ในปีนี้ ก่อนที่จะขยายตัวเร็วขึ้นเป็นร้อยละ 3.7 ในปี 2558 และร้อยละ 3.9 ในปี 2559


- ผลสำรวจภาวะเศรษฐกิจโลกของมาร์กิตพบว่า ความเชื่อมั่นของภาคธุรกิจทั่วโลกปรับตัวลดลงสู่ระดับต่ำสุดในรอบ 5 ปีในเดือนตุลาคม มาร์กิตเปิดเผยว่า ผลการจ้างงานและการลงทุนของภาคธุรกิจต่างก็ปรับตัวลงเกือบแตะระดับต่ำสุดในช่วงหลังของวิกฤตการเงิน


- สำนักงานสถิติแห่งชาติฝรั่งเศสเปิดเผยว่า ความเชื่อมั่นทางธุรกิจในภาคการผลิตเดือนพฤศจิกายนปรับตัวขึ้นแตะ 99.0 จุด จาก 98.0 จุดในเดือนตุลาคม ซึ่งเป็นการปรับตัวขึ้นโดยไม่คาดหมายและแตะระดับสูงสุดนับตั้งแต่เดือนพฤษภาคม


- กระทรวงพาณิชย์สหรัฐฯ เปิดเผยผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ไตรมาส 3 ขยายตัวร้อยละ 3.9 ซึ่งเป็นการปรับทบทวนขึ้นจากตัวเลขประมาณการเบื้องต้นที่ร้อยละ 3.5 และมากกว่าที่คาดไว้ที่ร้อยละ 3.3


- องค์การเพื่อความร่วมมือและพัฒนาเศรษฐกิจ (OECD) ชี้เศรษฐกิจญี่ปุ่นเข้าสู่ภาวะถดถอยหลังจากที่ได้มีการปรับขึ้นภาษีบริโภคเมื่อวันที่ 1 เมษายน พร้อมระบุในรายงานว่า เศรษฐกิจญี่ปุ่นคาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 0.4 ในปี 2557 และขยายตัวร้อยละ 0.8
ในปี 2558 ซึ่งเป็นตัวเลขคาดการณ์ที่ต่ำกว่าระดับที่ทำไว้เมื่อเดือนกันยายนที่ร้อยละ 0.9 และร้อยละ 1.1


- สำนักงานสถิติแห่งสหภาพยุโรป (EU.) เปิดเผยว่า ยอดเกินดุลบัญชีเดินสะพัดกลุ่ม EU. ไตรมาส 3 อยู่ที่ 7.8 พันล้านยูโร ซึ่งลดลงอย่างมากจากระดับ 2.12 หมื่นล้านยูโรในไตรมาส 2 และ 1.73 หมื่นล้านยูโรในช่วงเดียวกันของปีก่อน


4. อัตราแลกเปลี่ยน


- เงินบาทอยู่ที่ 32.77 บาทต่อดอลล่าร์สหรัฐ แข็งค่าขึ้น 0.06 บาทต่อดอลล่าร์สหรัฐ


- เงินเยนอยู่ที่ 117.74 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ แข็งค่าขึ้น 0.36 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ


5. ราคาน้ำมัน


- สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาด Nymex ส่งมอบเดือนมกราคม 2558 ปิดตลาดที่ 74.09 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล ลดลง 1.69 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล เนื่องจากนักลงทุนระมัดระวังบในการซื้อขาย และจับตาดูการประชุมของกลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน (โอเปค) ในวันพฤหัสบดีนี้อย่างใกล้ชิด


- ราคาน้ำมันดิบเบรนท์ (Brent) ตลาดลอนดอน ส่งมอบเดือนมกราคม 2558 ปิดที่ 78.33 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล ลดลง 1.35 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล


6. การเก็งกำไร


- ราคาตลาด TOCOM ส่งมอบเดือนธันวาคม 2557 อยู่ที่ 189.5 เยนต่อกิโลกรัม ลดลง 2.5 เยนต่อกิโลกรัม และส่งมอบเดือนเมษายน 2558 อยู่ที่ 201.7 เยนต่อกิโลกรัม ลดลง 2.5 เยนต่อกิโลกรัม


- ราคาตลาด SICOM เปิดตลาดที่ 162.8 เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม ลดลง 1.7 เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม


7. ข่าว


- องค์การเพื่อความร่วมมือและพัฒนาเศรษฐกิจ (OECD) ชี้ธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) ควรชะลอการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยออกไปก่อน หากการแข็งค่าของเงินดอลล่าร์สหรัฐส่งผลกระทบต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯ นอกจากนี้ OECD ยังได้แนะนำให้เฟดเริ่มปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในช่วงครึ่งหลังของปีหน้า


- สแตนดาร์ด แอนด์ พัวร์ และเคส ซิลเลอร์ เปิดเผยว่า เดือนกันยายนดัชนีราคาบ้าน 20 เมือง ปรับตัวขึ้นร้อยละ 4.9 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งเป็นอัตราที่ชะลอตัวมากที่สุดนับตั้งแต่เดือนตุลาคม 2555 หรือในรอบกว่า 2 ปี หลังจากที่ขยายตัวร้อยละ 5.6 ในเดือนสิงหาคม


8. ข้อคิดเห็นของผู้ประกอบการ


- ราคายางทรงตัวหรือปรับตัวลดลงเล็กน้อย เพราะฝนทิ้งช่วง ผลผลิตอาจจะออกสู่ตลาดเพิ่มขึ้น และผู้ประกอบการกล่าวว่ายังคงขายยาก และผู้ส่งออกซื้อเกินราคาและขาดทุนมานาน เมื่อเริ่มมีผลผลิตยางออกมาก็พยายามกดดันไม่ให้ราคาสูงขึ้นมาก


แนวโน้ม ราคายางมีแนวโน้มปรับตัวลดลงตามตลาดล่วงหน้าโตเกียวและราคาน้ำมันที่แตะระดับต่ำสุดในรอบกว่า4 ปี รวมทั้งเงินเยนแข็งค่า ประกอบกับนักลงทุนวิตกกังวลเกี่ยวกับภาพรวมเศรษฐกิจโลก หลังจากจีน ยุโรป และญี่ปุ่น เปิดเผยตัวเลขเศรษฐกิจที่ซบเซา และข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯ ยังคงผันผวน ขณะที่ยังต้องติดตามและดูความชัดเจนผลการประชุมไตรภาคีเรื่องยางพารา และการประชุมร่วมกันระหว่างนักลงทุนไทยและจีน




ทีมวิเคราะห์สำนักงานตลาดกลางยางพาราสงขลา
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤศจิกายน 26, 2014, 03:53:22 PM โดย Rakayang.Com »