ผู้เขียน หัวข้อ: 'จักรมณฑ์'พร้อมเดินหน้าช่วยชาวสวนยาง  (อ่าน 896 ครั้ง)

Rakayang.Com

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 83118
    • ดูรายละเอียด
'จักรมณฑ์'พร้อมเดินหน้าช่วยชาวสวนยาง

"จักรมณฑ์" พร้อมเดินหน้าช่วยเหลือชาวสวนยางผ่าน 2 โครงการ คาดเพิ่มความต้องการยางทันที 200,000 ตัน
          นายจักรมณฑ์ ผาสุกวนิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมกล่าวว่า เพื่อแก้ไขปัญหาราคายางพาราตกต่ำภายใต้โครงการแก้ไขปัญหายางพาราทั้งระบบปี 2557ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีเมื่อวานนี้ (21 ต.ค.) อนุมัติตามที่คณะกรรมการนโยบายยางธรรมชาติ (กนย.) เสนอ และกระทรวงอุตสาหกรรมรับผิดชอบ 2 โครงการ คือ ให้สินเชื่อเพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพผู้ประกอบการยางและช่วยเพิ่มการใช้ยางพารารวม 2 โครงการการ คือ โครงการสนับสนุนสินเชื่อเพื่อใช้ขยายกำลังการผลิต/ปรับเปลี่ยนเครื่องจักรการผลิต วงเงิน 15,000 ล้านบาท โดยธนาคารออมสินสนับสนุนสินเชื่อให้แก่ผู้ประกอบการปลายน้ำที่นำยางพาราไปแปรรูปให้มีมูลค่าสูงขึ้น เช่น ถุงมือยาง ยางยืด ยางล้อ ยางที่ใช้ในงานวิศวกรรม เป็นต้น

                  สำหรับสินเชื่อดังกล่าวระยะยาว 10 ปี ดอกเบี้ยร้อยละ 2 เท่ากับดอกเบี้ย FDR คือ อัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำระยะ 6 เดือน และรัฐบาลชดเชยให้อีกร้อยละ 3 แก่ผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์ยางเพื่อขยายกำลังการผลิต ทั้งนี้ ต้องเป็นผู้ประกอบการที่จดทะเบียนในประเทศไทยและถือสัญชาติไทยมากกว่าร้อยละ 50 ของทุนจดทะเบียนที่ชำระแล้ว โครงการนี้มีผู้แสดงความจำนงต่อธนาคารแล้ว 9 ราย วงเงินสินเชื่อที่ขอ 7,658.65 ล้านบาท คาดว่าจะช่วยทำให้ปริมาณการใช้ยางพาราภายในประเทศเพิ่มขึ้น 300,000 ตันต่อปี โดยคาดว่าการปรับปรุงเครื่องจักรจะเสร็จและจะเริ่มเห็นผลช่วยให้ความต้องการใช้ยางพาราเพิ่มขึ้นในอีก 18 เดือนข้างหน้า
ส่วนอีกโครงการ คือ โครงการสนับสนุนสินเชื่อเป็นเงินทุนหมุนเวียนแก่ผู้ประกอบการยาง วงเงิน 10,000 ล้านบาท เงินกู้ระยะสั้น 1 ปี ซึ่งจะช่วยเพิ่มสภาพคล่องให้แก่ผู้ประกอบการแปรรูปน้ำยางข้นที่จะสามารถซื้อขายส่วนเกินออกจากระบบได้ อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 2 และรัฐบาลจะชดเชยดอกเบี้ยให้อีกร้อยละ 3 ตลอดอายุโครงการ คาดว่าจะช่วยเพิ่มความต้องการใช้ยางพาราในช่วงระหว่างเดือนพฤศจิกายน 2557 ถึงเมษายน 2558 ถึง 200,000 ตัน และทำให้ราคายางเพิ่มขึ้นทันทีคาดว่าจะช่วยให้ราคายางเพิ่มขึ้นทันทีประมาณ 2-3 บาทต่อกิโลกรัมและเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเป้าหมาย คือ 66 บาทต่อกิโลกรัม
[/color]
[/color]สำหรับธนาคารที่ให้สินเชื่อ ได้แก่ ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ธนาคาร กรุงไทย ธนาคารกสิกรไทย ธนาคารไทยพาณิชย์ ธนาคารทหารไทย และธนาคารธนชาติ
[/color]
[/color]
[/color]
[/color]ที่มา : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ (วันที่ 22 ตุลาคม 2557)