ผู้เขียน หัวข้อ: ยี่ฟังเหลียน'ชี้ปัญหาและทางออกแก้ราคายาง?  (อ่าน 1058 ครั้ง)

Rakayang.Com

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 84444
    • ดูรายละเอียด
[/size]ใน การเปิดประมูลซื้อขายยางพาราในสต๊อกรัฐบาลล็อตแรก 1 แสนตัน จากที่มีอยู่ประมาณ 2.1 แสนตัน ชื่อของ "ยี่ฟังเหลียน" บริษัทเทรดเดอร์จากสิงคโปร์ได้ถูกกล่าวขวัญและเป็นที่รู้จักมากขึ้นในฐานะ บริษัทที่เสนอราคาสูงสุด และชนะประมูลคว้ายางบิ๊กล็อตของรัฐบาลไปครอง  แต่จากการเปิดประมูลครั้งนี้ที่ทำอย่างลับๆ[/color][/size][/font]
[/size][/size]ท่าม กลางเสียงคัดค้านจากสถาบันเกษตรกรด้านยางที่ชี้ว่าจะยิ่งเป็นการเพิ่ม ซัพพลายในตลาด ยิ่งทำให้ราคารูดลงไปอีก ขณะที่สังคมกังขาว่าดีลซื้อขายครั้งนี้ยังคงเดินหน้าต่อไปหรือไม่ หรือล้มไปแล้วตามที่มีกระแสข่าว[/size][/size]++ยันสัญญาซื้อ-ขายยังเดินหน้า
"สุเมธ  ทิพชาติโยธิน" กรรมการและหุ้นส่วน บริษัทยี่ฟังเหลียน จำกัด ได้เปิดใจให้สัมภาษณ์กับ"ฐานเศรษฐกิจ" เป็นฉบับแรกเมื่อวันที่ 22 กันยายน2557 ที่ผ่านมา โดยยืนยันดีลซื้อขายยางกับองค์การสวนยาง (อ.ส.ย.)ตัวแทนรัฐบาลไทยที่ได้เซ็นสัญญากันเมื่อวันที่ 28 สิงหาคม 2557 ยังคงเดินหน้าต่อไป แต่ที่ล่าช้าเนื่องจากปกติเงื่อนไขในการซื้อขายยางไม่ว่ากับหน่วยงานภาครัฐ หรือกับบริษัทเอกชนจะต้องมีขั้นตอนการตรวจสินค้าและออกใบรับรองว่าสินค้าได้ มาตรฐานสากลหรือไม่ เพื่อไว้ใช้ยืนยันในการซื้อขายกับลูกค้าโรงงานในต่างประเทศ โดยเวลานี้หน่วยงานรัฐอยู่ในช่วงการตรวจรับรองสินค้าที่มีจำนวนมากถึง 1 แสนตันซึ่งต้องใช้เวลา หากแล้วเสร็จและออกเอกสารรับรองได้อย่างเป็นทางการแล้ว คาดจะสามารถรับมอบสินค้าให้แล้วเสร็จได้ภายใน 3-6 เดือนหลังจากนั้น"ประเด็นหลักที่เรายังรับมอบสินค้าไม่ได้ เพราะรอเอกสารตรงนี้อยู่ ทั้งที่เราก็อยากได้สินค้าแล้ว เพราะมีคำสั่งซื้อสินค้าล็อตนี้จากลูกค้าแล้วสัดส่วน 80%  อีก 20% ไว้บริหารจัดการต่อไป ส่วนที่มีข่าวว่าเราเคยซื้อยางจากรัฐบาลไทยแล้วทิ้งของไม่มารับมอบ เราไม่เคยทิ้ง แต่เป็นบริษัทอื่น โดยเมื่อปี 2545 รัฐบาลไทยเปิดประมูลล้างยางในสต๊อก 1.3 แสนตัน  กำหนดเงื่อนไขการประมูลต้องเป็นบริษัทที่อยู่ในต่างประเทศ ดังนั้นเราจึงใช้บริษัทร่วมทุนในต่างประเทศที่มีอยู่หลายบริษัททั้งใน สิงคโปร์ และจีนมาประมูล ซึ่งเราก็ชนะ และก็มารับมอบยางทั้งหมด"++อดีตเคยช่วยดันราคายางไทยทั้งนี้จากที่บริษัทในเครือได้เคยซื้อสต๊อกยาง 1.3 แสนตันจากรัฐบาลไทย เมื่อปี 2545 เป็นส่วนสำคัญที่ทำให้ราคายางมีเสถียรภาพมาตั้งแต่ปี 2545-2554 โดยจากราคายางกิโลกรัมละ 30 บาท ขึ้นไปสูงสุดที่กิโลกรัมละ 180 บาท และก็มาตกต่ำลงอีกครั้งตั้งแต่ปี 2555 - 2557 ล่าสุด หลังรัฐบาลชุดที่ผ่านมาได้เข้าไปแทรกแซงราคายางพาราเป็นวงจรที่ทำให้กลไก ตลาดผิดพลาดและตกต่ำมาโดยตลอดอย่างไรก็ดีในการประชุมร่วมกับผู้บริหารขององค์การสวนยาง (อ.ส.ย.)ที่กระทรวงเกษตรฯเมื่อเร็วๆ นี้ รวมทั้งก่อนหน้านี้เคยเสนอเรื่องต่อ ม.ร.ว.ปรีดิยาธร  เทวกุล รองนายกรัฐมนตรีฝ่ายเศรษฐกิจให้มีการระบายยางเพื่อให้เกิดการหมุนเวียนตาม กลไกตลาด ไม่ใช่เก็บยางไว้เป็นสต๊อกตาย(DEAD STOCK)  จะยิ่งทำให้ราคายางตกต่ำ เห็นได้จากขณะนี้มียางพาราที่เป็น DEAD STOCK อยู่ในประเทศจีนที่อยู่ในคลังสินค้าทัณฑ์บน(Bonder Warehouse)  และคลังสินค้าของเอกชนอยู่กว่า 3 แสนตัน โดยเป็นยางพาราที่ไม่มีความเคลื่อนไหว เก็บเป็นสต๊อกตายไว้ตั้งแต่ 1-3 ปี เป็นสต๊อกที่เกิดขึ้นจาก1.ทำแพ็กกิ้งเครดิต(หนังสือขอกู้เงินโดยการออกตั๋วสัญญาใช้เงิน) กับธนาคารของประเทศจีนมานาน 1-3 ปี ในราคาสูง เนื่องจากราคายางตกต่ำมาตลอด 3 ปี จึงไม่สามารถ Set-Off ราคาเพื่อนำเงินมาชำระเงินกู้ได้ และสภาพยางพาราก็มีปัญหาเรื่องคุณภาพเสื่อม เนื่องจากเก็บไว้นาน ผู้ซื้อ/โรงงานไม่ยอมรับ จากยางพาราไม่ได้มาตรฐาน มีผลกระทบเรื่องคุณภาพที่ไปผลิตล้อยางรถ ดังนั้นจะต้องขายเป็นยางเกรดต่ำและราคาต้องต่ำกว่าราคาตลาดซื้อขาย จึงกลายเป็นการเก็บไว้เป็น DEAD STOCK2.มีการส่งยางพาราจากผู้ส่งออกหลายประเทศได้มีการส่งยางพาราที่คุณภาพไม่ได้ มาตรฐานให้กับเทรดเดอร์ไปเก็บไว้ในคลังสินค้าทัณฑ์บน ทำให้ผู้ซื้อโรงงานผลิตล้อยางรถไม่รับสินค้าดังกล่าวจึงกลายเป็น DEAD  STOCK3. ขณะนี้มีเทรดเดอร์หรือผู้ซื้อจากจีนจำนวนมากถูกสถาบันการเงินที่ปล่อยกู้ บังคับขาย(FORCE SELL)ยาง เพื่อชะเงินกู้ ทำให้ยางในคลังสินค้าทัณฑ์บน ต้องระบายขายสินค้าในราคาถูกออกมาและขายทุกราคา ทำให้กลไกตลาดซื้อขายจริง (PHYSICAL) เสียหายมาก4.มีการสร้างสต๊อกเพื่อเก็งกำไรในตลาดซื้อขายยางล่วงหน้าที่เซี่ยงไฮ้ (SHANGHAI RUBBER EXCHANGE) ซึ่งการอ้างอิงเรื่องสต๊อกมาก ทุบกดราคาตกต่ำในตลาดล่วงหน้า กลายเป็นตลาดเก็งกำไร ดังนั้นการที่ตลาดล่วงหน้า(ซื้อขายกระดาษ)นำตลาดซื้อขายจริง ทำให้ราคายางตกต่ำมาโดยตลอด"ราคายางพาราที่ตกต่ำ และกระทบชาวสวนยางมากในเวลานี้ เนื่องจากราคาตลาดล่วงหน้าที่เซี่ยงไฮ้ ประเทศจีน และตลาดล่วงหน้าโตคอมที่ญี่ปุ่นมีการทุบราคา และมีการบังคับขายของตลาดล่วงหน้า มีการเก็งกำไรอ้างสต๊อกยางพาราล้นตลาด เพื่อนำตลาดซื้อขายยางพาราจริง"สรุปก็คือ เอาตลาดล่วงหน้ามาชี้นำตลาด คือขายกระดาษ ทำให้ตลาดซื้อขายจริงราคาตกต่ำมาก ซึ่งการที่บริษัทเสนอซื้อยางพาราในสต๊อกรัฐบาลจำนำ 1 แสนตัน โดยเสนอราคาสูงกว่าราคาตลาด ณ วันเสนอซื้อเฉลี่ย 4 บาทต่อกิโลกรัม โดยในส่วนของยางแท่งซื้อ 3.2 หมื่นตัน ราคาในคุณภาพมาตรฐานสากลที่กิโลกรัมละ 54 บาท และยางแผ่นรมควัน 6.8 หมื่นตันที่กิโลกรัมละ 62 บาท ก็เพื่อช่วยชี้นำตลาดซื้อขายจริงให้สูงขึ้น แสดงให้เห็นถึงความจริงใจในการช่วยแก้ปัญหาราคายางตกต่ำ ขณะที่ผู้ส่งออกของไทยบางรายเสนอซื้อในราคาที่ต่ำมาก เช่นยางแท่งที่ 38-40 บาทต่อกิโลกรัม และยางแผ่นเพียง 50 บาทต่อกิโลกรัม"-ทางออกแก้ยางราคาตกสำหรับแนวทางการแก้ไขปัญหาราคายางพาราตกต่ำที่อยากเสนอรัฐบาลไทยคือ ควรระบายยางในสต๊อกให้หมด เพื่อเซตอุตสาหกรรมยางใหม่ เลิกการแทรกแซงราคายาง เพราะทำให้ราคายางไม่เสถียรภาพ ต่อมาในเรื่องการเก็บเงินจากผู้ส่งออกเข้ากองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง (Cess) ในอัตราเดียว ไม่ใช่เก็บในอัตราก้าวหน้า 5 อัตรา(เก็บสูงสุด 5 บาท/กก.หากราคายางเกิน 100 บาท/กก.)เหมือนในปัจจุบัน เพราะมีผลทำให้ผู้ส่งออกยางมีการใช้เซสส์ในการเก็งกำไร   เช่น ผู้ส่งออกเมื่อประเมินแล้วว่ายางพาราจะปรับราคาสูงก็ไปขายยางล่วงหน้าราคา ต่ำ เพื่อจ่ายเงินเซสส์น้อย และต้องไปกดราคารับซื้อจากเกษตรกร ขณะเดียวกันต้องทำตลาดยางพาราซื้อขายจริงในประเทศไทย เนื่องจากจุดเด่นของยางพาราไทยคือมีคุณภาพดีที่สุดในโลก โดยโรงงานผู้ผลิตยางล้อรถยนต์ทั่วโลกต่างให้การยอมรับ และให้ราคาสูงกว่าประเทศอื่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งยางพาราที่ผลิตในภาคใต้และภาคตะวันออกของไทยนอกจากนี้เสนอให้ตั้งองค์กรอิสระขึ้นมาวางระบบ และกำกับดูแลเรื่องการขายยางโดยเฉพาะเหมือน FELDA RUBBER INDUSTRIES SND.BHD ของมาเลเซีย เพื่อให้เกิดความคล่องตัวและไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อน ซึ่งขณะนี้เฟลด้าของมาเลเซียได้เข้าจดทะเบียนในตลาดหุ้นนิวยอร์กของสหรัฐ อเมริกาแล้ว และกำลังเติบโตมาก จากทุนจดทะเบียนเริ่มต้นที่ 1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เวลานี้เพิ่มทุนเป็น 3.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือกว่า 1 แสนล้านบาทแล้ว"ยางพาราไทยทั่วโลกยอมรับมีคุณภาพดีที่สุดในโลกและให้พรีเมียมราคาตลอด ปัจจุบันราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกอยู่ที่บาร์เรลละ 92-100 ดอลลาร์สหรัฐฯ เมื่อเทียบกับราคาน้ำมันเมื่อหลายปีก่อนบาร์เรลละ 110-120 ดอลลาร์สหรัฐฯ หรือลดลง 25-30% ดังนั้นราคายางพาราต้องยืนอยู่ที่ประมาณ 80-90 บาทต่อกิโลกรัม เพราะราคายางผูกพันกับราคาน้ำมัน เพราะยางธรรมชาติเป็นสัดส่วนในการผลิตยางล้อรถยนต์ 50-60% และยางเทียมหรือยางสังเคราะห์ที่มาจากน้ำมันจะใช้ในสัดส่วนใกล้เคียงกัน เพราะข้อดีของยางธรรมชาติคือมีความยืดหยุ่นสูง ส่วนยางเทียมมีความแข็งแรงทนต่อการเสียดสีนำมาซึ่งความปลอดภัย ดังนั้นจึงอยากฝากรัฐบาลพิจารณาข้อเสนอข้างต้นเพื่อดันราคายางในประเทศ"
จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 34 ฉบับที่ 2,987วันที่ 28  กันยายน - 1 ตุลาคม พ.ศ. 2557
[/size][/font][/color][/color]