ผู้เขียน หัวข้อ: กล่อม?ม็อบยาง? เลิกบุกกรุงเทพ โว3ปีแก้สำเร็จ  (อ่าน 973 ครั้ง)

Rakayang.Com

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 83283
    • ดูรายละเอียด

กล่อม?ม็อบยาง? เลิกบุกกรุงเทพ โว3ปีแก้สำเร็จ
  "บิ๊กตู่" ชูปัญหายางวาระแห่งชาติ สั่งแก้ทั้งระบบ เชื่อ 2-3 ปีสางหมด ยันไม่ให้ราคาต่ำกว่าตลาดโลก เผยกล่อมม็อบยางใต้เลิกบุกกรุง หลังพอใจมาตรการรัฐบาล กนย.อนุมัติเงินกู้ 3 หมื่นล้าน คลอด 12 มาตรการช่วยชาวสวน พร้อมตั้งอนุ กก.ขับเคลื่อน "ปีติพงษ์" ประธาน คลังเตรียมถกสรรพากรรับหน้าจ่ายภาษีคนจน 18 ล้านราย 5 หมื่นล้านต่อปี "มาร์ค" ห่วงอนาคตบิดเป็นประชานิยม
    ที่ทำเนียบรัฐบาล เมื่อวันที่ 19 กันยายน พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) แถลงภายหลังเป็นประธานการประชุมคณะกรรมการนโยบายยางธรรมชาติ (กนย.) ครั้งที่ 2/2557 ว่า วันนี้ได้กำหนดปัญหาเรื่องยางเป็นวาระแห่งชาติ เพราะไทยเป็นประเทศที่มีการผลิตค่อนข้างมาก ปัจจุบันราคายางตกต่ำลงด้วยหลายประการด้วยกัน ทั้งสภาพเศรษฐกิจโลกด้วย ในเรื่องของการบริหารจัดการ ทั้งด้านของการผลิตต้องแก้ทั้งหมด ซึ่งปัญหาเรื่องยางคงมีอีก 2-3 ปีกว่าจะแก้ได้ทั้งหมด เพราะปัญหาสะสมมานาน สัปดาห์หน้าปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์จะไปพูดคุยหารือกับประเทศที่ผลิตยางไตรภาคีเพื่อทำให้ราคายางดีขึ้น ส่วนภาคเกษตรและผู้ปลูกยางก็ให้ความร่วมมือ โดยยอมปรับหรือชะลอการกรีดยาง
    พล.อ.ประยุทธ์กล่าวว่า ที่ประชุมได้ออกมาตรการหลายด้าน ทั้งมาตรการเร่งด่วนเฉพาะหน้า เรื่องเงินช่วยเหลือเกษตรกรชาวสวนยางไร่ละ 2,520 บาทที่ค้างอยู่จะอนุมัติให้โดยเร็ว การให้เงินทุนต่างๆ ในการบริหารด้วยการซื้อยางให้กับสหกรณ์ ในส่วนระยะกลางและระยะยาวมีแผนที่จะดำเนินการต่อไป ส่วนสต็อกยางจะควรขายหรือไม่ และจะขายเท่าไหร่นั้นขึ้นอยู่กับราคาตลาด จะทำให้ได้จริงจัง เพราะมีนโยบายหลายรัฐบาลแล้วไม่เคยทำได้ นอกจากนี้จะดำเนินการควบคุมพื้นที่ปลูกยาง โดยจะให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมใช้ดาวเทียมสำรวจพื้นที่ว่าปลูกยางทั้งหมดเท่าไหร่ เพราะปัญหาคือข้อมูลไม่ตรงกัน และหากพบใครที่อยู่นอกพื้นที่ หรือบุกรุกป่าสงวน จะได้ควบคุม
    "ผมคิดว่าวันนี้เป็นการหารือที่ดีมากๆ เป็นนิมิตหมายอันดีที่มีการประชุมร่วมกันทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาชน และผู้ประกอบการ ซึ่งได้ขอบคุณกับทุกภาคส่วนไว้แล้ว ในส่วนของต้นทางก็คือผู้ปลูกยาง ส่วนกลางทางมีทั้งผู้ไปรับซื้อยางมาและก็มาสู่การผลิตในประเทศ และส่งขายออกไปนอกประเทศ เพราะฉะนั้นต้นทางกลางทางเราคุยกันแล้ว ปลายทางก็ผู้รับประโยชน์จากทั้งหมด ประชาชนส่วนใหญ่ก็ได้ด้วย เป็นเงินรายได้ด้วยของรัฐอยู่แล้ว ต้นทางกลางทางปลายทางได้หมด วันนี้เราตกลงว่าจะขึ้นรถขบวนเดียวกันเป็นรถไฟสายยางก็แล้วกัน ยางพารางแห่งชาติ แล้วก็เป็นรถด่วนด้วย เราต้องแก้ปัญหาได้โดยเร็ว เดี๋ยวต้องทำให้ราคาขึ้น อย่างน้อยจะไม่ให้รับซื้อต่ำกว่าราคาตลาดโลก" นายกฯ ระบุ
    ส่วนกรณีเครือข่ายชาวสวนยางภาคใต้จะเดินทางมาชุมนุมในกรุงเทพฯ วันที่ 8 ต.ค.นั้น นายกฯ กล่าวว่า คุยกันแล้ว เขาบอกไม่มา เพราะพอใจที่มาคุยกันทั้งระบบ ซึ่งถือว่าเป็นคำสัญญาจากผู้แทนที่มาวันนี้ทั้งหมด
3 หมื่นล้านช่วยชาวสวนยาง
    ด้าน ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล รองนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ในส่วนของเกษตรกรที่ยังไม่ได้รับเงินช่วยเหลือปัจจัยการผลิต 2,520 บาทต่อไร่ ทาง กนย.จะอนุมัติจ่ายให้หมด โดยมีเงินคงค้างทั้งสิ้น 3 พันล้านบาท ส่วนใหญ่เป็นชาวสวนขอบป่า นอกจากนี้ ที่ประชุมได้อนุมัติวงเงินกู้  3 หมื่นล้านบาท ประกอบด้วย 1.วงเงิน 5 พันล้านบาท ให้ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) นำไปปล่อยให้เกษตรกรนำไปซื้อยางเก็บไว้ในสต็อก โดยจะมียางใหม่ออกมาในช่วงเดือนต.ค.นี้
    2.ให้ ธ.ก.ส.ปล่อยกู้วงเงิน 1 หมื่นล้านบาท ให้เกษตรกรนำไปแปรรูปยางเพื่อเพิ่มมูลค่า และ 3.ให้ธนาคารออมสินปล่อยกู้วงเงิน 1.5 หมื่นล้านบาทให้กับอุตสาหกรรมยาง อาทิ โรงงานผลิตถุงมือยาง เพื่อนำไปขยายกิจการ ขยายกำลังผลิต เพื่อกระตุ้นความต้องการในประเทศ ซึ่งทั้งหมดนี้เอกชนตื่นเต้นและมีความสนใจ เพราะหากออกสินเชื่อมาแบบนี้เขาเดินได้
    ?ในส่วนของสต็อกยางในปัจจุบันมีอยู่ 2.1 แสนล้านตัน ถือว่าไม่มากหากเทียบกับปริมาณการผลิตต่อปีที่ 4 ล้านตัน หากเรารีบตื่นเต้นปล่อยออกมาจะแพ้ตลาด ดังนั้นเรื่องยางในสต็อกหากราคาไม่ดีจะไม่ขาย รอให้ราคาดีค่อยขาย ผมจะพยายามหาคำสั่งซื้อพิเศษมาให้ได้เพื่อให้มาซื้อตรงนี้ ขณะนี้มีหลายประเทศให้ความสนใจ? ม.ร.ว.ปรีดิยาธรระบุ
    สำหรับมาตรการช่วยเหลือเกษตรกรนั้น จะลดพื้นที่การปลูกยางพาราที่เกินความต้องการ รวมถึงปัญหาต่างๆ โดยจะมอบหมายให้นายปีติพงศ์ พึ่งบุญ ณ อยุธยา รมว.เกษตรและสหกรณ์ ไปประชุมอนุกรรมการช่วยเหลือการแก้ไขปัญหายางพาราและรายงานให้ที่ประชุม กนย.ครั้งหน้าที่จะมีการประชุมทุก 1 เดือน
    นายอนันต์ ลิลา เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) แถลงว่า แนวทางการพัฒนายางทั้งระบบมี 12 มาตรการ โดยมาตรการเร่งด่วนคือ การบริหารจัดการสต็อกยางพารา มอบหมายให้องค์การส่งเสริมการทำสวนยางไปดำเนินการแล้ว ขณะที่โครงการที่จะเร่งรัด อาทิ การสนับสนุนเงินทุนหมุนเวียนแก่สถาบันเกษตรกรที่จะไปรวบรวมยาง มาตรการสนับสนุนสินเชื่อแก่สถาบันเกษตรกรเพื่อแปรรูปยางพารา
    รวมทั้งยั้งมีโครงการอื่นๆ เช่น โครงการจัดหาตลาดใหม่เพื่อการส่งออก โครงการส่งเสริมด้านการลงทุนยางภายในประเทศ โครงการผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์ยาง ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ)  ให้สิทธิประโยชน์เรื่องการยกเว้นภาษีเงินได้ 8 ปี นอกจากนี้ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์มีการจัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการสินค้ายางพาราเพื่อจะเป็นศูนย์กลางในการแก้ไขปัญหายางพาราทุกเรื่อง โดยมีการจัดตั้งคณะอนุกรรมการที่เกี่ยวข้องมาดูแล โดยมี รมว.เกษตรและสหกรณ์เป็นประธาน และมีหัวหน้าส่วนราชการที่เกี่ยวข้องทุกกระทรวงมาร่วมด้วย ซึ่งจะเป็นกลไกในการขับเคลื่อนในส่วนของยางพาราทั้งระบบ
    ขณะที่นายเพิก เลิศวังพง ประธานชุมนุมสหกรณ์ชาวสวนยางแห่งประเทศไทย จำกัด (ชสยท.) เปิดเผยว่า  แนวทางการแก้ไขปัญหายางพาราไทยจะไม่ประสบความสำเร็จ เพราะยังมีเจ้าหน้าที่กลุ่มเดิมในกระทรวงเกษตรฯ นั่งทับปัญหาอยู่ ต้องให้มืออาชีพเข้ามาบริหารแทน ส่วนนโยบายช่วยเหลือไร่ละ 2,520 บาท จะได้รับประโยชน์เพียงคนกลุ่มเดียวที่เป็นเจ้าของสวนยางที่มีเอกสารสิทธิ ขณะที่ลูกจ้างกรีดยางจำนวนมากไม่มีสิทธิ์ นอกจากนี้ไม่มีการเสนอตัวแทน ชสยท.เข้าเป็นกรรมการใน กนย. ซึ่งเท่ากับชาวสวนยางพาราส่วนใหญ่ของประเทศที่เป็นสมาชิกสหกรณ์กันอยู่กลับถูกทอดทิ้ง
สรรพากรจ่ายภาษีคนจน
    ทางด้านความคืบหน้าของกฎหมายจ่ายภาษีให้กับผู้มีรายได้น้อยนั้น นายกฤษฎา จีนะวิจารณะ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) เปิดเผยว่า ได้มีการเตรียมพร้อมเสนอร่างกฎหมายดังกล่าวให้นายสมหมาย ภาษี รมว.การคลังพิจารณาแล้ว โดย สศค.ต้องหารือกับกรมสรรพากรให้เป็นผู้รับผิดชอบจ่ายเงินภาษีคืนให้กับผู้ที่อยู่ในระบบภาษีตั้งแต่อายุ 15-60 ปี โดยมีรายได้ไม่เกิน 8 หมื่นบาทต่อปี ซึ่งผู้ที่มีรายได้น้อยจะได้เงินภาษีคืนตั้งแต่ 2-8 พันบาทต่อปี
       ทั้งนี้ การจ่ายเงินภาษีให้ผู้มีรายได้น้อย มีขั้นตอนดำเนินการที่สำคัญอยู่ 3 ส่วน คือ การกรอกแบบฟอร์ม การตรวจสอบข้อมูล และการจ่ายเงินภาษี ซึ่งต้องขอให้กรมสรรพากรเป็นผู้รับผิดชอบ เนื่องจากผู้มีสิทธิรับเงินภาษีมากถึง 18 ล้านคน เป็นเงินที่ต้องจ่ายคืน 5 หมื่นล้านบาทต่อปี
        ?การจ่ายเงินภาษีคืนให้ผู้มีรายได้น้อย นอกจากเป็นการช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อยแล้ว ยังทำให้ประชาชนเลิกติดโครงการประชานิยม รวมถึงช่วยขยายฐานภาษีของกรมสรรพากรให้เพิ่มมากขึ้น ซึ่งตามนโยบายของ รมว.คลังแล้ว ต้องการให้ผลักดันกฎหมายให้มีผลบังคับใช้ปี 2558? นายกฤษฎาระบุ
    นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงนโยบายจ่ายภาษีช่วยคนจนว่า แนวคิดดังกล่าวพรรคประชาธิปัตย์เคยมีการศึกษา โดยจะช่วยเป็นกลไกในการกระจายรายได้ สามารถดึงคนเข้าสู่ระบบภาษีได้ แต่ต้องระมัดระวัง เพราะในอนาคตอาจถูกนำไปใช้ในทางที่ผิดเป็นประชานิยมก็จะอันตรายมาก ขณะเดียวกันต้องสำรวจให้ชัดว่าคนพร้อมเข้าสู่ระบบภาษีจริง และต้องมีกลไกที่จะไม่ให้เป็นเรื่องดุลพินิจของฝ่ายการเมืองหรือนโยบายที่จะเพิ่มอะไรได้ตามใจชอบ และหลักคิดนี้ต้องยืนยันว่าให้เฉพาะคนทำงาน ไม่ใช่ให้คนที่อยู่เฉยๆ ไม่ได้ทำงาน
    ในช่วงค่ำ พล.อ.ประยุทธ์กล่าวในรายการคืนความสุขให้คนในชาติว่า คำว่าประชานิยมนั้นไม่มีปัญหาหากไม่สร้างปัญหาในอนาคต หรือทำแล้วรัฐบาลต้องมาหาเงินใช้หนี้ มีเงินกู้เพิ่มหนี้สาธารณะโดยไม่จำเป็นหรือมีผู้ที่ได้ประโยชน์มากกว่าประชาชนที่แท้จริง จากการทุจริต ไม่โปร่งใสในขั้นตอนต่างๆ ดังนั้นทฤษฎีในการที่จะทำให้ประชาชนนั้นมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น จะต้องไม่เป็นประชานิยมในลักษณะที่ว่า ซึ่งตนคิดแบบทหาร ทหารทำอะไรต้องมีผลสัมฤทธิ์ เพราะมีเวลามีงบประมาณจำกัด จะไม่ใช้เงินภาษีของประชาชนหรืองบประมาณแผ่นดิน ให้เกิดเป็นปัญหาระยะยาว อย่างไรก็ตาม เรื่องภาษียังไม่ได้เกิดอะไรขึ้นทั้งนั้น กำลังพิจารณากันอยู่ ไม่ว่าจะเป็นภาษีมรดก ภาษีที่ดิน เเหมาะสมหรือไม่เป็นเรื่องของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ทั้งหมดต้องเกิดความเป็นธรรมกับทุกภาคส่วน โดยเฉพาะอย่างยิ่งคนมีรายได้น้อย.