ผู้เขียน หัวข้อ: รมว.เกษตรฯ ลุยนโยบายด่วน1ปี แก้ข้าว-ยาง-กุ้ง-แล้ง  (อ่าน 827 ครั้ง)

Rakayang.Com

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 84568
    • ดูรายละเอียด

รมว.เกษตรฯ ลุยนโยบายด่วน1ปี แก้ข้าว-ยาง-กุ้ง-แล้ง
โดย ไทยรัฐออนไลน์ 15 ก.ย. 2557 17:20


 


"ปีติพงศ์"รมว.เกษตรฯ แถลงนโยบายขับเคลื่อนงานกระทรวงเกษตรฯ ตีกรอบแผนเร่งด่วนระยะ 1 ปี เร่งแก้สินค้าข้าว ยาง กุ้ง ภัยแล้ง เล็งตรวจสอบที่ดิน ส.ป.ก.และปราบการวิ่งเต้นซื้อขายตำแหน่ง...


เมื่อวันที่ 15 ก.ย. นายปีติพงศ์ พึ่งบุญ ณ อยุธยา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยนโยบายการทำงานให้กับผู้บริหารระดับสูงของกระทรวงเกษตรฯ ว่า กรอบระยะเวลาในการดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรฯ จะเป็นไปตามโรดแม็ปของ คสช. คือ 1 ปี ดังนั้น แนวทางนโยบายหลักจะเน้นใน 2 ส่วนหลัก ส่วนแรก คือ การแก้ไขปัญหาเร่งด่วน แบ่งเป็น 4 ประเด็นหลัก ได้แก่ 1. ปัญหายางพารา ซึ่งจะเร่งรัดกำหนดแผนการแก้ไขปัญหาให้ชัดเจนภายใน 1 ? 2 สัปดาห์ ไม่เน้นในเรื่องการแทรกแซงราคา และจะนำข้อเสนอแนะที่ได้รับฟังปัญหาจากตัวแทนกลุ่มเกษตรกรและสถาบันยางที่เกี่ยวข้อง ตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ เพื่อนำปัญหาเสนอคณะกรรมการนโยบายยางธรรมชาติชุดใหม่ โดยให้ปลัดกระทรวงฯ ตั้งวอร์รูมมาดูแลเรื่องนี้โดยเฉพาะ รวมถึงยางในสต๊อกที่ต้องจัดการโดยเร็ว




รมว.เกษตรฯ ตีกรอบแผนเร่งด่วนระยะ 1 ปี เร่งแก้สินค้าข้าว ยาง กุ้ง ภัยแล้ง
2. สถานการณ์ภัยแล้งและบริหารจัดการน้ำ ได้มอบหมายให้หน่วยที่เกี่ยวข้องเร่งจัดทำแผนการปลูกพืชฤดูแล้งให้แล้วเสร็จภายในสิ้นเดือนนี้ รวมถึงแผนเยียวยาผลกระทบพื้นที่การเกษตรที่เสียหายจากภัยแล้งไว้ล่วงหน้าด้วย 3. การแก้ปัญหาเฉพาะของหน่วยงานในด้านบริหารจัดการเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต เช่น การเพิ่มประสิทธิภาพการส่งออกกุ้ง การแก้ไขปัญหาแรงงานประมงผิดกฎหมาย เพื่อไม่ให้เป็นข้ออ้างในการกีดกันทางการค้า การยกระดับมาตรฐานโรงฆ่าสัตว์ให้เป็นสากล เช่น การปรับบทบาทกรมปศุสัตว์และสัตวแพทย์ให้เป็นผู้กำกับโรงฆ่าและเป็นวิชาชีพที่จำเป็นต้องมี 4. การแก้ไขปัญหาการขาดสภาพคล่องของสหกรณ์ที่มีปัญหา ซึ่งในส่วนที่มีปัญหาในศาลจะไม่ก้าวล่วงกฎหมายสหกรณ์ แต่จะให้คำแนะนำและช่วยเหลือให้สหกรณ์เล็กๆ เดินหน้าต่อไปได้


สำหรับนโยบายหลักส่วนที่ 2 คือ การดำเนินงานสนับสนุนแนวนโยบายของรัฐบาลที่แถลงต่อรัฐสภา ได้แก่ 1. การปรับโครงสร้างการผลิตสินค้าเกษตร ซึ่งจะต้องปรับสมดุลระหว่างการผลิตและความต้องการของตลาด โดยเชื่อมโยงการทำงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น การแก้ไขปัญหายางพาราในระยะยาว การจัดทำยุทธศาสตร์สินค้าเกษตร 4 ชนิด คือ มันสำปะหลัง ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ปาล์ม และอ้อย แผนการบริหารจัดการน้ำ 2. การพัฒนาระบบสหกรณ์ให้ดำเนินธุรกิจด้านสหกรณ์การเกษตรให้มากขึ้น รวมถึงให้สหกรณ์เป็นกลไกสำคัญในพื้นที่เขตเกษตรเศรษฐกิจพิเศษด้วย และการสร้างตลาดนัดสินค้าเกษตรในเมืองหรือจังหวัด โดยอาศัยความร่วมมือจากหน่วยงานและภาคเอกชนในพื้นที่เพื่อเพิ่มช่องทางการตลาดให้แก่สินค้าเกษตร 3. การตรวจสอบการถือครองที่ดินในเขตปฏิรูปที่ดิน (ส.ป.ก.) ซึ่งได้มอบหมายให้เลขาธิการ สปก.เรียกประชุมปฏิรูปที่ดินทั่วประเทศ เพื่อเร่งตรวจสอบการถือครองที่ดินในเขตปฏิรูปทั้งหมด เพื่อแก้ไขปัญหาที่ดินทำกินให้เกิดความชัดเจนใน 1 เดือน รวมถึงกรณีที่ ส.ป.ก.ไปซื้ออาจจะต้องให้เช่นซื้อหรือขายเพื่อนำเงินเข้ากองทุนฯ สปก. เพื่อนำมาพัฒนา ส่งเสริมการผลิตสินค้าเกษตรให้เป็นระบบต่อไป 4. การผลักดันกฎหมาย และกฎระเบียบที่เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนางานของกระทรวงเกษตรฯ เช่น กฎหมายยางพาราที่จะนำไปสู่การพัฒนายางระบบ


"แม้จะมีระยะเวลาทำงานเพียงปีเดียว แต่ก็พร้อมและมุ่งมั่นทำให้เกษตรกรมีคุณภาพชีวิตดีขึ้น ซึ่งนอกจากการเร่งรัดแผนงานต่างๆ แล้ว สิ่งสำคัญที่สุดจะขอความร่วมมือข้าราชการ อย่าให้เกิดข้อร้องเรียนกรณีมีการซื้อขายตำแหน่ง ทุจริตคอร์รัปชัน หรือเรียกรับสินบนจากเอกชน หากพบการทุจริตพร้อมจะดำเนินการลงโทษทันที" นายปีติพงศ์ กล่าว.