ผู้เขียน หัวข้อ: วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อราคายาง วันจันทร์ที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2557  (อ่าน 877 ครั้ง)

Rakayang.Com

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 84444
    • ดูรายละเอียด
วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อราคายาง
วันจันทร์ที่  1  กันยายน  พ.ศ. 2557
ปัจจัย[/t][/t]
[/t]
วิเคราะห์
1. สภาพภูมิอากาศ
 
- ร่องมรสุมพาดผ่านภาคเหนือ   ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยมีฝนตกกระจายถึงเกือบทั่วไป ร้อยละ 70 ของพื้นที่ ส่วนภาคใต้มีฝนร้อยละ 40 ของพื้นที่ ส่วนมากทางตอนบนของภาค เป็นอุปสรรคต่อการกรีดยาง
 
2. การใช้ยาง
 
- สำนักข่าว   Bloomberg รายงานว่า   นายกสมาคมยางอินโดนีเซียให้สัมภาษณ์ว่า ผลผลิตยางอินโดนีเซียปีนี้อาจต่ำกว่าเป้าหมายที่คาดการณ์ไว้ที่ร้อยละ 6.0 หรือน้อยกว่า 3.2 ล้านตัน เนื่องจากช่วงฤดูหนาวยาวนานกว่าที่คาด ทั้งพื้นที่เกาะสุมาตราตอนเหนือ หมู่เกาะรีเยา และจังหวัดต่าง ๆ ของเกาะสุมาตราตอนใต้ ผลจากสภาพอากาศที่แห้งแล้ง โดยปริมาณผลิตยางอินโดนีเซียปี 2556 อยู่ที่ 3.1 แสนตัน ปริมาณการส่งออกอยู่ที่   2.7 ล้านตัน และคาดว่าปริมาณการส่งออกในปีนี้จะอยู่ที่ประมาณ 2.5 - 2.6 ตัน ต่ำกว่าปีก่อน
 
3. สต๊อคยาง
 
- สต๊อคยางจีน ณ วันที่ 29 สิงหาคม   2557 เพิ่มขึ้น 6,165 ตัน หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.91 อยู่ที่ 163,706 ตัน จากระดับ 157,541 ตัน เมื่อวันที่ 22 สิงหาคม 2557
 
4. เศรษฐกิจโลก
 
- สำนักงานสถิติแห่งชาติสหรัฐฯ เปิดเผยว่า   ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ของสหรัฐฯ ไตรมาส 2   ปรับตัวขึ้นร้อยละ 4.2 ซึ่งเพิ่มจากขยายตัวร้อยละ 4.0 ในการประเมินรอบแรก
- กระทรวงเศรษฐกิจการค้าและอุตสาหกรรมญี่ปุ่นเปิดเผยในรายงานเบื้องต้นว่า ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมเดือนกรกฎาคมขยายตัวเพียงร้อยละ 0.2 เมื่อเทียบกับเดือนมิถุนายน น้อยกว่าที่คาดการณ์ว่าจะขยายตัวร้อยละ 2.5 สะท้อนให้เห็นว่าบริษัทเอกชนของญี่ปุ่นยังคงเผชิญกับภาวะอุปสงค์ชะลอตัว
- สำนักข่าวซินหัวรายงานว่า   เศรษฐกิจอินเดียขยายตัวร้อยละ 5.7 ในไตรมาส 1 ของปีงบประมาณช่วงเดือนเมษายน -   มิถุนายน นับเป็นการขยายตัวสูงที่สุดในรอบ 9 เดือน
- สหพันธ์พลาธิการและการจัดซื้อของจีน   และสำนักงานสถิติจีน (NBS) เปิดเผยว่า ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตเดือนสิงหาคมลดลงแตะ 51.1 จุด จาก 51.7 จุดในเดือนกรกฎาคม ซึ่งเป็นสัญญาณบ่งชี้ถึงการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจที่ชะลอตัวลง
- ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ   (PMI) เขตชิคาโก เดือนสิงหาคมเพิ่มขึ้น 11.7 จุด แตะระดับ 64.3 จุด   หลังจากที่ดัชนีเดือนกรกฎาคมอ่อนตัวลงแตะ 52.6
- สำนักข่ารอยเตอร์และมหาวิทยาลัยมิชิแกน รายงานดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคสหรัฐฯ ช่วงปลายเดือนสิงหาคมเพิ่มขึ้นแตะ 82.5   จุด จากเดือนกรกฎาคมที่ 81.8 จุด สูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้
- สำนักงานสถิติแห่งสหภาพยุโรปเปิดเผยว่า เงินเฟ้อยูโรโซนเดือนสิงหาคมอ่อนตัวลงแตะร้อยละ 0.3 ซึ่งเป็นตัวเลขที่อ่อนตัวลงจากเดือนกรกฎาคมที่ร้อยละ 0.4
- สำนักงานสถิติแห่งชาติเยอรมันเปิดเผยว่า ยอดค้าปลีกเดือนกรกฎาคมปรับตัวลงร้อยละ 1.4 เมื่อเทียบเป็นรายเดือน ซึ่งปรับตัวย่ำแย่อย่างมากเมื่อเทียบกับที่นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่คาดว่าจะทรง ตัว   และยังเป็นการลดลงรายเดือนมากที่สุดนับตั้งแต่เดือนมกราคม 2555
- สำนักงานสถิติแห่งชาติจีนเปิดเผยว่า บริษัทอุตสาหกรรมรายใหญ่ของจีนมีผลกำไรในช่วง 7 เดือนแรกของปีนี้ เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.7 เมื่อเทียบเป็นรายปี
- กระทรวงกิจการภายในและสื่อสารของญี่ปุ่นเปิดเผยว่า ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) เดือนกรกฎาคมปรับตัวขึ้นร้อยละ 3.3 เมื่อเทียบกับปีก่อน ทำสถิติปรับตัวขึ้นเป็นเดือนที่ 14 ติดต่อกัน
 
5. อัตราแลกเปลี่ยน
 
- เงินบาทอยู่ที่ 31.96 บาทต่อดอลล่าร์สหรัฐ อ่อนค่าลง 0.01   บาทต่อดอลล่าร์สหรัฐ
- เงินเยนอยู่ที่ 104.16 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ อ่อนค่าลง   0.45 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ
 
6. ราคาน้ำมัน
 
- สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาด Nymex ส่งมอบเดือนตุลาคม ปิดตลาดที่ 95.96 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล เพิ่มขึ้น   1.41 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล หลังจากความเชื่อมั่นผู้บริโภคสหรัฐฯ เดือนสิงหาคมพุ่งขึ้นแตะระดับสูงสุดในรอบ 7 ปี และยังได้รับแรงหนุนจากความกังวลเกี่ยวกับสถานการณ์ในยูเครนที่ตึงเครียด ขึ้นอีกครั้ง
 
7. การเก็งกำไร
 
- ราคาตลาด TOCOM ส่งมอบเดือนตุลาคม2557 อยู่ที่ 185.0 เยนต่อกิโลกรัม ลดลง 2.0 เยนต่อกิโลกรัม และส่งมอบเดือนกุมภาพันธ์ 2558 อยู่ที่ 196.1 เยนต่อกิโลกรัม   ลดลง 2.2 เยนต่อกิโลกรัม
- ราคาตลาด SICOM เปิดตลาดที่ 179.8 เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม   ลดลง 1.0 เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม
 
8. ข่าว
 
- สำนักงานสถิติแห่งสหภาพยุโรปเปิดเผยว่า อัตราว่างงานยูโรโซนเดือนกรกฎาคมอยู่ที่ร้อยละ 11.6 ซึ่งเป็นระดับทรงตัวเมื่อเทียบกับเดือนมิถุนายน ส่วนอัตราว่างงานของสหภาพยุโรปอยู่ที่ร้อยละ 10.2 ในเดือนกรกฎาคม ทรงตัวเมื่อเทียบเป็นรายเดือน แต่ลดลงร้อยละ 10.9 เมื่อเทียบเป็นรายปี
 
9.   ข้อคิดเห็นของผู้ประกอบการ
 
- ราคาปรับตัวลดลงตามตลาดต่างประเทศ   อย่างไรก็ตาม ผู้ประกอบการบางรายกล่าวว่า ผู้ประกอบการรายใหญ่ที่มีเงินทุนหมุนเวียนมากจะเริ่มซื้อเก็บ เพราะราคาอยู่ในระดับต่ำ จึงอาจมีกระแสข่าวด้านลบออกมาเพื่อให้ราคาทรงตัว ดังนั้นต้องรออีกระยะหนึ่ง ซึ่งไม่มีใครบอกได้ว่าเมื่อไร ราคาก็น่าจะปรับตัวขึ้นได้บ้าง   เพราะโดยรวมผลผลิตออกสู่ตลาดน้อย
 
   แนวโน้ม ราคายางมีแนวโน้มปรับตัวลดลงในทิศทางเดียวกับตลาดล่วงหน้าโตเกียว เพราะได้รับปัจจัยด้านลบจากความวิตกกังวลต่อเนื่องที่ส่งผลกระทบต่อราคายาง นับตั้งแต่ความไม่แน่นอนของสภาพเศรษฐกิจสหรัฐฯ จีน และญี่ปุ่น ประกอบกับนักลงทุนรอดูการแก้ไขปัญหาราคายางจากรัฐบาลชุดใหม่ อย่างไรก็ตาม ผลผลิตยางที่ออกสู่ตลาดน้อยจากภาวะฝนตกชุก เงินเยนอ่อนค่า และราคาน้ำมันปรับตัวสูงขึ้น ยังเป็นปัจจัยหนุนราคายางได้ในระดับหนึ่ง

ทีมวิเคราะห์สำนักงานตลาดกลางยางพาราสงขลา
[/td][/tr][/table]