ผู้เขียน หัวข้อ: วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อราคายาง วันจันทร์ที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2557  (อ่าน 1158 ครั้ง)

Rakayang.Com

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 84444
    • ดูรายละเอียด
วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อราคายาง
วันจันทร์ที่  4  สิงหาคม  พ.ศ. 2557
ปัจจัย[/t][/t]
[/t]
วิเคราะห์
1. สภาพภูมิอากาศ
 
- จากอิทธิพลลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้และหย่อมความกดอากาศต่ำ ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีฝนกระจาย ร้อยละ 40 - 60 ของพื้นที่ ภาคใต้มีฝนร้อยละ 20 -   30 ของพื้นที่ ไม่ส่งผลกระทบต่อการกรีดยาง
 
2. การใช้ยาง
 
- กรรมการผู้จัดการใหญ่บริษัทโตโยต้า   มอร์เตอร์ ประเทศไทย จำกัด เปิดเผยว่า   บริษัทปรับประมาณการตลาดรถยนต์ในประเทศลงเหลือ 9.2 แสนคัน จากต้นปีที่ประมาณการว่าตลาดรถยนต์ในประเทศรวมจะอยู่ที่ 1.15 ล้านคัน เพราะครึ่งปีแรกวิกฤตการเมืองส่งผลกระทบด้านจิตวิทยาต่อการตัดสินใจของผู้ บริโภค   รวมทั้งเศรษฐกิจชะลอตัว ส่งผลให้ภาพรวมครึ่งปีแรกตลาดมียอดจำหน่ายเพียง 4.4   แสนคัน ลดลงร้อยละ 40.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
 
3. สต๊อคยาง
 
- สต๊อคยางจีน ณ วันที่ 1 สิงหาคม   2557 เพิ่มขึ้น 196 ตัน หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.13 อยู่ที่ 153,451 ตัน จากระดับ 153,255 ตัน เมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม 2557
 
4. เศรษฐกิจโลก
 
- มาร์กิต อีโคโนมิกส์ เปิดเผยว่า ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ   (PMI) ภาคการผลิตขั้นสุดท้ายเดือนกรกฎาคมของสหรัฐฯ ลดลงสู่ระดับ 55.8 จุด ต่ำกว่าตัวเลขเบื้องต้นที่   56.3 จุด และต่ำกว่าระดับ 57.3 จุดในเดือนมิถุนายน
- สำนักข่าวรอยเตอร์และมหาวิทยาลัยมิชิแกน เปิดเผยดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคสหรัฐฯ ช่วงปลายเดือนกรกฎาคมปรับตัวลดลงแตะ   81.8 จุด จาก 82.5 จุดในเดือนมิถุนายน แต่ขยับขึ้นจากต้นเดือนกรกฎาคมที่ 81.3 จุด ขณะที่นักเศรษฐศาสตร์คาดการณ์ว่าจะอยู่ที่ 81.9 จุด ส่วนดัชนีคาดการณ์ช่วง 6 เดือนจากนี้ปรับตัวลดลงแตะ 71.8 จุด   จาก 73.5 จุดในเดือนมิถุนายน แต่ขยับขึ้นจาก 71.1 จุดในช่วงต้นเดือนกรกฎาคม
- สถาบันจัดการด้านอุปทานสหรัฐฯ   (ISM) เปิดเผยว่า ดัชนีภาคการผลิตเดือนกรกฎาคมปรับตัวขึ้นสู่ 57.1 จุด จาก   55.3 จุดในเดือนมิถุนายน ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่เดือนเมษายน 2554
- ผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ   (PMI) ภาคการผลิตของเยอรมันเดือนกรกฎาคมอยู่ที่ 52.4 จุด ปรับขึ้นเล็กน้อยจากระดับต่ำสุดในรอบ   8 เดือน ที่ 52.0 จุดในเดือนมิถุนายน ส่งสัญญาณว่าสภาวะดำเนินงานภาคการผลิตยังคงปรับตัวดีขึ้น
- ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ   (PMI) ภาคการผลิตยูโรโซนเดือนกรกฎาคมอยู่ที่ 51.8 จุด ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดในรอบ 7 เดือน และไม่เปลี่ยนแปลงจากเดือนมิถุนายน แต่ขยับลงเล็กน้อยจากตัวเลขเบื้องต้นที่ 51.9 จุด
- ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ   (PMI) ภาคการผลิตฝรั่งเศสเดือนกรกฎาคมปรับตัวลดลงแตะ 47.8 จุด จาก 48.2 จุดในเดือนมิถุนายน ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดในรอบ 7 เดือน ชี้ให้เห็นว่าภาคการผลิตของฝรั่งเศสยังคงหดตัวลงอย่างต่อเนื่อง
- สหพันธ์พลาธิการและการจัดการฝ่ายจัดซื้อของจีน   (CFLP) และสำนักงานสถิติแห่งชาติจีน (NBS) เปิดเผยว่า   ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI)   ภาคการผลิตเดือนกรกฎาคมขยายตัวขึ้นสู่ระดับ 51.7 จุด ซึ่งเป็นระดับสูงสุดในรอบกว่า 2 ปี จาก 51.0 จุดในเดือนมิถุนายน เป็นสัญญาณบ่งชี้ว่าเศรษฐกิจจีนกำลังขยายตัวแข็งแกร่งขึ้น เนื่องจากนโยบายสนับสนุนของรัฐบาล
- HSBC เปิดเผยว่า ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตของจีนเดือนกรกฎาคมขยายตัวสู่ 51.7 จุด ซึ่งเป็นระดับสูงสุดในรอบ 18 เดือน จาก 50.7 จุดในเดือนมิถุนายน
 
5. อัตราแลกเปลี่ยน
 
- เงินบาทอยู่ที่ 32.13 บาทต่อดอลล่าร์สหรัฐ แข็งค่าขึ้น 0.05 บาทต่อดอลล่าร์สหรัฐ
- เงินเยนอยู่ที่ 102.60 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ แข็งค่าขึ้น   0.32 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ
 
6. ราคาน้ำมัน
 
- สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาด Nymex ส่งมอบเดือนกันยายน ปิดตลาดที่ 97.88 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล ลดลง 0.29 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล ได้รับแรงกดดันจากแนวโน้มอุปทานน้ำมันจะไม่ได้รับผลกระทบจากความไม่สงบใน หลายประเทศ   ตลอดจนแนวโน้มสต๊อคน้ำมันที่เพิ่มขึ้นในเมืองคุชชิงของสหรัฐฯ
 
7. การเก็งกำไร
 
- ราคาตลาด TOCOM ส่งมอบเดือนกันยายน 2557 อยู่ที่ 196.8 เยนต่อกิโลกรัม ลดลง 1.6 เยนต่อกิโลกรัม และส่งมอบเดือนมกราคม 2558 อยู่ที่ 207.2 เยนต่อกิโลกรัม   ลดลง 0.8 เยนต่อกิโลกรัม
- ราคาตลาด SICOM เปิดตลาดที่ 196.9 เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม   ลดลง 3.1 เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม
 
8. ข่าว
 
- กระทรวงพาณิชย์สหรัฐฯ   เปิดเผยว่า ตัวเลขจ้างงานนอกภาคเกษตรเดือนกรกฎาคมปรับตัวเพิ่มขึ้น 209,000   ตำแหน่ง ขณะที่อัตราว่างงานขยับขึ้นสู่ร้อยละ 6.2 เพิ่มขึ้นน้อยกว่าที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้น 230,000 ตำแหน่ง อย่างไรก็ตาม นับเป็นเดือนที่ 6   ติดต่อกัน ที่ตัวเลขจ้างงานนอกภาคเกษตรปรับตัวขึ้นมากกว่า 200,000 ตำแหน่ง
- กระทรวงพาณิชย์สหรัฐฯ   เปิดเผยว่า การใช้จ่ายด้านก่อสร้างเดือนมิถุนายนลดลงร้อยละ 1.8 จากเดือนพฤษภาคม สู่ 9.502 แสนล้านดอลล่าร์สหรัฐ นับเป็นการปรับตัวลดลงมากที่สุดตั้งแต่เดือนมกราคม 2554
 
9.   ข้อคิดเห็นของผู้ประกอบการ
 
- ราคายางปรับตัวลดลงตามตลาดต่างประเทศ   เพราะยังคงขายยาก ไม่มีผู้ซื้อ ทำให้ผู้ประกอบการหลายรายต้องชะลอการซื้อ อย่างไรก็ตาม แม้สินค้ามีน้อยและราคาปรับตัวลดลง แต่ยังต้องแย่งกันซื้อ ดังนั้นถ้าซื้อเข้ามาก็ไม่คุ้มทุน
 
   แนวโน้ม ราคายางมีแนวโน้มปรับตัวลดลง เนื่องจากมีปัจจัยภายนอกที่ส่งผลต่อการตัดสินใจของนักลงทุน โดยเฉพาะความกังวลเกี่ยวกับการฟื้นตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯ และจีน ผู้ใช้ยางรายใหญ่ของโลก ที่ข้อมูลเศรษฐกิจบางส่วนยังไม่ชัดเจน ประกอบกับราคาน้ำมันปรับตัวลดลงและเงินเยนแข็งค่าขึ้น ขณะที่นักลงทุนยังคงติดตามดูการเปิดเผยข้อมูลภาวะอุตสาหกรรมรถยนต์ของจีนและ ญี่ปุ่นในสัปดาห์นี้
ทีมวิเคราะห์สำนักงานตลาดกลางยางพาราสงขลา
[/td][/tr][/table]