ผู้เขียน หัวข้อ: รายงานภาวะเศรษฐกิจรายวันประจำวันที่ 16 กรกฎาคม 2557  (อ่าน 476 ครั้ง)

Rakayang.Com

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 85970
    • ดูรายละเอียด

รายงานภาวะเศรษฐกิจรายวันประจำวันที่ 16 กรกฎาคม 2557


 
ข่าวเศรษฐกิจ กระทรวงการคลัง -- พุธที่ 16 กรกฎาคม 2557 11:16:55 น.
Macro Morning Focus ประจำวันที่ 16 กรกฎาคม 2557
Summary:
1. ก.พาณิชย์เผย ผลการตรึงสินค้า ช่วยลดค่าครองชีพลง
2. คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) อนุมัติกรอบงบประมาณปี 58 ที่ 2,575 พันล้านบาท
3. BOJ มีมติคงนโยบายการเงินแบบผ่อนคลาย แต่ปรับ GDP ญี่ปุ่นปีนี้ที่1%
1. ก.พาณิชย์เผย ผลการตรึงสินค้า ช่วยลดค่าครองชีพลง


 
- โฆษกกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า การประเมินผลการดำเนินโครงการลดค่าครองชีพให้กับประชาชนตามนโยบายคืนความสุขให้กับประชาชนของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ว่า สถานการณ์ราคาสินค้าที่จำเป็นต่อการครองชีพ มีการปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่อง หลังจากที่ได้จัดทำโครงการลดค่าครองชีพให้กับประชาชน ทั้งการขอความร่วมมือผู้ประกอบการตรึงราคาสินค้า 6 เดือน การดูแลราคาอาหารปรุงสำเร็จที่จำหน่ายในห้างสรรพสินค้าและร้านค้าทั่วไป การจัดโครงการธงฟ้าจำหน่ายสินค้าราคาประหยัด รวมไปถึงการจัดมหกรรมลดราคาสินค้าและบริการทางออนไลน์ และการร่วมมือกับร้านค้าส่งค้าปลีกลดราคาจำหน่ายสินค้าทั่วประเทศ ทั้งนี้ การตรึงราคาสินค้าอุปโภค-บริโภค จำนวน 205 รายการ จะสิ้นสุดในเดือน พ.ย 57


- สศค. วิเคราะห์ว่า หลังจากที่ได้มีการดำเนินโครงการลดค่าครองชีพของคสช. ตั้งแต่วันที่ 26 พ.ค. 57 และผู้ประกอบการได้เริ่มให้ความร่วมมือในการตรึงราคา ตั้งแต่ต้นเดือน มิ.ย. 57 ส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อในเดือน มิ.ย. 57 ปรับลดลงจากเดือนพ.ค. ที่อยู่ที่ร้อยละ 2.62 ต่อปีมาอยู่ที่ร้อยละ 2.35 ต่อปี ทั้งนี้ การตรึงราคาสินค้าที่จำเป็นต่อการครองชีพลดลงจะช่วยทำให้สามารถลดภาระค่าใช้จ่าย และเพิ่มความสามารถในการจับจ่ายใช้สอย ซึ่งกระตุ้นให้เกิดการหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจเพิ่มขึ้น อีกทั้งยังส่งผลให้รายได้สุทธิของประชาชนเพิ่มSET สูงขึ้น อย่างไรก็ดี สศค. คาดการณ์ ณ มี.ค. 57 อัตราเงินเฟ้อทั่วไปในปี 57 จะอยู่ที่ร้อยละ 2.5 โดยมีช่วงคาดการณ์อยู่ที่ร้อยละ 2.0-3.0 ต่อปี (โดยจะมีการปรับประมาณการอีกครั้งในวันที่ 30 ก.ค. 57)


2. คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) อนุมัติกรอบงบประมาณปี 58 ที่ 2,575 พันล้านบาท
- คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) อนุมัติกรอบงบประมาณรายจ่ายปี 58 จำนวน 2,575 พันล้านบาท ขาดดุลงบประมาณ  250 พันล้านบาท


- สศค. วิเคราะห์ว่า กรอบวงเงินงบประมาณรายจ่ายปี 58 เท่ากับ 2,575 พันล้านบาท ปรับเพิ่มขึ้นจากปีที่แล้ว 50,000 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 2.0 ทั้งนี้ โครงสร้างงบประมาณ 58 ประกอบด้วย (1) รายจ่ายประจำ 2,026.7 พันล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 78.7 ของกรอบวงเงินงบประมาณ (2) รายจ่ายลงทุน 450.6 พันล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 17.5 ของกรอบวงเงินงบประมาณ ซึ่งคงสัดส่วนรายจ่ายลงทุนต่อกรอบงบประมาณเท่ากับปีที่แล้วเพื่อรักษาระดับการลงทุนของประเทศให้ไม่ต่ำกว่าปีก่อนหน้า(3) รายจ่ายชำระต้นเงินกู้ 42.0 พันล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 1.6 ของกรอบวงเงินงบประมาณ และ (4) รายจ่ายเพื่อชดใช้เงินคงคลัง 55.7 พันล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 2.2 ของกรอบวงเงินงบประมาณ โดยกรอบวงเงินงบประมาณรายจ่ายปี 58 กำหนดการขาดดุลงบประมาณจำนวน 250 พันล้านบาท ซึ่งเท่ากับปีก่อนหน้าส่วนหนึ่งเกิดจาก รายจ่ายลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานบางส่วนมาบรรจุไว้ในงบประมาณ และการขาดดุลงบประมาณเป็นการดำเนินนโยบายการคลังแบบผ่อนคลาย ซึ่งจะมีส่วนช่วยทำให้เศรษฐกิจขยายตัวผ่านการใช้จ่ายของรัฐบาล


3. BOJ มีมติคงนโยบายการเงินแบบผ่อนคลาย แต่ปรับ GDP ญี่ปุ่นปีนี้ที่1%
- ธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) ประกาศคงนโยบายการเงินแบบผ่อนคลายพิเศษเพื่อส่งเสริมเศรษฐกิจ พร้อมคงคาดการณ์เงินเฟ้อตามที่เคยประกาศไว้ก่อนหน้า ซึ่งบ่งชี้ว่าทางธนาคารกลางจะไม่ดำเนินการใดๆ อย่างฉับพลัน เพื่อผ่อนคลายสภาวะทางการคลังเพิ่มเติม ทั้งนี้  BOJ ได้ปรับลดคาดการณ์การขยายตัวของเศรษฐกิจญี่ปุ่นประจำปีงบประมาณ 2557 ลงเหลือ 1.0%


- สศค. วิเคราะห์ว่า การที่ BOJ มีมติคงนโยบายการเงินแบบผ่อนคลาย เพื่อเป็นการรักษาเสถียรภาพเศรษฐกิจภายในประเทศ และกระตุ้นเศรษฐกิจภายในประเทศ ภายหลังการปรับเพิ่มอัตราภาษีมูลค่าเพิ่มเมื่อวันที่ 1 เม.ย. 57 ซึ่งส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น โดยอัตราเงินเฟ้อล่าสุดในเดือนพ.ค. 57 เพิ่มขึ้นต่อเนื่องสู่ระดับสูงสุดนับตั้งแต่เดือน เม.ย. 34 มาอยู่ที่ร้อยละ 3.7 ต่อปี หรืออยู่ที่ร้อยละ 0.4 จากเดือนก่อนหน้า (mom_sa) จากราคาสินค้าหมวดอาหารและคมนาคมขนส่งที่เร่งขึ้นเป็นสำคัญ นอกจากนี้ อัตราเงินเฟ้อที่ปรับเพิ่มขึ้นเป็นปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อผลผลิตอุตสาหกรรมของญี่ปุ่น ทั้งนี้ สศค. คาดว่าเศรษฐกิจญี่ปุ่นในปี 57 จะขยายตัวที่ร้อยละ 1.3 ต่อปี (คาดการณ์ ณ เดือน มี.ค. 57)


ที่มา: Bureau of Macroeconomic Policy,Fiscal Policy Office, Ministry of Finance
Tel: 02-273-9020 Ext. 3257