ผู้เขียน หัวข้อ: วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อราคายาง วันพุธที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2557  (อ่าน 925 ครั้ง)

Rakayang.Com

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 84473
    • ดูรายละเอียด

วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อราคายาง
วันพุธที่  16  กรกฎาคม  พ.ศ. 2557
ปัจจัย[/t][/t]
[/t]
วิเคราะห์
1. สภาพภูมิอากาศ- อิทธิพลลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้และหย่อมความกดอากาศต่ำ ยังคงทำให้ประเทศไทยมีฝนตกชุกและตกหนักบางแห่ง โดยเฉพาะภาคใต้ฝั่งตะวันตกมีฝนเกือบทั่วไป ร้อยละ 80 ของพื้นที่ ส่วนมากบริเวณจังหวัดระนอง พังงา และภูเก็ต เป็นอุปสรรคต่อการกรีดยาง
2. การใช้ยาง- นายกสมาคมผู้ผลิตยานยนต์ญี่ปุ่นกล่าวว่า ยอดจำหน่ายรถยนต์ในญี่ปุ่นยังคงอยู่ในภาวะน่าวิตก หลังการปรับขึ้นภาษีบริโภคจากร้อยละ 5 เป็นร้อยละ 8 เมื่อเดือนเมษายน
- รองเลขาธิการสมาคมผู้ผลิตยานยนต์จีน (CAAM) คาดการณ์ว่า อุปสงค์รถยนต์ตลาดจีนปี 2557 เพิ่มขึ้น 23.83 ล้านคัน หรือเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 8.3 จากปี 2556 โดยช่วงเดือนมกราคม - มิถุนายน การผลิตรถยนต์เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.6 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน อยู่ที่ 11.78 ล้านคัน ซึ่งขยายตัวมากขึ้นหลังจากการผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.4 ในช่วงเดือนมกราคม - พฤษภาคม
3. เศรษฐกิจโลก- กระทรวงพาณิชย์สหรัฐฯ เปิดเผยว่า ยอดค้าปลีกเดือนมิถุนายนเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.2 หลังจากที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.5 ในเดือนพฤษภาคม นับเป็นการเพิ่มขึ้นน้อยที่สุดนับตั้งแต่เดือนมกราคม 2557
- กระทรวงพาณิชย์จีนเปิดเผยว่า ตัวเลขการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) เดือนมิถุนายนเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.2 เมื่อเทียบเป็นรายปี อยู่ที่ 1.442 หมื่นล้านดอลล่าร์สหรัฐ
- ธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) ประกาศคงนโยบายการเงินแบบผ่อนคลายพิเศษ เพื่อส่งเสริมเศรษฐกิจ พร้อมคาดการณ์เงินเฟ้อตามที่เคยประกาศไว้ก่อนหน้านี้ บ่งชี้ว่าธนาคารกลางญี่ปุ่นจะไม่ดำเนินการใด ๆ อย่างฉับพลัน เพื่อผ่อนคลายสภาวะทางการคลังเพิ่มเติม
- ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจยุโรป (ZEW) เปิดเผยว่า ดัชนีความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจของเยอรมันเดือนกรกฎาคมลดลงแตะ 27.1 จุด จาก 29.8 จุดในเดือนมิถุนายน เป็นการปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 7
- บริษัทในภาคการผลิตและการค้าของสหรัฐฯ ยังคงเดินหน้าปรับเพิ่มสต๊อคสินค้าในเดือนพฤษภาคม ส่งสัญญาณว่าเศรษฐกิจยังคงขยายตัวอย่างต่อเนื่อง โดยกระทรวงพาณิชย์สหรัฐฯ เปิดเผยว่าสต๊อคสินค้าคงคลังภาคธุรกิจปรับตัวขึ้นร้อยละ 0.5 เมื่อเทียบเป็นรายเดือน หลังจากที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.6 ในเดือนเมษายน
- สำนักงานสถิติแห่งชาติอังกฤษเปิดเผยว่า ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) เดือนมิถุนายนปรับตัวขึ้นแตะร้อยละ 1.9 สูงกว่าที่ตลาดคาดการณ์ไว้ และเป็นระดับสูงสุดในรอบ 5 เดือน โดยเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 1.5 ในเดือนพฤษภาคม
4. อัตราแลกเปลี่ยน- เงินบาทอยู่ที่ 32.18 บาทต่อดอลล่าร์สหรัฐ อ่อนค่าลง 0.02 บาทต่อดอลล่าร์สหรัฐ
- เงินเยนอยู่ที่ 101.72 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ อ่อนค่าลง 0.11 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ
5. ราคาน้ำมัน- สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาด Nymex ส่งมอบเดือนสิงหาคม ปิดตลาดที่ 99.96 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล ลดลง 0.95 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล โดยสัญญาน้ำมันดิบลดลงต่ำกว่าระดับ 100 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรลเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่เดือนพฤษภาคมปีนี้ เนื่องจากตลาดคาดการณ์ว่าอุปทานน้ำมันจากตะวันออกกลางจะเข้าสู่ตลาดโลกมากขึ้น
6. การเก็งกำไร- ราคาตลาด TOCOM ส่งมอบเดือนสิงหาคม อยู่ที่ 188.8 เยนต่อกิโลกรัม ลดลง 0.2 เยนต่อกิโลกรัม และส่งมอบเดือนธันวาคม อยู่ที่ 198.6 เยนต่อกิโลกรัม เพิ่มขึ้น 0.6 เยนต่อกิโลกรัม
- ราคาตลาด SICOM เปิดตลาดที่ 199.0 เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม ลดลง 1.5 เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม
7. ข่าว- ประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) แถลงต่อสภาคองเกรสว่า มีความเป็นไปได้ที่เฟดจะยุติโครงการซื้อทรัพย์สินในเดือนตุลาคมนี้ โดยไม่หวั่นว่าอาจเกิดภาวะฟองสบู่ในสินทรัพย์ พร้อมย้ำว่าเฟดจะยังตรึงอัตราดอกเบี้ยที่ระดับต่ำต่อไปอีกระยะหนึ่ง แต่ขณะเดียวกันก็แย้มว่าการขึ้นดอกเบี้ยอาจเกิดขึ้นเร็วกว่าที่คาดการณ์ หากตลาดแรงงานยังดีต่อเนื่อง
8. ข้อคิดเห็นของผู้ประกอบการ- ราคายางปรับตัวลดลงตามตลาดต่างประเทศ เพราะไม่มีปัจจัยใหม่ ๆ กระตุ้นตลาด ขณะที่ผู้ประกอบการชะลอการซื้อเพื่อรอขายสินค้าในโรงงานที่ซื้อไว้ก่อนหน้านี้ และบางรายก็จำเป็นต้องขายในราคาขาดทุน เพราะเริ่มขาดเงินทุนหมุนเวียนและต้องจ่ายดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นด้วย
แนวโน้ม ราคายางมีแนวโน้มปรับตัวลดลงในทิศทางเดียวกับตลาดล่วงหน้าโตเกียว เพราะได้รับแรงกดดันจากราคาน้ำมันปรับตัวลดลงต่ำกว่าระดับ 100 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรลเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่เดือนพฤษภาคม และไม่มีปัจจัยใหม่ ๆ กระตุ้นตลาด ประกอบกับนักลงทุนชะลอซื้อเพื่อรอดูข้อมูลเศรษฐกิจที่สำคัญของจีนในสัปดาห์นี้ อย่างไรก็ตาม ภาวะฝนตกหนักในหลายพื้นที่ปลูกยางของไทย และข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่สดใสยังเป็นปัจจัยหนุนให้ราคายางไม่ปรับลดลงมากในระยะนี้
ทีมวิเคราะห์สำนักงานตลาดกลางยางพาราสงขลา
[/td][/tr][/table]