ผู้เขียน หัวข้อ: เอกชนจีนพบสกย.ขอซื้อยางตรงจากเกษตรกร  (อ่าน 659 ครั้ง)

Rakayang.Com

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 86015
    • ดูรายละเอียด

เอกชนจีนพบสกย.ขอซื้อยางตรงจากเกษตรกร
บริษัทจากประเทศจีน พบสกย. ขอซื้อยางโดยตรงจากกลุ่มเกษตรกร ขณะที่กรมชลประทานเล็งใช้ยางสร้างถนนในเขื่อนแม่กวงอุด


นายประสิทธิ์ หมีดเส็น รักษาการแทนผู้อำนวยการสำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง เปิดเผยภายหลังการเข้าพบของ คณะผู้บริหารจากบริษัท QINGDAO RUBBER VALLEY SUPPLY CHAIN CO.,LTD ประเทศจีน ว่า ในฐานะประเทศผู้ซื้อยางรายใหญ่ของโลกได้เห็นความสำคัญและเข้ามาติดต่อกับ สกย. เพื่อเปิดโอกาสและหาช่องทางในการซื้อขายยางพารากับเกษตรกรชาวสวนยางเป็นผู้ผลิตโดยตรง ถือว่าเป็นทิศทางในการพัฒนาระบบอุตสาหกรรมและระบบตลาดยางพาราของไทยที่ดีอีกระดับหนึ่ง


อย่างไรก็ตาม ในภารกิจของ สกย. ซึ่งมีเป้าหมายให้เกษตรกรชาวสวนยางสามารถรวมตัวเป็นกลุ่ม และดำเนินธุรกิจค้าขายได้ พร้อมทั้งมีนโยบายพัฒนาสหกรณ์ให้มีความเข้มแข็ง ยังต้องคำนึงถึงปริมาณผลผลิตและคุณภาพของสินค้าที่ตอบสนองความต้องการของตลาดด้วย ที่ผ่านมา ปริมาณผลผลิตในรูปแบบยางประเภท ยางแผ่นรมควันชั้น 3 ยางแท่ง STR 20 และยางคอมปาวด์ ของเกษตรกรที่อยู่ในความดูแลและการส่งเสริมของ สกย.ยังมีปริมาณน้อย หากเทียบกับปริมาณความต้องการของทางบริษัท มีเพียงไม่กี่สหกรณ์ที่สามารถดำเนินธุรกิจแปรรูปยางขั้นต้นได้เอง


?การทำธุรกิจค้าขายระดับเกษตรกร เป็นเรื่องที่สำคัญและต้องศึกษาอย่างละเอียดลึกซึ้ง ในเบื้องต้น จะต้องมีการศึกษาข้อมูลทั้งในระบบการตลาด และการส่งออก ในระยะหนึ่ง เพื่อหาแนวทางในการช่วยเหลือเกษตรกรเพื่อให้มีศักยภาพจากเกษตรกรผู้ผลิต เป็นผู้ขายสินค้าเช่น การเตรียมความพร้อมของสหกรณ์กองทุนสวนยาง ซึ่งจะต้องผลิตสินค้าให้ได้มาตรฐาน GMP หรือ ปริมาณยาง จะต้องควบคุมและบริหารจัดการให้มีระดับเพียงพอต่อการส่งออก เป็นต้น?นายประสิทธิ์ กล่าว


นายประสิทธิ์ ยังกล่าวถึงการประชุมคณะทำงานการบริหารจัดการยางพาราทั้งระบบอย่างมีเอกภาพ ว่ามีความเห็นชอบร่วมกันที่จะสนับสนุนให้มีการใช้ยางพาราในประเทศให้มากขึ้น จึงมีการแต่งตั้งคณะทำงานเฉพาะกิจเพื่อขับเคลื่อนนโยบายการใช้ยางในประเทศโดยการสร้างถนนยางพาราให้เป็นรูปธรรม โดยมีหน่วยงานภาครัฐต่างๆ ร่วมบูรณาการ ได้แก่ สถาบันวิจัยยาง องค์การสวนยาง รวมทั้งหน่วยงานผู้ใช้ยาง เช่น กรมทางหลวง กรมทางหลวงชนบท กรมชลประทาน และสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรเป็นหน่วยงานประสานงานหลัก


ทั้งนี้ กรมชลประทานจะดำเนินการจัดทำถนนยางพารานำร่องที่เขื่อนแม่กวงอุดมธารา อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ การปรับโครงสร้างระบบตลาดของประเทศไทย รวมทั้งที่ประชุมมีมติในการจัดทำแผนแม่บทการปรับโครงสร้างระบบตลาดของประเทศไทย โดยมอบหมายให้สำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง องค์การสวนยาง และสถาบันวิจัยยาง ร่วมกันจัดทำข้อเสนอโครงการเพื่อพัฒนาเชื่อมโยง Physical Spot Market สำหรับประเด็น การแสวงหาตลาดใหม่ การค้ากับประเทศผู้ใช้ยางรายใหม่ ซึ่งองค์การสวนยางร่วมกับสถาบันวิจัยยาง จะจัดทำข้อมูลแนวทางและข้อเสนอโครงการในการแสวงหาตลาดใหม่ดังกล่าว เพื่อเสนอนโยบายในการทำการค้ากับประเทศผู้ใช้ยางรายใหม่ เช่น รัสเซีย ยูเครน เป็นต้น