ผู้เขียน หัวข้อ: วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อราคายาง วันจันทร์ที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2557  (อ่าน 906 ครั้ง)

Rakayang.Com

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 83156
    • ดูรายละเอียด
วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อราคายาง
วันจันทร์ที่  16  มิถุนายน  พ.ศ. 2557
ปัจจัย[/t][/t][/t]
วิเคราะห์
1.   สภาพภูมิอากาศ
 
- สภาพอากาศจากอิทธิพลร่องมรสุมกำลังปานกลางและมรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังแรง ยังคงทำให้ทั่วทุกภาพของประเทศไทยมีฝนตกชุก และตกหนักบางแห่ง โดยเฉพาะภาคตะวันออกและภาคใต้ฝั่งตะวันตก มีฝนร้อยละ 70 ของพื้นที่ ส่งผลกระทบต่อการกรีดยาง
 
2.   การใช้ยาง
 
- แหล่งข่าวด้านยานยนต์ชั้นนำ   ระบุว่า บริษัทฟอร์ด ในอินเดีย และ บริษัท ซูซูกิ ผู้ผลิตยานยนต์ชื่อดัง   จากญี่ปุ่น กำลังจะมีแผนการที่จะย้ายฐานการผลิตรถยนต์รุ่น ฟอร์ดเฟียสต้า และซูซูกิเซเลริโอ ไปผลิตที่ไทย เพื่อหวังให้ไทยพัฒนาตลาดส่งออกไปยังตลาดประเทศที่พัฒนาแล้วแทนอินเดียในปี 2016   นี้
 
3.   สต๊อคยาง
 
- สต๊อคยางจีน ณ วันที่ 13   มิถุนายน 2557 มีจำนวน 149,015 ตัน ลดลง 5,345 ตัน หรือลดลงร้อยละ 3.46 จาก   154,360 ตัน ณ วันที่ 6 มิถุนายน 2557
- สต๊อคยางญี่ปุ่น ณ วันที่ 31   พฤษภาคม 2557 ลดลง 186 ตัน หรือลดลงร้อยละ 0.91 แตะที่ 20,253 ตัน จากระดับ   20,439 ตัน (20 พฤษภาคม 2557)
 
- ธนาคารกลางญ่ปุ่น มีมติคงนโยบายผ่อนคลายด้านการเงินเอาไว้เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจในการประชุม ครั้งล่าสุดเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา โดยชี้ว่าเศรษฐกิจญี่ปุ่นฟื้นตัวในระดับปานกลาง ส่วนผลกระทบรุ่นแรงที่มาจากการปรับขึ้นภาษีการบริโภคนั้นจะลดน้อยลงตั้งแต่ ฤดูร้อนปีนี้
- ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคของสหรัฐฯ   ช่วงต้นเดือนมิถุนายน จากรอยเตอร์/มหาวิทยาลัยมิชิแกน ปรับตัวลดลงสู่ระดับ 81.2 จากก่อนหน้านี้ที่ 81.9 ในช่วงปลายเดือนพฤษภาคม เนื่องจากผู้บริโภคมีรายได้ลดลง
- องค์กรเพื่อความร่วมมือและพัฒนาเศรษฐกิจ   (OECD) คาดว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯ จะมีอัตราการฟื้นตัวในจังหวะที่รวดเร็วขึ้นในช่วงอีกหลายเดือนข้างหน้า อันเป็นผลมาจากความคึกคักของภาคพลังงาน การลดลงอย่างต่อเนื่องของอัตราว่างงาน และการดีดกลับมาเพิ่มขึ้นของการลงทุน ซึ่งจะผลักดันให้อัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯ แตะที่ระดับสูงสุดในรอบทศวรรษ  โดยในรายงานการปรับทบทวนตัวเลขเศรษฐกิจฉบับล่าสุดของ   OECD คาดว่า GDP ของสหรัฐฯ จะขยายตัวร้อยละ   2.5 ในปีนี้ ซึ่งต่ำกว่าคาดการณ์ในเดือนก่อน และคงคาดการณ์การขยายตัวปี 2558 เอาไว้ที่ร้อยละ 3.5 ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่ปี 2547
 
4.เศรษฐกิจโลก
 
- กระทรวงแรงงานสหรัฐฯ เปิดเผยว่า   ดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) ของสหรัฐฯ การปรับตัวลดลงอย่างเหนือความคาดหมายในเดือนพฤษภาคม เนื่องจากการปรับตัวลงในวงกว้างของต้นทุนการผลิต ซึ่งบ่งชี้ว่าอัตราเงินเฟ้อยังอยู่ในระดับที่ไม่เป็นอันตราย รายงานของกระทรวงระบุว่าดัชนี PPI ปรับตัวลงร้อยละ 0.2   ในเดือนพฤษภาคม หลังจากที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.6 ในเดือนเมษายน
- ธนาคารโลกเรียกร้องให้หลายประเทศเดินหน้าปฏิรูปอย่างเร่งด่วน   โดยระบุว่า สภาพอากาศที่เลวร้ายในสหรัฐฯ วิกฤตในยูเครน การปรับสมดุลในจีนและการคาดการณ์เกี่ยวกับการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยจะส่งผล กระทบต่ออัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจโลกในปีนี้
- สำนักงานสถิติจีน รายงานว่า
 
    • ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมของจีนในเดือนพฤษภาคม   เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.8 เมื่อเทียบรายปี ซึ่งเพิ่มขึ้นจากอัตราร้อยละ 8.7   ในเดือนเมษายน
    • ยอดค้าปลีกของจีนในเดือนพฤษภาคม   ปรับตัวขึ้นร้อยละ 12.5 เมื่อเทียบรายปีจากอัตราร้อยละ 11.9 ในเดือนเมษายน
    • การ ลงทุนในสินทรัพย์ถาวรของจีนในช่วง   5 เดือน แรกของปีนี้ปรับตัวขึ้นร้อยละ 17.2 เทียบรายปี เมื่อเทียบกับช่วง 4   เดือนแรกที่มีการขยายตัวร้อยละ 17.3
    [/list]
    [/table][/tr][/table]
    5. อัตราแลกเปลี่ยน
     
    - เงินบาทอยู่ที่ 32.39   บาทต่อดอลล่าร์สหรัฐ แข็งค่า 0.05 บาทต่อดอลล่าร์สหรัฐ
     และเงินเยนอยู่ที่ 101.84 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ อ่อนค่า 0.07 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ
     
    6.   ราคาน้ำมัน
     
    - สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาด Nymex ส่งมอบเดือน   กรกฎาคม ปิดตลาดที่ 106.91 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล เพิ่มขึ้น 0.3 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่วันที่ 18 กันยายน 2556   ขณะที่ตลอดสัปดาห์ ราคาน้ำมันพุ่งขึ้นร้อยละ 4.1 เนื่องจากความกังวลว่าสถานการณ์ตึงเครียดในอิรัก ซึ่งเป็นผู้ผลิตน้ำมันรายใหญ่อันดับสองในกลุ่มประเทศส่งออกน้ำมัน (โอเปค) อาจส่งผลกระทบต่อการผลิตและส่งออกน้ำมันของประเทศ
     
    7.   การเก็งกำไร
     
    - ราคา TOCOM ส่งมอบเดือน กรกฎาคม 2557 อยู่ที่ 190.8   เยนต่อกิโลกรัม ลดลง 0.3 เยนต่อกิโลกรัม และส่งมอบเดือน พฤศจิกายน 2557 อยู่ที่ 200.0 เยนต่อกิโลกรัม ลดลง 1.1 เยนต่อกิโลกรัม
    - ราคาตลาด SICOM เปิดตลาดที่ 209.2   เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม เพิ่มขึ้น 1.2 เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม
     
    8. ข่าว
     
    - สำนักงานสถิติแห่งชาติจีนเผยดัชนีภาวการณ์พัฒนาด้านอสังหาริมทรัพย์ของจีน ปรับตัวลง   0.77 จุด จากเดือนเมษายน สู่ระดับ 95.02 ในเดือนพฤษภาคม นับเป็นการปรับลงลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 4
    - กระทรวงแรงงานของสหรัฐฯ เผยจำนวนตำแหน่งที่กำลังเปิดรับสมัครในระบบเศรษฐกิจของสหรัฐฯได้เพิ่มขึ้น แตะระดับสูงสุดในรอบ 7 ปี ซึ่งเป็นมาตรวัดล่าสุดที่บ่งชี้ถึงการฟื้นตัวอย่างแข็งแกร่งของตลาดแรงงาน จากช่วงที่เกิดภาวะถดถอย   โดยผลสำรวจพบว่าจำนวนตำแหน่งว่างงานเพิ่มขึ้นแตะ 4.5 ล้านตำแหน่งในเดือนเมษายน ในขณะที่อัตราการประกาศรับสมัครงานเพิ่มขึ้นสู่ระดับร้อยละ   3.1 ในเดือนเมษายน จากร้อยละ 2.9 ในเดือนมีนาคม ซึ่งเป็นระดับสูงสุดในรอบ 7 ปี เช่นเดียวกัน
     
    9. ข้อคิดเห็นของ ผู้ประกอบการ
     
    - ราคายางน่าจะทรงตัวหรือสูงขึ้นได้เล็กน้อย เพราะยังมีแรงหนุนจากผลผลิตมีน้อยจากสภาพอากาศที่แปรปรวนทำให้ต้นยางให้ผล ผลิตลดลงกว่าช่วงเดียวกันของทุกปี
     
       แนวโน้ม ราคายางมีแนวโน้มทรงตัวหรือเปลี่ยนแปลงเล็กน้อยในทิศทางเดียวกับตลาดโตเกียว เพราะมีทั้งปัจจัยบวกและลบที่ส่งผลต่อราคายาง โดยปัจจัยบวกคือราคาน้ำมันปรับตัวสูงขึ้น แตะระดับสูงสุดในรอบ 10 เดือน และตัวเลขเศรษฐกิจจีนออกมาดีเกินคาด ประกอบกับฝนตกชุกในหลายพื้นที่ปลูกยางของไทย ขณะที่ปัจจัยลบมาจากเงินบาทแข็งค่า และจีนมีการใช้ยางในสต๊อคเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จนล่าสุดเหลืออยู่ 149,015 ตัน (12 มิถุนายน 2557) ประกอบกับนักลงทุนมีความกังวลเกี่ยวกับสถานการณ์รุนแรงในอิรัก อาจส่งผลกระทบต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก

                                      คณะทำงานวิเคราะห์สถานการณ์ตลาดและราคายาง  สำนักงานตลาดกลางยางพาราสงขลา

    [/td][/tr][/table][/td][/tr][/table][/td][/tr][/table]