ผู้เขียน หัวข้อ: วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อราคายาง วันพุธที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2557  (อ่าน 1049 ครั้ง)

Rakayang.Com

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 83129
    • ดูรายละเอียด

วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อราคายาง
วันพุธที่  11  มิถุนายน  พ.ศ. 2557
ปัจจัย[/t][/t] [/t]

วิเคราะห์

1.   สภาพภูมิอากาศ
- อิทธิพลลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังค่อนข้างแรงยังคงทำให้ประเทศไทยมีฝน กระจายและตกหนักบางแห่ง โดยเฉพาะภาคใต้มีฝนร้อยละ 40 ของพื้นที่ ส่วนมากบริเวณจังหวัดชุมพร สุราษฎร์ธานี ระนอง พังงา และภูเก็ต เป็นอุปสรรคต่อการกรีดยาง
 

2.   การใช้ยาง
- สมาคม รถยนต์โดยสารจีนเปิดเผยว่า ยอดจำหน่ายรถยนต์โดยสารเดือนพฤษภาคมปรับตัวขึ้นร้อยละ 13.0 ซึ่งสมาคมระบุว่ายอดค้าปลีกรถยนต์ รถอเนกประสงค์ เพิ่มขึ้นแตะ 1.5 ล้านคัน โดยผู้ผลิตรถยนต์จากต่างประเทศได้เพิ่มการลงทุนในจีนมากขึ้น เพื่อครองส่วนแบ่งการตลาด สร้างแรงกดดันต่อผู้ผลิตภายในประเทศ และเมืองที่เริ่มพิจารณาเรื่องการลดปริมาณรถใหม่เพื่อลดมลภาวะและปัญหาจราจร ก็มีมากขึ้น - Rubber Economist คาดการณ์ถึง Global Surplus ว่าปี 2016 จะมีผลผลิตยางส่วนเกินอยู่ที่ 316,000 ตัน ลดลงจากผลผลิตยางส่วนเกินปี 2015 ที่คาดการณ์ไว้ 483,000 ตัน ส่วนหนึ่งมาจากการที่ราคายางปีนี้ยังไม่ปรับตัวเพิ่มขึ้น ทำให้การเพิ่มพื้นที่ปลูกยางในเมียนมาร์ ลาว และกัมพูชา ชะลอตัว โดยรอดูทิศทางราคาเป็นตัวตัดสินใจ

3. เศรษฐกิจโลก
- ธนาคาร โลกปรับลดคาดการณ์การขยายตัวของเศรษฐกิจโลกปีนี้ลงมาอยู่ที่ร้อยละ 2.8 จากการประเมินไว้เมื่อเดือนมกราคมที่ร้อยละ 3.2 พร้อมระบุว่ากลุ่มประเทศกำลังพัฒนามีการขยายตัวที่น่าผิดหวัง

- สำนักงานสถิติแห่งชาติโปรตุเกส (INE.) เปิดเผยว่า การฟื้นตัวของเศรษฐกิจโปรตุเกสชะลอตัวลง เนื่องจากการหดตัวภาคส่งออกและการลงทุน โดยรายงานระบุว่าผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ไตรมาสแรกปรับตัวลดลงร้อยละ 0.6

- สหพันธ์ธุรกิจอิสระแห่งชาติสหรัฐฯ รายงานความเชื่อมั่นของธุรกิจขนาดเล็กปรับตัวขึ้นต่อเนื่อง โดยแตะระดับสูงสุดนับตั้งแต่เดือนกันยายน 2550 หรือในรอบ 7 ปี ก่อนที่จะเกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอยครั้งหลังสุด ซึ่งดัชนีเชิงบวกของธุรกิจขนาดเล็กปรับตัวขึ้นสู่ระดับ 96.6 จุดในเดือนพฤษภาคม จาก 95.2 จุดในเดือนเมษายน

- ประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) สาขาเซนต์หลุยส์ กล่าวว่า เศรษฐกิจมหภาคของสหรัฐฯ ใกล้เข้าสู่ภาวะปกติเมื่อเทียบกับช่วง 5 ปีที่ผ่านมา และเฟดใกล้ที่บรรลุเป้าหมายมากขึ้น ซึ่งหมายความว่าช่วงเวลาที่เฟดอาจต้องเริ่มปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยกำลังใกล้ เข้ามา

- ธนาคารกลางฝรั่งเศสคงคาดการณ์การขยายตัวทางเศรษฐกิจไตรมาส 2 ปี 2557 ไว้ที่ร้อยละ 0.2 จากการประเมินว่ากิจกรรมในภาคบริการและอุตสาหกรรมจะปรับตัวขึ้น เมื่อพิจารณาจากผลสำรวจความเชื่อมั่นของผู้บริโภคในภาคธุรกิจ

- กระทรวงพาณิชย์สหรัฐฯ เปิดเผยว่า สต๊อคสินค้าภาคค้าส่งเดือนเมษายนปรับตัวขึ้นร้อยละ 1.1 หลังจากเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.1 เช่นกันในเดือนมีนาคม ซึ่งสนับสนุนมุมมองที่ว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯ อาจขยายตัวเร็วขึ้นในไตรมาส 2

4. อัตราแลกเปลี่ยน
- เงินบาทอยู่ที่ 32.48 บาทต่อดอลล่าร์สหรัฐ อ่อนค่าลง 0.02 บาทต่อดอลล่าร์สหรัฐ

- เงินเยนอยู่ที่ 102.33 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ แข็งค่าขึ้น 0.07 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ

5.   ราคาน้ำมัน
 
- สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาด Nymex ส่งมอบเดือนกรกฎาคม ปิดตลาดที่ 104.35 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล ลดลง 0.60 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล เนื่องจากมีสัญญาบ่งชี้ว่าสถานการณ์ตึงเครียดในยูเครนเริ่มคลี่คลายลง หลังจากกระทรวงต่างประเทศยูเครนเปิดเผยการเจรจากับรัสเซียมีความคืบหน้ามาก ขึ้น
 

6.   การเก็งกำไร- ราคา ตลาด TOCOM ส่งมอบเดือนกรกฎาคม อยู่ที่ 188.4 เยนต่อกิโลกรัม เพิ่มขึ้น 0.9 เยนต่อกิโลกรัม และส่งมอบเดือนพฤศจิกายน อยู่ที่ 197.3 เยนต่อกิโลกรัม เพิ่มขึ้น 1.0 เยนต่อกิโลกรัม

- ราคาตลาด SICOM เปิดตลาดที่ 207.0 เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม เพิ่มขึ้น 2.0 เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม

7. ข่าว
 
- กระทรวง แรงงานสหรัฐฯ เปิดเผยตำแหน่งว่างงานที่เปิดรับสมัครโดยสถานประกอบการในสหรัฐฯ ปรับตัวขึ้น 289,000 ตำแหน่ง อยู่ที่ 4.46 ล้านตำแหน่งในเดือนเมษายน จาก 4.17 ล้านตำแหน่งในเดือนมีนาคม แตะระดับสูงสุดนับตั้งแต่เดือนกันยายน 2550 เนื่องจากนายหน้าต้องการแรงงานเพิ่มมากขึ้น เพื่อช่วยจัดการกับอุปสงค์ที่เพิ่มขึ้น ในขณะที่เศรษฐกิจปรับตัวขึ้นอย่างต่อเนื่อง
- สแตนดาร์ด แอนด์ พัวร์ (S&P) รายงานยอดจำหน่ายบ้านในจีนมีแนวโน้มจะปรับตัวเพิ่มขึ้นในช่วงครึ่งหลังของปี นี้ และคาดว่าปี 2557 จะขยายตัวร้อยละ 10.0

- แหล่งข่าวเปิดเผยว่า ธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ.) มีแนวโน้มคงนโยบายและประเมินเศรษฐกิจของประเทศไว้เช่นเดิมในการประชุมวันที่ 12 - 13 มิถุนายน 2557 ขณะที่แหล่งข่าวระบุว่า BOJ. เชื่อว่าการปรับขึ้นภาษีบริโภคตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2557 ทำให้เกิดปัจจัยลบบางประการ แต่ผลกระทบที่มีต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจเกิดขึ้นในวงจำกัด

8. ข้อคิดเห็นของ ผู้ประกอบการ
 
- ราคายางปรับตัวสูงขึ้นตามตลาดต่างประเทศที่ดีขึ้น และผลผลิตที่ออกสู่ตลาดน้อย ผู้ประกอบการหลายรายยังมีความต้องการซื้อเพื่อเก็บสต๊อค เพราะคาดว่าราคาจะค่อย ๆ ปรับตัวดีขึ้น หากผลผลิตยังคงออกสู่ตลาดไม่เต็มที่ โดยเฉพาะยางแผ่นดิบมีค่อนข้างน้อย ขณะที่ยางแท่งมีผลผลิตมาก ราคาจึงไม่ค่อยขยับ

 
แนวโน้มราคา ยางมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้นในทิศทางเดียวกับตลาดล่วงหน้าโตเกียว เพราะนักลงทุนได้รับแรงกระตุ้นจากกระแสข่าวเชิงบวกด้านข้อมูลเศรษฐกิจที่สด ใสของจีน สหรัฐฯ และญี่ปุ่น รวมทั้งยอดจำหน่ายรถยนต์ในจีนปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 13 ในเดือนพฤษภาคม สะท้อนให้เห็นว่าการใช้ยางของจีนยังคงแข็งแกร่ง นอกจากนี้ราคายางยังมีปัจจัยหนุนจากการชะลอการระบายสต๊อคยางของรัฐบาลไทย และอินโดนีเซียเริ่มเข้าสู่ฤดูยางผลัดใบ ขณะที่ผลผลิตยางในไทยยังออกสู่ตลาดไม่เต็มที่ อย่างไรก็ตาม จากการที่ธนาคารโลกปรับลดคาดการณ์การขยายตัวของเศรษฐกิจโลกมาอยู่ที่ร้อยละ 2.8 จากเดิมที่ร้อยละ 3.2 อาจสร้างแรงกดดันให้ราคายางเคลื่อนไหวอยู่ในกรอบจำกัด
                          คณะทำงานวิเคราะห์สถานการณ์ตลาดและราคายาง  สำนักงานตลาดกลางยางพาราสงขลา


« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มิถุนายน 11, 2014, 12:05:50 PM โดย Rakayang.Com »