วิเคราะห์ |
1. สภาพภูมิอากาศ | - ภาคใต้ ฝั่งตะวันออก มีเมฆเป็นส่วนมาก โดยมีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆ ร้อยละ 20 ของพื้นที่ ส่วนมากบริเวณ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร และสุราษฎร์ธานี ส่วนภาคใต้ฝั่งตะวันตก มีเมฆมากกับมีฝนฟ้าคะนองกระจาย ร้อยละ 40 ของพื้นที่ ส่วนมากบริเวณจังหวัดภูเก็ต กระบี่ ตรัง และสตูล |
2. การใช้ยาง | - สยามดีลเลอร์ยานยนต์ญี่ปุ่นเปิดเผยว่า ยอดจำหน่ายรถใหม่ในญี่ปุ่นเดือนเมษายนลดลงร้อยละ 11.4 อยู่ที่ 188,864 คัน เป็นสถิติที่ลดลงครั้งแรกในรอบ 8 เดือน ส่วนหนึ่งมาจากอุปสงค์ที่ลดลงหลังจากมีการปรับภาษีการค้าเมื่อวันที่ 1 เมษายน 2557- นายวุฒิกร สุริยะฉันทนานนท์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่อาวุโส บริษัทโตโยต้ามอร์เตอร์ ประเทศไทย จำกัด เผยว่าตลาดรถยนต์เดือนเมษายนมีแนวโน้มทรงตัว จากดัชนีการจำหน่ายขายามฤดูกาลชี้ว่าให้เห็นว่าเดือนเมษายนจะมียอดจำหน่ายน้อยที่สุดในไตรมาส 2 เนื่องจากผู้บริโภคใช้สอยไปกับการเดินทางท่องเที่ยวมากกว่าใช้จ่ายด้านอื่น |
3. สต๊อคยาง | - สต๊อคยางญี่ปุ่น ณ วันที่ 20 เมษายน 2557 ลดลง 259 ตัน หรือลดลงร้อยละ 1.31 อยู่ที่ 19,509 ตัน จากระดับ 19,768 ตัน เมื่อวันที่ 10 เมษายน 2557 |
4.เศรษฐกิจโลก | - สหพันธ์พลาธิการและการจัดซื้อของจีน (CFLP) เปิดเผว่า ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตเดือนเมษายนขยายตัวแตะ 50.4 จากเดือนมีนาคมที่ 50.3 ต่ำกว่าคาดการณ์ที่ 50.5 เป็นการตอกย้ำให้เห็นถึงภาวะอ่อนตัวของเศรษฐกิจจีน - สหพันธ์พลาธิการและการจัดซื้อของจีน (CFLP) เปิดเผยว่า ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตเดือนเมษายนขยายตัวแตะ 50.4 จุด จากเดือนมีนาคมที่ 50.3 จุด ต่ำกว่าการคาดการณ์ของตลาด เป็นการตอกย้ำให้เห็นถึงภาวะอ่อนตัวของเศรษฐกิจจีน - กระทรวงกิจการภายในและการสื่อสารของญี่ปุ่นเปิดเผยว่า ค่าใช้จ่ายโดยเฉลี่ย ภาคครัวเรือนญี่ปุ่นเดือนมีนาคมปรับขึ้นสู่อัตราสูงสุดในรอบ 39 ปี โดยได้ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.2 จากปีก่อนหน้า แตะ 345,443 เยน ก่อนการปรับเพิ่มภาษีบริโภคครั้งแรกในรอบ 17 ปี เมื่อวันที่ 1 เมษายน 2557 อย่างไรก็ตาม รายได้เฉลี่ยรายเดือนของครอบครัวที่มีรายได้จากเงินเดือนอยู่ที่ 438,145 เยน ลดลงร้อยละ 3.3 ทั้งนี้ค่าใช้จ่ายภาคครัวเรือนนับเป็นดัชนีชี้วัดที่สำคัญในส่วนของการบริโภคของภาคเอกชน ซึ่งคิดเป็นสัดส่วนประมาณร้อยละ 60 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ของญี่ปุ่น - ผลการสำรวจของสถาบันจัดการด้านอุปทานของสหรัฐ (ISM) พบว่า กิจกรรมทางเศรษฐกิจภาคการผลิตของสหรัฐฯ ยังคงขยายตัวในอัตราที่สูงกว่าการคาดการณ์ในเดือนเมษายน เนื่องจากการเพิ่มขึ้นอย่างแข็งแกร่งของการจ้างงาน รายงานของ ISM ระบุว่า ดัชนีการผลิตหรือดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) เพิ่มขึ้นแตะ 54.9 จาก 53.7 ในเดือนมีนาคม เป็นการการขยายตัวเป็นเดือนที่ 11 ติดต่อกัน - กระทรวงพาณิชย์สหรัฐฯ รายงานว่า ภาคครัวเรือนของสหรัฐยังคงใช้จ่ายเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในเดือนมีนาคม ขณะที่รายได้ภาคครัวเรือนเพิ่มขึ้นอย่างแข็งแกร่ง พร้อมระบุว่า ดัชนีราคาการใช้จ่ายด้านการบริโภคส่วนบุคคล (PCE) ปรับตัวขึ้นร้อยละ 0.9 ในเดือนมีนาคม หลังจากเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.5 ในเดือนกุมภาพันธ์ โดยการใช้จ่ายได้ฟื้นตัวขึ้นอีกครั้งหลังจากเผชิญกับสภาพอากาศช่วงฤดูหนาวที่เลวร้ายในช่วง 2 เดือนแรกของปีนี้ - มาร์กิต อิโคโนมิคส์ รายงานว่า ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตของอังกฤษเดือนเมษายนขยายตัวขึ้นแตะ 57.3 จากระดับ 55.8 ในเดือนมีนาคม นับเป็นอัตราการขยายตัวที่สูงกว่าการคาดการณ์ เนื่องจากผลผลิตและการส่งออกที่สูงขึ้น |
5. อัตราแลกเปลี่ยน | - เงินบาทอยู่ที่ 32.40 บาทต่อดอลล่าร์สหรัฐ อ่อนค่าลง 0.04 บาทต่อดอลล่าร์สหรัฐ- เงินเยนอยู่ที่ 102.35 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ อ่อนค่าลง 0.09 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ |
6. ราคาน้ำมัน | - สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาด Nymex ส่งมอบเดือนมิถุนายน ปิดตลาดที่ 99.42 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล ลดลง 0.32 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล หลังจากจีนและสหรัฐฯ เปิดเผยข้อมูลเศรษฐกิจที่อ่อนแอ นอกจากนี้ตลาดยังได้รับแรงกดดันจากคาดการณ์ที่ว่าลิเบียอาจจะส่งออกน้ำมันดิบได้มากขึ้น |
7. การเก็งกำไร | - ราคาตลาด TOCOM ส่งมอบเดือนมิถุนายน อยู่ที่ 206.2 เยนต่อกิโลกรัม ลดลง 0.6 เยนต่อกิโลกรัม และส่งมอบเดือนตุลาคม อยู่ที่ 206.2 เยนต่อกิโลกรัม เพิ่มขึ้น 1.0 เยนต่อกิโลกรัม- ราคาตลาด SICOM เปิดตลาดที่ 212.0 เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม ไม่เปลี่ยนแปลง |
8. ข่าว | - คณะกรรมาธิการยุโรปมีมติเห็นขอบในการจัดสรรเงินกู้รอบใหม่ วงเงิน 1 พันล้านยูโร (ประมาณ 1.38 พันล้านดอลล่าร์สหรัฐ) ให้กับยูเครน เพื่อลดความผันผวนทางการคลังและดุลการชำระเงินในระยะใกล้- กระทรวงกิจการภายในและการสื่อสารญี่ปุ่นเปิดเผยว่า อัตราว่างงานเดือนมีนาคม ทรงตัวที่ร้อยละ 3.6 จากเดือนก่อน ขณะที่ตำแหน่งงานว่างปรับตัวเพิ่มขึ้นเป็นเดือนที่ 16 ติดต่อกัน เนื่องจากการฟื้นตัวของผลกำไรในภาคเอกชนได้กระตุ้นให้หลายบริษัทจ้างพนักงานเพิ่ม และมีรายงานระบุว่าจำนวนคนว่างงานเมื่อปรับตามฤดูกาลเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.3 จากเดือนกุมภาพันธ์ อยู่ที่ 2.36 ล้านราย ส่วนจำนวนผู้ที่ลาออกจากงานโดยสมัครใจเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.1 อยู่ที่ 910,000 ราย |
9. ข้อคิดเห็นของ ผู้ประกอบการ | - ราคายางยังคงทรงตัวไม่เปลี่ยนแปลงมากในระยะนี้ เพราะไม่มีปัจจัยทั้งด้านบวกและลบเข้ามากระตุ้นตลาด สต๊อคยางของผู้ประกอบการมีอยู่จำนวนมากที่ยังไม่ได้ขาย เพราะขายออกยากและราคายางที่ปรับลดลงอย่างต่อเนื่อง ทำให้ผู้ซื้อบิดพลิ้วไม่รับมอบยางตามสัญญา ผู้ประกอบการจึงชะลอการซื้อ |