ผู้เขียน หัวข้อ: ค่าปัจจัยผลิตยางบานปลาย  (อ่าน 866 ครั้ง)

Rakayang.Com

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 85812
    • ดูรายละเอียด
ค่าปัจจัยผลิตยางบานปลาย
« เมื่อ: เมษายน 19, 2014, 11:15:42 AM »
ค่าปัจจัยผลิตยางบานปลาย

งบจ่ายปัจจัยการผลิตบานปลาย อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร เล็งชงครม.ของบกลางเพิ่มกว่า 7 พันล้าน จ่ายชาวสวนยางไร่ละ 2,520 บาท ระบุค้างอีกร่วมแสนราย  ยันได้แน่ ไม่ซ้ำรอยโครงการจำนำข้าว  ด้าน ธ.ก.ส. แจงจ่ายไปแล้ว 1.67 หมื่นล้านบาทตามคิว  เผยยังมีใบประทวนค้างจ่าย 4.89 พันล้านบาท  รอสำนักงบฯ โอนให้  ชี้ได้ชัวร์



นายโอฬาร  พิทักษ์ อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร เปิดเผยกับ "ฐานเศรษฐกิจ"  ถึงโครงการแก้ไขปัญหายางพาราทั้งระบบในปี 2557 ว่า จากที่รัฐบาลได้มีมาตรการระยะสั้นก่อนหน้านี้โดยจะให้เงินอุดหนุนแก่เกษตรกรเป็นค่าปัจจัยการผลิต 2,520 บาทต่อไร่ ซึ่งคำนวณแล้วจะช่วยเพิ่มราคายางให้เกษตรกรเพิ่มขึ้นจากราคาตลาดอีกประมาณ 12 บาทต่อกิโลกรัม โดยจำกัดรายละไม่เกิน 25 ไร่ ตามพื้นที่กรีดจริงๆ(ระยะเวลาโครงการกันยายน 2556-31 มีนาคม 2557) ล่าสุดจะต้องเสนอเรื่องเข้าสู่ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.)เพื่อของบกลางเพิ่มกว่า 7 พันล้านบาท เพื่อจ่ายให้ชาวสวนยางอีกร่วมแสนรายซึ่งเป็นพื้นที่ส่วนเกินที่ ครม.มีมติช่วยเหลืออีกรวม 2.44 ล้านไร่
    "ที่สิ้นสุดระยะเวลา 31 มีนาคม นั้นเป็นเงินคำนวณการช่วยเหลือปัจจัยการผลิต 7 เดือน  ต่อพื้นที่ 1 ไร่ ได้ยาง 2 กิโลกรัม ภายใน 1 เดือน กรีด 15 วัน จะได้ยาง 30 กิโลกรัม เปิดกรีด 7 เดือน ดังนั้น 7 เดือน ได้ยาง 30 กิโลกรัมคูณ  7 เดือน รวม 210 กิโลกรัม ในราคากิโลกรัมละ 12 บาท (2,520 บาท/210 กก.) ดังนั้นเมื่อเกษตรกรขายยางในช่วง 7 เดือนเท่ากับชาวสวนยางได้ราคาเพิ่มจากรัฐบาลอีก 12 บาทต่อกิโลกรัม"
    ขณะที่ความคืบหน้าการตรวจสอบแปลงปลูกสวนยางเพื่อขึ้นทะเบียนออกใบรับรองเกษตรกรเพื่อจ่ายค่าปัจจัยการผลิตขณะนี้ได้แล้วเสร็จแล้ว และได้ส่งข้อมูลให้ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร หรือ ธ.ก.ส. พร้อมจ่ายเงินให้เกษตรกรแล้วจำนวน 9.4 หมื่นราย จำนวนพื้นที่ 1.7 ล้านแปลง คิดคำนวณเป็นเงินที่จะจ่ายให้เกษตรกรทั้งสิ้น 4.89 พันล้านบาท  กำลังรอส่วนที่เหลือสำนักงบประมาณจะทยอยโอนเงินให้แก่ธ.ก.ส. ซึ่งครม.ได้อนุมัติงบประมาณสำหรับจ่ายค่าปัจจัยการผลิตในโครงการนี้กว่า 2 หมื่นล้านบาท คาดว่าทางกรมจะเร่งตรวจสอบแปลงให้แล้วเสร็จภายในเดือนเมษายน มั่นใจเกษตรกรชาวสวนยางจะได้รับเงินค่าปัจจัยการผลิตจากโครงการช่วยเหลือเกษตรกรชาวสวนยางแน่นอน ทั้งนี้โครงการแก้ไขปัญหายางพาราทั้งระบบในปี 2557 จะสิ้นสุดในเดือนพฤษภาคมนี้
    สำหรับการขึ้นทะเบียนเกษตรกร จำนวน  69 จังหวัด จะแบ่งเป็นภาคกลางมาขึ้นทะเบียนแล้ว จำนวน 127 ครัวเรือน มีพื้นที่เปิดกรีด 2.9 พันไร่ ภาคตะวันตก มีจำนวนเกษตรกรมาขึ้นทะเบียน จำนวน 1.2 หมื่นครัวเรือน มีพื้นที่เปิดกรีด  2.9 แสนไร่ ภาคตะวันออก มีเกษตรกรมาขึ้นทะเบียน จำนวน 6.9 หมื่นครัวเรือน มีพื้นที่เปิดกรีด 1.3 ล้านไร่ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีเกษตรกรมาขึ้นทะเบียน จำนวน  3.8 แสนครัวเรือน มีพื้นที่เปิดกรีด 3.9 ล้านไร่  ภาคใต้ มีเกษตรกรมาขึ้นทะเบียน จำนวน 6.5 แสนครัวเรือน มีพื้นที่เปิดกรีด 9.3 ล้านไร่  และภาคเหนือ มีเกษตรกรมาขึ้นทะเบียน จำนวน 7.6 หมื่นครัวเรือน มีพื้นที่เปิดกรีด จำนวน 6.3 แสนไร่
    นอกจากนี้ยังพบว่า  มีจำนวนชาวสวน 3.3 แสนครัวเรือน มีพื้นที่ 5.7 แสนไร่ นั้นไม่มีเอกสารสิทธิที่ดินที่เป็นที่ยอมรับของกรมป่าไม้ 46 รายการ อาทิ  เอกสาร ภ.บ.ท.  6 หรืออยู่ในพื้นที่อุทยาน เป็นต้น ไม่ได้รับเงินช่วยเหลือ ตามที่คณะกรรมการนโยบายยางธรรมชาติ (กนย.) ที่มีนายกิตติรัตน์  ณ ระนอง รักษาการรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เป็นประธานเป็นผู้เสนอ และมีมติ ครม.รับรอง เมื่อวันที่ 10 กันยายน 2556  ลำดับที่ 1 เป็นภาคอีสาน จำนวน 2.4 แสนแปลง 2. ภาคใต้ จำนวน 2.04 แสนแปลง 3. ภาคเหนือ จำนวน 8.8 หมื่นแปลง  4. ภาคตะวันออก จำนวน 3.09 หมื่นแปลง  5. ภาคตะวันตก จำนวน 1.04 หมื่นแปลง และสุดท้ายภาคกลาง จำนวน 100 แปลง
    อย่างไรก็ดีจากการตรวจสอบข้อมูลการตัดยอด ณ วันที่ 3 เมษายน 2557 พบว่า ทาง  ธ.ก.ส. ต้องจ่ายเงินอุดหนุนในโครงการแก้ไขปัญหายางพาราทั้งระบบปี 2557 มาตรการระยะสั้น ลำดับสูงสุด เป็นภาคใต้  จำนวน 1.3 หมื่นล้านบาท รองลงมาเป็นภาคตะวันออกเฉียงเหนือ  5.49 พันล้านบาท  ลำดับที่ 3 ภาคตะวันออก 1.6 พันล้านบาท 4. ภาคเหนือ 463 ล้านบาท 5. ภาคตะวันตก 268 ล้านบาท และภาคกลาง 2.1 ล้านบาท
    ด้านนายวิทูร วัชชพันธ์ ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการบริหารสินเชื่อเกษตรแห่งชาติ ธ.ก.ส. กล่าวว่า ณ วันที่ 3 เมษายน 2557 ทางธ.ก.ส.ได้จ่ายเงินค่าปัจจัยการผลิตให้ชาวสวนยางไปแล้ว 1.67 หมื่นล้านบาท จำนวน  6.03 แสนคน ขณะนี้กำลังรอสำนักงบประมาณทยอยจ่ายมาเรื่อย ๆ จะได้ตามคิวใบประทวนที่ทางกรมส่งเสริมการเกษตรส่งมาให้ โดย รับรองว่าไม่มีการลัดคิว หรือมีการจ่ายใต้โต๊ะแน่นอน จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 34 ฉบับที่ 2,938 วันที่ 10 - 12 เมษายน พ.ศ. 2557