ผู้เขียน หัวข้อ: อุปสรรคข้อก.ม.-เลือกตั้ง2ก.พ.ส่อวุ่น  (อ่าน 724 ครั้ง)

Rakayang.Com

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 84889
    • ดูรายละเอียด
อุปสรรคข้อก.ม.-เลือกตั้ง2ก.พ.ส่อวุ่น
« เมื่อ: กุมภาพันธ์ 04, 2014, 06:45:54 AM »

วันที่ 4 กุม???าพันธ์ 2557 00:01
อุปสรรคข้อก.ม.-เลือกตั้ง2ก.พ.ส่อวุ่น


โดย : โอ???าส บุญล้อม


เลือกตั้ง 2 ก.พ.ยังมีปัญหาอุปสรรคข้อกฎหมาย กรณีวันเลือกตั้งตามรัฐธรรมนูญมาตรา108 ต้องกำหนดเป็นวันเดียวทั่วราชอาณาจักรต้องตีความกัน


ผ่านไปแล้วสำหรับการเลือกตั้งทั่วไปวันที่ 2 ก.พ. 57 ปรากฏว่ามีถึง 28 เขต 8 จังหวัดที่ไม่มีผู้สมัครรับเลือกตั้ง และมี 69 เขตเลือกตั้งที่ลงคะแนนไม่ได้ นอกจากนั้นยังมีผู้ลงทะเบียนเลือกตั้งล่วงหน้านอกเขตเมื่อวันที่ 26 มกราคมที่ผ่านมาอีกประมาณ 2 ล้านคนที่ยังไม่สามารถใช้สิทธิลงคะแนนได้ซึ่ง กกต. กำหนดคร่าวๆว่าจะมีการเลือกตั้งล่วงหน้ารอบใหม่ในวันที่ 23 ก.พ.นี้


และเนื่องจากการเลือกตั้งครั้งนี้เกิดขึ้นท่ามกลางส???าพปัญหาความขัดแย้งทางการเมือง ทำให้การเลือกตั้งครั้งมีปัญหา"ข้อกฎหมาย " ตามมา "เครือเนชั่น" ได้ทำการรวบรวมประเด็น"ข้อกฎหมาย"ที่จะเกิดขึ้นหลังการเลือกตั้งครั้งนี้ มีดังนี้


1. การเลือกตั้งเป็นโมฆะหรือไม่เนื่องจากไม่สามารถจัดการเลือกตั้งทั่วไปในวันเดียวกัน กรณีนี้จะเกี่ยวข้องกับมาตรา 108 ของรัฐธรรมนูญ ที่ระบุว่า การเลือกตั้งทั่วไป "วันเลือกตั้ง" ต้องกำหนดเป็นวันเดียวกันทั่วราชอาณาจักร


สำหรับการเลือกตั้งครั้งนี้ ได้มีพระราชกฤษฎีกาฯกำหนดวันเลือกตั้งทั่วไป คือวันที่ 2 ก.พ. 57 แต่เนื่องจากการจัดการเลือกตั้งไม่สามารถดำเนินการให้เสร็จสิ้นได้???ายในวันเดียว เพราะมีทั้งเขตเลือกตั้งที่ไม่มีผู้สมัคร และเขตเลือกตั้งที่ลงคะแนนไม่ได้ จึงต้องมีการจัดการเลือกตั้งรอบใหม่ขึ้นในเขตเลือกตั้งที่มีปัญหาซึ่งเป็น"คนละวัน"กับวันที่ 2 ก.พ. 57 จึงมีคนเห็นว่าน่าจะเป็นโมฆะเพราะขัดต่อมาตรา 108 ของรัฐธรรมนูญ อย่างพรรคประชาธิปัตย์ ก็ได้หยิบยกประเด็นนี้ขึ้นมายื่นต่อผู้ตรวจการแผ่นดินเพื่อให้ส่งต่อศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย


สำหรับกรณี 28 เขต 8 จังหวัด ที่ไม่มีผู้สมัครรับเลือกตั้ง ที่ผ่านมายังไม่เคยเกิดปัญหากรณีนี้มาก่อน กกต. กำลังประชุมกันว่า จะใช้วิธีให้นายกฯนำความกราบบังคมทูลเพื่อออกเป็นพระราชกฤษฎีกากำหนด"วันเลือกตั้งใหม่" หรือใช้อำนาจตามมาตรา 78 พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส. พ.ศ. 2550 ที่ให้อำนาจ กกต. ประกาศ "วันลงคะแนนเลือกตั้งใหม่ " กรณีเกิดเหตุสุดวิสัยหรือจำเป็นทำให้ลงคะแนนเลือกตั้งไม่ได้


ส่วนกรณี 69 เขตเลือกตั้งที่ลงคะแนนไม่ได้ กกต. ก็กำลังประชุมหาทางออกอยู่เช่นกัน ซึ่งกรณีนี้ กกต.น่าจะใช้มาตรา 78 พ.ร.บ. เลือกตั้ง ส.ส. ฯได้ เพราะที่ผ่าน กกต. ก็เคยใช้มาตรา 78 ออกประกาศให้มีการลงคะแนนเลือกตั้งใหม่ในหน่วยเลือกตั้งที่ไม่สามารถลงคะแนนได้ในวันเลือกตั้งเนื่องจากในหน่วยเลือกตั้งนั้นเกิดเหตุน้ำท่วม เป็นต้น


ส่วนประเด็นที่มีการอ้างว่า เมื่อการเลือกตั้งทั่วไป ไม่ใช่วันเดียวกันจึงเป็นโมฆะนั้น ทาง กกต. และบางฝ่ายเห็นว่า หากเกิดกรณีจำเป็นหรือมีเหตุสุดวิสัย ก็สามารถจัดการเลือกตั้งทั่วไป"คนละวัน"ได้ ไม่ทำให้การเลือกตั้งทั่วไปเป็นโมฆะ ซึ่งประเด็นนี้สุดท้ายคงต้องรอ "ศาลรัฐธรรมนูญ"วินิจฉัยเป็นบรรทัดฐานต่อไป


2. การเลือกตั้งเป็นโมฆะหรือไม่ เนื่องจากมีการจัดการ"เลือกตั้งล่วงหน้า"หลัง"วันเลือกตั้งจริง 2 ก.พ. 57 "


สืบเนื่องจากการเลือกตั้งครั้งนี้ มีผู้ลงทะเบียนเลือกตั้งล่วงหน้านอกเขตเมื่อวันที่ 26 มกราคมที่ผ่านมาประมาณ 2 ล้านคนที่ยังไม่สามารถใช้สิทธิลงคะแนนได้ ซึ่ง กกต. กำหนดคร่าวๆว่าจะมีการเลือกตั้งล่วงหน้ารอบใหม่ในวันที่ 23 ก.พ.นี้


ทำให้มีบางฝ่ายมองว่าน่าจะส่งผลให้การเลือกตั้งทั่วไปในครั้งนี้ "โมฆะ"ไปด้วย เพราะว่า มาตรา 8 พ.ร.บ. เลือกตั้ง ส.ส.ฯระบุว่า การเลือกตั้งทั่วไปต้องเป็นไปโดยสุจริตและเที่ยงธรรม การที่ไปจัดการเลือกตั้งล่วงหน้าหลัง "วันเลือกตั้งจริง" คือ 2 ก.พ. 57 ทำให้เกิดการ "ชี้นำ "และส่งผลต่อการลงคะแนนเลือกตั้งล่วงหน้าที่เกิดขึ้น???ายหลังได้ ซึ่งทำให้การเลือกตั้งไม่เป็นไปโดยสุจริตและเที่ยงธรรมได้


และยังมีอีกประเด็นหนึ่งที่มีการมองว่า " การเลือกตั้งล่วงหน้า " ที่จัดให้มีขึ้นหลัง"วันเลือกตั้งจริง"นั้น ส่งผลให้การเลือกตั้งเป็นโมฆะ เพราะว่าบัตรลงคะแนนเลือกตั้งล่วงหน้า ตามกฎหมายต้องนำมานับ"ในวันเลือกตั้งจริง" คือ 2 ก.พ. 57 ดังนั้นการนับบัตรลงคะแนนเลือกตั้งล่วงหน้า???ายหลังวันเลือกตั้งจริง ส่งผลให้บัตรลงคะแนนเลือกตั้งล่วงหน้าเป็น "บัตรเสีย" เท่ากับทำให้คนเสียสิทธิถึง 2 ต่อ คือ ครั้งแรกเสียสิทธิที่ไม่สามารถลงคะแนนเลือกตั้งล่วงหน้าได้ และครั้งที่สองเสียสิทธิที่เป็นบัตรเสีย และยังขัดต่อหลัก "ความเสมอ???าค"ที่รัฐธรรมนูญมาตรา 30 บัญญัติคุ้มครองว่าทุกคนมีความเสมอ???าคกันทางกฎหมาย


แต่ กกต. กลับมองว่า การเลือกตั้งนอกเขตเลือกตั้งหรือในเขตเลือกตั้งก่อนวันเลือกตั้งจริงนั้น เป็นเพียงวิธีการอำนวยความสะดวกให้กับผู้ที่ไม่สะดวกที่จะไปลงคะแนนในวันเลือกตั้งจริง เช่น อาจติด???ารกิจงาน ในวันเลือกตั้ง เป็นต้น ก็สามารถลงทะเบียนขอใช้สิทธิลงคะแนนก่อนวันเลือกตั้งจริงได้ อีกทั้งกฎหมายไม่ได้ใช้คำว่า "เลือกตั้งล่วงหน้า" แต่ใช้คำว่า "เลือกตั้งนอกเขตหรือในเขตเลือกตั้งซึ่งอาจมีขึ้นก่อนวันเลือกตั้งจริง" ดังนั้นเมื่อการเลือกตั้งครั้งนี้ มีผู้ไม่สามาถใช้สิทธิฯดังกล่าวก่อนวันเลือกตั้งจริง เป็นจำนวนมาก กกต. ก็สามารถจัดการเลือกตั้งล่วงหน้า ???ายหลังวันเลือกตั้งจริงได้ เพื่ออำนวยความสะดวกให้คนได้ใช้สิทธิเลือกตั้ง


3. การสิ้นส???าพของพรรคการเมือง เนื่องจากมาตรา 91 ( 2 ) พ.ร.บ. พรรคการเมือง พ.ศ. 2550 บัญญัติว่า พรรคการเมืองที่ไม่ส่งผู้สมัครรับเลือกตั้งฯในการเลือกตั้งทั่วไป 2 ครั้งติดต่อกันหรือเป็นเวลา 8 ปี ติดต่อกัน สุดแต่ระยะเวลาใดจะยาวกว่ากัน นายทะเบียนพรรคการเมืองสามารถสั่งให้สิ้นส???าพความเป็นพรรคการเมืองได้


เรื่องนี้ ทำให้มีคนหยิบยกกรณี "พรรคประชาธิปัตย์ " ที่ไม่ส่งผู้สมัครรับเลือกตั้งในการเลือกตั้งทั่วไปครั้งนี้ว่า หากมีการเลือกตั้งทั่วไปครั้งหน้าเกิดขึ้นแล้ว "พรรคประชาธิปัตย์" ไม่ส่งผู้สมัครรับเลือกตั้งอีกครั้ง พรรคประชาธิปัตย์จะถูกสั่งให้สิ้นส???าพความเป็นพรรคการเมืองหรือไม่


ทั้งนี้กรณีพรรคการเมืองไม่ส่งผู้สมัครรับเลือกตั้งในการเลือกตั้งทั่วไป 2 ครั้งติดต่อกัน ที่ผ่านมายังไม่เคยมีเรื่องเข้าสู่ กกต.


ประเด็นนี้จึงมีการถกเถียงกันว่า พรรคการเมืองที่ไม่ส่งผู้สมัครลงรับเลือกตั้ง 2 ครั้งติดต่อกัน ต้องมีระยะเวลาในการไม่ส่งผู้สมัครเป็นเวลา 8 ปีติดต่อกันด้วยหรือไม่


บางฝ่ายบอกว่า แค่พรรคการเมืองใดไม่ส่งผู้สมัครฯ 2 ครั้งติดต่อกันแม้ไม่ถึงเวลา 8 ปีติดต่อกัน ก็สิ้นส???าพพรรคการเมืองแล้ว


แต่อีกฝ่ายเห็นว่า ต้องยึดถือเอาระยะเวลา 8 ปี ติดต่อกัน หมายความว่า แม้พรรคการเมืองใดไม่ส่งผู้สมัครฯ 2 ครั้งติดต่อกันหรือมากกว่า 2 ครั้งด้วยซ้ำ แต่เมื่อนับระยะเวลายังไม่ถึง 8 ปีติดต่อกัน ก็ไม่สิ้นส???าพพรรคการเมือง เนื่องจากส???าพการเมืองไทยเรามีการยุบส???าฯ เลือกตั้งอยู่บ่อยครั้ง จึงต้องคำนึงถึงความพร้อมของพรรคการเมืองด้วยและยังเป็นการส่งเสริมให้พรรคการเมืองไม่ต้องถูกสั่งให้สิ้นส???าพง่ายๆ อีกทั้งหากดูตามตัวอักษร กฎหมายใช้คำว่า "สุดแต่ระยะเวลาใดจะยาวกว่ากัน" จึงต้องยึดถือ "ระยะเวลาที่ยาว"เป็นหลัก


และจากการตรวจสอบเรื่องนี้กับทาง กกต. แนวโน้ม กกต. จะยึดว่า พรรคการเมืองใดจะสิ้นส???าพต้องไม่ส่งผู้สมัครรับเลือกตั้งในการเลือกตั้งทั่วไปเป็นเวลา 8 ปีติดต่อกันขึ้นไป