ผู้เขียน หัวข้อ: อัตราเงินฝืดจีนพุ่ง กดดันรัฐบาลเร่งออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ  (อ่าน 229 ครั้ง)

Rakayang.Com

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 85915
    • ดูรายละเอียด

อัตราเงินฝืดจีนพุ่ง กดดันรัฐบาลเร่งออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ

18 ชม. ? อ่าน 1 นาที
? Matichon

อัตราเงินเฟ้อของผู้บริโภคในจีนลดลงอย่างผิดคาดเมื่อเดือนกันยายนที่ผ่านมา ในขณะที่อัตราเงินฝืดของผู้ผลิตเพิ่มสูงขึ้น ส่งผลให้รัฐบาลจีนได้รับแรงกดดันที่เพิ่มขึ้นในการออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ เพื่อฟื้นฟูจากสภาวะเศรษฐกิจซบเซาและรับมือกับความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจด้วย

นายหลัน ฝูอัน รัฐมนตรีคลังจีน แถลงเมื่อวันที่ 12 ตุลาคมว่า จีนจะออกมาตรการเพื่อส่งเสริมเสถียรภาพเศรษฐกิจเพิ่มเติมในปีนี้ แต่ไม่ได้มีการเปิดเผยรายละเอียดเรื่องจำนวนหรือระยะเวลาในการกระตุ้นเศรษฐกิจออกมา โดยนักลงทุนหวังว่ามาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลจะช่วยบรรเทาภาวะเงินฝืดในจีน ซึ่งมีเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับ 2 ของโลก

ข้อมูลจากสำนักงานสถิติแห่งชาติ (NBS) ที่เผยแพร่เมื่อวันที่ 13 ตุลาคมแสดงให้เห็นว่า ดัชนีราคาผู้บริโภคเพิ่มขึ้น 0.4% จากเดือนกันยายน 2023 ซึ่งถือว่าเติบโตช้าที่สุดในรอบ 3 เดือน เมื่อเทียบกับตัวเลขในเดือนสิงหาคมที่เพิ่มขึ้น 0.6% อีกทั้ง ตัวเลขนี้ยังต่ำกว่าการคาดการณ์ของนักเศรษฐศาสตร์ถึง 0.6% ด้วย

ในขณะที่ ดัชนีราคาผู้ผลิตลดลงในอัตราที่เร็วที่สุดในรอบ 6 เดือน ที่ 2.8% เมื่อเทียบกับตัวเลขเมื่อเดือนกันยายนปี 2023 และลดลง 1.8% ในเดือนก่อนหน้า ซึ่งต่ำกว่าการคาดการณ์ที่คาดว่าจะลดลง 2.5%

ผู้เชี่ยวชาญรายหนึ่งระบุว่า จีนเผชิญกับแรงกดดันด้านเงินฝืดอย่างต่อเนื่อง สืบเนื่องมาจากอุปสงค์ภายในประเทศที่อ่อนแอ ทั้งนี้ ท่าทีของทางรัฐบาลที่จะเปลี่ยนแปลงนโยบายเพื่อรับมือกับสถานการณ์ทางเศรษฐกิจจะช่วยแก้ไขปัญหาเหล่านี้ได้

ในช่วงหลายสัปดาห์ที่ผ่านมา รัฐบาลจีนได้พยายามกระตุ้นเศรษฐกิจเพื่อเพิ่มอุปสงค์ของผู้บริโภคและเพื่อทำให้เศรษฐกิจเติบโตให้ได้ 5.0% ในปีนี้ ทั้งนี้ นักวิเคราะห์หลายรายชี้ว่ามาตรการที่ออกมาโดยรัฐบาลนั้นจะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจได้แค่ชั่วคราว และต้องการมาตรการที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น ไม่เช่นนั้นการลดลงของอุปสงค์จะลากยาวไปจนถึงปีหน้า

เมื่อปลายเดือนกันยายน ธนาคารกลางของจีนประกาศมาตรการสนับสนุนทางการเงินครั้งใหญ่ที่สุด ตั้งแต่การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ซึ่งรวมถึงมาตรการเพื่อช่วยดึงภาคอสังหาริมทรัพย์ออกจากภาวะการตกต่ำอย่างรุนแรงที่ดำเนินมายาวนานหลายปี และการลดอัตราดอกเบี้ยสำหรับการกู้เงินเพื่อซื้อบ้าน

อย่างไรก็ดี นักวิเคราะห์เน้นย้ำว่า รัฐบาลจีนจำเป็นต้องแก้ไขปัญหาในเชิงโครงสร้าง เช่น อุตสาหกรรมการผลิตที่เกินความต้องการ และพฤติกรรมการบริโภคที่ชะลอตัว อีกทั้ง การลงทุนภายในประเทศที่มากเกินไปและอุปสงค์ที่ต่ำ ทำให้ราคาสินค้าลดลง ซึ่งบังคับให้ผู้ประกอบการต้องลดค่าแรงลูกจ้างและไล่คนงานออกเพื่อลดต้นทุน ส่งผลให้ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคลดลงตามกันไปด้วย