ผู้เขียน หัวข้อ: ?เงินบาท? แข็งค่า จ่อหลุด 34 บาท จับสัญญาณเตือนจุดระวัง ?ทุบส่งออก?  (อ่าน 186 ครั้ง)

Rakayang.Com

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 84322
    • ดูรายละเอียด

?เงินบาท? แข็งค่า จ่อหลุด 34 บาท จับสัญญาณเตือนจุดระวัง ?ทุบส่งออก?

เงินบาทวานนี้ (20 ส.ค.67) เคลื่อนไหวในกรอบ sideways แถวระดับ 34.30 บาทต่อดอลลาร์ ก่อนที่จะกลับมาแข็งค่าขึ้น ?เร็วและต่อเนื่อง? ในช่วงบ่ายใกล้ระดับ 1% หลังราคาทองคำปรับตัวขึ้นทำจุดสูงสุดใหม่ พร้อมการอ่อนค่าลงของเงินดอลลาร์

"เงินบาท"วานนี้ ปิด 34.19 บาทต่อดอลลาร์ หรือแข็งค่าขึ้นราว 0.23 บาท คิดเป็น 0.67% จากระดับเปิด 34.36 บาทต่อดอลลาร์ ระหว่างวัน"เงินบาทแข็งค่า"สูงสุดที่ 34.16 บาทต่อดอลลาร์ และอ่อนค่าสูงสุดที่ 34.40 บาทต่อดอลลาร์

ตลาดการเงินในประเทศพบธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) มีการเข้ามาดูแลเงินบาทบ้างเป็นระยะๆ เพื่อไม่ให้เงินบาทแข็งค่าเกินไปโดยการแข็งค่าของเงินบาทยังคงสอดคล้องกับสกุลเงินอื่นๆ ในภูมิภาค (หยวนจีน อินโดรูเปียะห์ สิงคโปร์ดอลลาร์) หรือยังไม่ได้แข็งค่าไปมากกว่าคนอื่นจนกระทบต่อความสามารถในการแข่งขันด้านการส่งออก และตั้งแต่ต้นปีมานี้ เงินบาทยังอ่อนค่า -0.11%

?จิติพล พฤกษาเมธานันท์? ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ Head of Global Investment Strategy บล.ฟินันเซีย ไซรัส เปิดเผยว่า การแข็งค่าขึ้นเร็วของเงินบาทในขณะนี้ ยังไม่น่ากังวลมาก เพราะเทียบแล้วยังอ่อนค่าลงเท่ากับช่วงต้นปี

แต่จุดที่ต้องระวังคือ ?ความเร็ว? ถ้าไม่ช่วยดูแลผู้ประกอบการ อาจปรับตัวไม่ทัน และจุดอ่อนสำคัญคือ การคงดอกเบี้ยไทย หากสวนทางธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ลดดอกเบี้ยยิ่งเพิ่มโอกาสเห็น เงินบาทแข็งค่าหลุด 34 บาทต่อดอลลาร์

แนะนำ ผู้ส่งออกขาย Spot ขณะที่ผู้นำเข้าปิด Forward ได้ทันทีเนื่องจากปลายปีนี้ มองว่า ความเสี่ยงบาทผันผวนฝั่งอ่อนค่ายังมีอยู่ หากเราลดดอกเบี้ย และประเด็นการเมืองในประเทศกลับมาเป็นความเสี่ยงเพิ่มเติม

?รุ่ง สงวนเรือง? ผู้อำนวยการอาวุโส สายงานวางแผนโกลบอลมาร์เก็ตส์ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) คาดว่า วันนี้ กนง. จะคงดอกเบี้ยไว้ที่ 2.50% ด้วยมติไม่เป็นเอกฉันท์ ด้วยปัจจัยดังนี้

1.แนวโน้มเศรษฐกิจ และเงินเฟ้อไม่ได้เปลี่ยนแปลงไปจากที่ กนง.ประเมินไว้อย่างมีนัยสำคัญ เศรษฐกิจฟื้นตัวตามวัฏจักร

2.มาตรการช่วยเหลือเฉพาะจุดมองว่าในมุม ธปท. อาจต้องการเก็บกระสุนดอกเบี้ยนโยบายไว้หากเกิดวิกฤติในอนาคต ขณะที่กระสุนทางการคลังเหลือน้อย

3.หนี้ครัวเรือนอยู่ระดับสูง และส่วนใหญ่เป็นหนี้ที่ไม่ได้ต่อยอดความมั่งคั่ง สะสมความเปราะบางในระบบหากดอกเบี้ยต่ำเกินไป

ทั้งนี้ หลายสกุลเงินแข็งค่าขึ้น ไม่ใช่เฉพาะเงินบาทเพราะมีปัจจัยร่วมกันคือ ความคาดหวังเฟดลดดอกเบี้ย และเศรษฐกิจสหรัฐ ไม่ hard landing จากภาพรวมสถานการณ์ค่าเงิน กรุงศรี โกลบอลมาร์เก็ตส์ แนะนำผู้ประกอบการฝั่งส่งออก และนำเข้า ?หาจังหวะป้องกันความผันผวนของค่าเงิน?

มอง "ค่าเงินบาท"สร้างฐานใหม่ให้กรอบ 33.75-35.75 บาทต่อดอลลาร์ ในช่วงที่เหลือของปีนี้ แนวโน้มผันผวนสูง ตามการคาดการณ์นโยบายเฟด (เราคาดเฟดเริ่มลดดอกเบี้ยเดือนก.ย. โดยลดครั้งละ 0.25% รวมปีนี้ลด 0.75% และลดต่อเนื่องปีหน้า) และนโยบายด้านการค้าหลังเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐ อีกทั้ง ตลาดจะรอดูความชัดเจนเกี่ยวกับมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจไทยต่อไป

ดังนั้น กรอบค่าเงินบาทไตรมาส 3 ปีนี้ อยู่ที่ 34-35.5 บาทต่อดอลลาร์ และไตรมาส 4 ปีนี้ ที่ 3.75 - 35.75 บาทต่อดอลลาร์





พิสูจน์อักษร....สุรีย์  ศิลาวงษ์