**ดาวโจนส์ปิดพุ่ง 285.18 จุด ขานรับสัญญาณเงินเฟ้อสหรัฐชะลอตัว
ข่าวหุ้น-การเงิน Saturday July 1, 2023 06:23 ?สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)
ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดบวกขึ้นอย่างแข็งแกร่งในวันศุกร์ (30 มิ.ย.) และดัชนี Nasdaq ปรับตัวขึ้นในช่วงครึ่งปีแรกมากที่สุดในรอบ 40 ปี หลังการเปิดเผยข้อมูลเศรษฐกิจบ่งชี้สัญญาณว่า อัตราเงินเฟ้อของสหรัฐชะลอตัวลง ขณะที่หุ้นแอปเปิลปิดตลาดด้วยมูลค่าตลาดสูงถึง 3 ล้านล้านดอลลาร์เป็นครั้งแรก
ทั้งนี้ ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 34,407.60 จุด เพิ่มขึ้น 285.18 จุด หรือ +0.84%, ดัชนี S&P500 ปิดที่ 4,450.38 จุด เพิ่มขึ้น 53.94 จุด หรือ +1.23% และดัชนี Nasdaq ปิดที่ 13,787.92 จุด เพิ่มขึ้น 196.59 จุด หรือ +1.45%
ในรอบสัปดาห์นี้ ดัชนีดาวโจนส์บวก 2.02%, ดัชนี S&P500 เพิ่มขึ้น 2.35% และดัชนี Nasdaq เพิ่มขึ้น 2.20%
ส่วนในรอบไตรมาส 2/2566 ดัชนีดาวโจนส์บวก 3.4%, ดัชนี S&P500 เพิ่มขึ้น 8.3% และดัชนี Nasdaq ปรับตัวขึ้น 12.8%
ดัชนี Nasdaq ทะยานขึ้นมากกว่า 31% ในครึ่งปีแรกซึ่งแข็งแกร่งที่สุดในรอบ 40 ปี และดัชนี Nasdaq 100 ซึ่งประกอบด้วยหุ้นเทคโนโลยีชั้นนำ บวกขึ้นราว 39% ซึ่งเป็นการปรับตัวขึ้นสูงเป็นประวัติการณ์ในช่วงครึ่งปีแรก
หุ้นแอปเปิล อิงค์ พุ่งทะลุ 3 ล้านล้านดอลลาร์เป็นครั้งแรกนับตั้งแต่เดือนม.ค. 2565 โดยปิดตลาดพุ่งขึ้น 2.3% สู่ระดับ 193.97 ดอลลาร์ หลังแตะระดับสูงเป็นประวัติการณ์ที่ 194.48 ดอลลาร์ โดยได้แรงหนุนจากการที่นักลงทุนต้องการซื้อหุ้นเติบโตโดยรวมมากขึ้น และจากการคาดการณ์ที่ว่า แอปเปิ้ลจะประสบความสำเร็จในตลาดใหม่ ๆ
นักลงทุนได้พากันเข้าซื้อหุ้นในวันสุดท้ายของไตรมาส 2 โดยได้แรงหนุนจากสัญญาณบ่งชี้ว่าเงินเฟ้อของสหรัฐชะลอตัวลง หลังกระทรวงพาณิชย์สหรัฐเปิดเผยในวันศุกร์ว่า ดัชนี PCE ทั่วไป ซึ่งรวมหมวดอาหารและพลังงาน ปรับตัวขึ้น 3.8% ในเดือนพ.ค. เมื่อเทียบรายปี จากระดับ 4.3% ในเดือนเม.ย. และเมื่อเทียบรายเดือน ดัชนี PCE ทั่วไป ปรับตัวขึ้น 0.1% ในเดือนพ.ค. จากระดับ 0.4% ในเดือนเม.ย.
ส่วนดัชนี PCE พื้นฐาน ซึ่งไม่นับรวมหมวดอาหารและพลังงาน และเป็นมาตรวัดเงินเฟ้อที่เฟดให้ความสำคัญ ปรับตัวขึ้น 4.6% ในเดือนพ.ค. เมื่อเทียบรายปี ต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ระดับ 4.7% จากระดับ 4.7% ในเดือนเม.ย. และเมื่อเทียบรายเดือน ดัชนี PCE พื้นฐานปรับตัวขึ้น 0.3% สอดคล้องกับตัวเลขคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ จากระดับ 0.4% ในเดือนเม.ย.
ดัชนี PCE ถือเป็นมาตรวัดเงินเฟ้อที่สามารถตรวจจับการเปลี่ยนแปลงในพฤติกรรมของผู้บริโภค และครอบคลุมราคาสินค้าและบริการในวงกว้างมากกว่าดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI)
นอกจากนี้ ตลาดยังได้แรงหนุนจากผลสำรวจของมหาวิทยาลัยมิชิแกนที่บ่งชี้ว่า ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคสหรัฐดีดตัวขึ้นสู่ระดับ 64.4 ในเดือนมิ.ย. ซึ่งเป็นระดับสูงสุดในรอบ 4 เดือน และสูงกว่าตัวเลขคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ที่ระดับ 63.9 จากระดับ 59.2 ในเดือนพ.ค.
หุ้นกลุ่มเติบโตในดัชนี S&P500 ปรับตัวขึ้น 1.4% โดยได้แรงหนุนจากหุ้นแอปเปิ้ล, หุ้นไมโครซอฟท์, หุ้นอินวิเดีย, หุ้นอะเมซอน และหุ้นเมตา แพลตฟอร์มส ซึ่งปรับตัวขึ้นราว 1.6-3.6% โดยทะยานขึ้นอย่างต่อเนื่องหลังเปิดเผยผลประกอบการที่แข็งแกร่งและความสนใจอย่างมากเกี่ยวกับเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI)
หุ้นทั้ง 11 กลุ่มของดัชนี S&P500 ปิดบวก โดยกลุ่มเทคโนโลยีปรับตัวขึ้นมากที่สุด 1.8% และกลุ่มอสังหาริมทรัพย์ปรับตัวขึ้นน้อยที่สุดเพียง 0.5%
หุ้นทุนจดทะเบียนน้อยก็ดึงดูดแรงซื้อด้วยเช่นกัน โดยดัชนี Russell 2000 ปิดบวก 0.4% และปิดบวกเป็นวันที่ 5 ติดต่อกันยาวนานที่สุดนับตั้งแต่การปรับตัวขึ้น 5 วันติดต่อกันซึ่งสิ้นสุดลงเมื่อวันที่ 3 มี.ค.
FedWatch Tool ของ CME Group บ่งชี้ว่า บรรดาเทรดเดอร์คาดว่า มีโอกาส 84.3% ที่ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.25% สู่ระดับ 5.25-5.50% ในการประชุมเดือนก.ค. ซึ่งลดลงเล็กน้อยจากระดับ 89.3% เมื่อวันพฤหัสบดี (29 มิ.ย.)
ความเห็นในเชิงคุมเข้มนโยบายการเงินจากนายเจอโรม พาวเวล ประธานเฟดและการเปิดเผยข้อมูลเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งในต้นสัปดาห์นี้สนับสนุนการคาดการณ์ที่ว่า เฟดจะยังคงปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยต่อไป แต่ตลาดหุ้นได้ปรับตัวรับสัญญาณความแข็งแกร่งของเศรษฐกิจสหรัฐ ขณะที่เงินเฟ้อชะลอตัวลง
สำหรับหุ้นรายตัวอื่น ๆ นั้น หุ้นคาร์นิวัล คอร์ป พุ่งขึ้น 9.7% หลังบริษัทเจฟฟรี่ส์ปรับเพิ่มคำแนะนำลงทุนหุ้นคาร์นิวัลจาก "ถือ" เป็น "ซื้อ"
ส่วนหุ้นไนกี้ อิงค์ ร่วงลง 2.6% สวนทางตลาด หลังคาดการณ์รายได้ไตรมาสแรกต่ำกว่าที่ตลาดคาดการณ์ไว้
**น้ำมัน WTI ปิดบวก 78 เซนต์ สัญญาณเงินเฟ้อสหรัฐชะลอตัวหนุนตลาด
ข่าวต่างประเทศ Saturday July 1, 2023 06:44 ?สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)
สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาดนิวยอร์กปิดบวกในวันศุกร์ (30 มิ.ย.) โดยได้แรงหนุนจากการที่แรงกดดันด้านเงินเฟ้อลดลงในสหรัฐ และนักลงทุนต้องการลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยงมากขึ้น
ทั้งนี้ สัญญาน้ำมันดิบ WTI ส่งมอบเดือนส.ค. เพิ่มขึ้น 78 เซนต์ หรือ 1.12% ปิดที่ 70.64 ดอลลาร์/บาร์เรล
ส่วนสัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ (BRENT) ส่งมอบเดือนส.ค. เพิ่มขึ้น 56 เซนต์ หรือ 0.75% ปิดที่ 74.90 ดอลลาร์/บาร์เรล
ในรอบเดือนมิ.ย. สัญญาน้ำมันดิบ WTI และสัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ ปรับตัวขึ้น 3.8% และ 3.1% ตามลำดับ แต่ในรอบไตรมาส 2 นั้น ราคาลดลง 6.7% และ 6.1% ตามลำดับ
ตลาดน้ำมันได้แรงหนุน หลังกระทรวงพาณิชย์สหรัฐเปิดเผยในวันศุกร์ว่า ดัชนี PCE ทั่วไป ซึ่งรวมหมวดอาหารและพลังงาน ปรับตัวขึ้น 3.8% ในเดือนพ.ค. เมื่อเทียบรายปี จากระดับ 4.3% ในเดือนเม.ย. และเมื่อเทียบรายเดือน ดัชนี PCE ทั่วไป ปรับตัวขึ้น 0.1% ในเดือนพ.ค. จากระดับ 0.4% ในเดือนเม.ย.
ส่วนดัชนี PCE พื้นฐาน ซึ่งไม่นับรวมหมวดอาหารและพลังงาน และเป็นมาตรวัดเงินเฟ้อที่เฟดให้ความสำคัญ ปรับตัวขึ้น 4.6% ในเดือนพ.ค. เมื่อเทียบรายปี ต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ระดับ 4.7% จากระดับ 4.7% ในเดือนเม.ย. และเมื่อเทียบรายเดือน ดัชนี PCE พื้นฐานปรับตัวขึ้น 0.3% สอดคล้องกับตัวเลขคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ จากระดับ 0.4% ในเดือนเม.ย.
ดัชนี PCE ถือเป็นมาตรวัดเงินเฟ้อที่สามารถตรวจจับการเปลี่ยนแปลงในพฤติกรรมของผู้บริโภค และครอบคลุมราคาสินค้าและบริการในวงกว้างมากกว่าดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI)
นอกจากนี้ ตลาดน้ำมันยังได้แรงหนุนจากผลสำรวจของมหาวิทยาลัยมิชิแกนที่บ่งชี้ว่า ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคสหรัฐดีดตัวขึ้นสู่ระดับ 64.4 ในเดือนมิ.ย. ซึ่งเป็นระดับสูงสุดในรอบ 4 เดือน และสูงกว่าตัวเลขคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ที่ระดับ 63.9 จากระดับ 59.2 ในเดือนพ.ค.
สัญญาณเงินเฟ้อที่ชะลอตัวจะลดแรงกดดันต่อธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ที่จะต้องปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยต่อไปในช่วงหลายเดือนข้างหน้า แม้นายเจอโรม พาวเวล ประธานเฟดแสดงความเห็นเมื่อไม่นานมานี้ที่สนับสนุนการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยต่อไปก็ตาม
นายวลาดิมีร์ เซอร์นอฟ นักวิเคราะห์ของเอฟเอ็กซ์ เอ็มไพร์ ซึ่งเป็นบริษัทให้ข้อมูลตลาดเปิดเผยว่า ตลาดน้ำมันปรับตัวขึ้น เนื่องจากนักลงทุนต้องการลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยงมากขึ้น
นายเซอร์นอฟระบุด้วยว่า การอ่อนค่าของดอลลาร์ได้ช่วยหนุนตลาดน้ำมันด้วย โดยดอลลาร์ที่อ่อนค่าทำให้สัญญาน้ำมันดิบที่กำหนดราคาเป็นสกุลเงินดอลลาร์นั้นมีราคาถูกลง และน่าสนใจมากขึ้นสำหรับผู้ถือสกุลเงินอื่น ๆ
ดัชนีดอลลาร์ ซึ่งเป็นดัชนีวัดความเคลื่อนไหวของดอลลาร์เมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก 6 สกุลในตะกร้าเงิน ลดลง 0.42% สู่ระดับ 102.9125
***ภาวะตลาดทองคำนิวยอร์ก: ทองปิดบวก $11.50 ดอลล์อ่อนค่าหนุนแรงซื้อ
ข่าวต่างประเทศ Saturday July 1, 2023 07:05 ?สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)
สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดบวกในวันศุกร์ (30 มิ.ย.) โดยฟื้นตัวขึ้นหลังลดลง 3 วันติดต่อกัน และได้แรงหนุนจากการที่ดอลลาร์อ่อนค่าลงหลังการเปิดเผยข้อมูลเศรษฐกิจที่บ่งชี้สัญญาณว่า เงินเฟ้อในสหรัฐชะลอตัวลง
ทั้งนี้ สัญญาทองคำตลาด COMEX (Commodity Exchange) ส่งมอบเดือนส.ค. เพิ่มขึ้น 11.50 ดอลลาร์ หรือ 0.60% ปิดที่ 1,929.40 ดอลลาร์/ออนซ์ โดยราคาปรับตัวลงเพียง 20 เซนต์ในรอบสัปดาห์นี้, ลดลง 2.7% ในเดือนมิ.ย. และลดลง 2.9% ในไตรมาส 2/2566 ซึ่งเป็นการลดลงรายไตรมาสครั้งแรกนับตั้งแต่ไตรมาส 3/2565
สัญญาโลหะเงินส่งมอบเดือนก.ย. เพิ่มขึ้น 22.20 เซนต์ หรือ 0.97% ปิดที่ 23.02 ดอลลาร์/ออนซ์
สัญญาพลาตินัมส่งมอบเดือนต.ค. เพิ่มขึ้น 6.40 ดอลลาร์ หรือ 0.71% ปิดที่ 913.20 ดอลลาร์/ออนซ์
สัญญาพัลลาเดียมส่งมอบเดือนก.ย. ลดลง 5.40 ดอลลาร์ หรือ 0.4% ปิดที่ 1,227 ดอลลาร์/ออนซ์
สัญญาทองคำได้แรงหนุนจากการอ่อนค่าของดอลลาร์ โดยการอ่อนค่าของดอลลาร์ทำให้สัญญาทองคำซึ่งกำหนดราคาเป็นดอลลาร์นั้น มีราคาถูกลง และน่าดึงดูดใจสำหรับนักลงทุนที่ถือครองสกุลเงินอื่น ๆ
ดัชนีดอลลาร์ ซึ่งเป็นดัชนีวัดความเคลื่อนไหวของดอลลาร์เมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก 6 สกุลในตะกร้าเงิน ลดลง 0.42% สู่ระดับ 102.9125
ดอลลาร์อ่อนค่าลง หลังการเปิดเผยข้อมูลเศรษฐกิจบ่งชี้ว่าเงินเฟ้อของสหรัฐชะลอตัวลง และลดแรงกดดันที่ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะต้องเดินหน้าปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยต่อไป
กระทรวงพาณิชย์สหรัฐเปิดเผยในวันศุกร์ว่า ดัชนี PCE ทั่วไป ซึ่งรวมหมวดอาหารและพลังงาน ปรับตัวขึ้น 3.8% ในเดือนพ.ค. เมื่อเทียบรายปี จากระดับ 4.3% ในเดือนเม.ย. และเมื่อเทียบรายเดือน ดัชนี PCE ทั่วไป ปรับตัวขึ้น 0.1% ในเดือนพ.ค. จากระดับ 0.4% ในเดือนเม.ย.
ส่วนดัชนี PCE พื้นฐาน ซึ่งไม่นับรวมหมวดอาหารและพลังงาน และเป็นมาตรวัดเงินเฟ้อที่เฟดให้ความสำคัญ ปรับตัวขึ้น 4.6% ในเดือนพ.ค. เมื่อเทียบรายปี ต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ระดับ 4.7% จากระดับ 4.7% ในเดือนเม.ย. และเมื่อเทียบรายเดือน ดัชนี PCE พื้นฐานปรับตัวขึ้น 0.3% สอดคล้องกับตัวเลขคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ จากระดับ 0.4% ในเดือนเม.ย.
ดัชนี PCE ถือเป็นมาตรวัดเงินเฟ้อที่สามารถตรวจจับการเปลี่ยนแปลงในพฤติกรรมของผู้บริโภค และครอบคลุมราคาสินค้าและบริการในวงกว้างมากกว่าดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI)
ด้านมหาวิทยาลัยมิชิแกนเปิดเผยผลสำรวจบ่งชี้ว่า ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคสหรัฐดีดตัวขึ้นสู่ระดับ 64.4 ในเดือนมิ.ย. ซึ่งเป็นระดับสูงสุดในรอบ 4 เดือน และสูงกว่าตัวเลขคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ที่ระดับ 63.9 จากระดับ 59.2 ในเดือนพ.ค.