ผู้เขียน หัวข้อ: แตกใบอ่อน : อนาคตยางพารา (29/10/2556)  (อ่าน 835 ครั้ง)

Rakayang.Com

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 84444
    • ดูรายละเอียด
แตกใบอ่อน : อนาคตยางพารา (29/10/2556)
« เมื่อ: ตุลาคม 29, 2013, 01:46:24 PM »
แตกใบอ่อน : อนาคตยางพารา (29/10/2556)

วันอังคารที่ 29 ตุลาคม 2013 เวลา 10:11 น.

  เห็นม็อบยางพาราใน???าคใต้กลับมาชุมนุมอีกรอบเมื่อปลายสัปดาห์แล้ว ก็อดรู้สึกเป็นห่วงไม่ได้
ที่ว่าห่วง ไม่ได้ห่วงการปิดถนน ไม่ได้ห่วงรัฐบาล ไม่ได้ห่วงการเมือง หรือแม้กระทั่งห่วงราคายางที่เป็นอยู่ในขณะนี้แต่ที่ห่วง คือ ห่วงอนาคตที่กำลังจะเกิดขึ้นในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า ของชาวสวนยางบ้านเรามากกว่า!เพราะในช่วงเวลาที่ผ่านมา มันไม่ได้มีแต่ประเทศไทยเราเท่านั้นที่เฮโล ชักชวนชาวบ้านหันมาปลูกยางพารากันอย่างอึกทึกครึกโครมแต่เหตุการณ์นี้ มันเกิด
 
     ขึ้นทุกที่ โดยเฉพาะในประเทศเพื่อนบ้านที่อยู่รอบๆ ตัวเรา อย่าง เวียดนาม พม่า ลาว และกัมพูชา ซึ่งจากการประเมินเบื้องต้น พบว่า สวนยางที่ปลูกบริเวณรอบประเทศเพื่อนบ้านของเราเหล่านี้ มีจำนวนกว่า 1 ล้านไร่ และใน พม่า ลาว กัมพูชา และเวียดนาม กว่า 1 ล้านไร่ และในปี 2557 สามารถจะกรีดได้ประมาณ 200,000 ไร่ เป็นอันดับแรกและที่น่าสนใจไปกว่านั้น คือ สวนยางส่วนใหญ่ถูกลงทุนโดยผู้ประกอบการส่งออกยางพาราและผู้ประกอบการแปรรูปจากยางจากมาเลเซีย สิงคโปร์ และจีน ซึ่งต่างเป็นผู้ประกอบการอุตสาหกรรมยาง และเป็นผู้สั่งยางรายใหญ่จากประเทศไทย ที่นำไปแปรรูปเป็นผลิต???ัณฑ์ และจำหน่ายให้กับต่างประเทศอยากให้หลับตานึก???าพดูนะครับว่า ถ้า ?จีน? ซึ่งเป็นผู้นำเข้ายางรายใหญ่จากประเทศไทย เพื่อนำไปแปรรูป สามารถผลิต ?ยางพารา? ได้ด้วยตัวเอง สิ่งที่ตามมาย่อมหมายถึง ?อำนาจการต่อรอง? ที่ย่อมสูงขึ้นตามมา โดยเฉพาะการต่อรองรับซื้อยางพาราจากประเทศไทยดีไม่ดี เผลอๆ จีนอาจจะเป็นผู้กำหนดราคายางเองได้ด้วยซ้ำ
    สิ่งที่ตามมา ย่อมหนีไม่พ้นผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับราคายางพาราในประเทศไทย ที่เลี่ยงไม่พ้นกับสถานการณ์เผชิญหน้ากับ ?ขาลง? ซึ่งคนที่ซวยก็ไม่ใช่ใครที่ไหน ก็เป็นบรรดาเกษตรกรหรือเจ้าของสวนยางพารารายย่อยทั้งหลายนี่แหละมีนักวิชาการด้านยางพาราหลายท่าน ประเมินเอาไว้ว่า โดย???าพรวมผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับราคายางพาราน่าจะอยู่ที่ประมาณ 10-15% แต่หากนำมาประเมินร่วมกับแนวโน้มของ???าวะเศรษฐกิจโลกที่เกิดขึ้นแล้ว ก็อาจลามไปถึง 40% เลยทีเดียวแม้รัฐบาลโดยเฉพาะกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จะพยายามปลอบใจตัวเองว่า ด้วยศักย???าพของพื้นที่และพันธุ์ยางที่เรามีอยู่ในมือเวลานี้ จะยังทำให้ปริมาณและคุณ???าพยางพาราเราได้เปรียบประเทศคู่แข่งที่อยู่ข้างบ้านเราไปอีกนาน แต่ก็ต้องไม่ลืมว่า ราคาต้นทุนการผลิต ค่าจ้างแรงงาน และราคาที่ดิน ในประเทศไทย มัน ?แพง? กว่า เวียดนาม พม่า ลาว และกัมพูชา อยู่มากโขขณะเดียวกัน สวนยางที่มีอยู่ในระบบของไทยก็มีมากถึงราวๆ 19.2 ล้านไร่ โดยยังไม่นับรวมที่มีการลักลอบปลูกนอกระบบในพื้นที่หวงห้ามอื่นๆ อีกไม่รู้กี่แสนไร่เมื่อนำต้นทุนที่สูงกว่า มาบวกรวมกับปริมาณผลผลิตที่สูง ท่ามกลางอำนาจการต่อรองที่ต่ำ ผลลัพธ์มันจะออกมายังไง เด็กอมมือที่ไหนก็บอกได้
    อนาคตถ้ายางพาราไม่ล้นตลาดจนราคาร่วงลงไปอีก ก็ฟลุคเต็มทนส่วนไอ้ที่รัฐบาลหรือกระทรวงเกษตรฯ จะมาบอกว่า ต้องเร่งสนับสนุนการแปรรูปเพื่อเพิ่มมูลค่า ต้องผนึกกับอินโดนีเซีย มาเลเซีย รวมทั้งเวียดนาม ในการผลักดันบริษัท ร่วมทุนยางพาราระหว่าง เพื่อให้เราเป็นผู้กำหนดราคาเองในตลาดโลกไม่อยากบอกเลยครับ ผมเห็นกระทรวงเกษตรฯเปลี่ยนรัฐมนตรีมาไม่รู้กี่คนต่อกี่คน ทุกคนก็พูดแบบเดียวกันตั้งแต่ปีมะโว้ แต่สุดท้ายยังมะงุมมะหงาหราอยู่ที่เดิมไม่เคยเปลี่ยนแปลงขอเถอะครับ พูดไปก็เสียเวลา ขยับกันเสียที ถ้าเริ่มจริงจังกันตั้งแต่ตอนนี้ก็น่าจะยังไม่สาย
    ที่มา : หนังสือพิมพ์แนวหน้า (วันที่ 29 ตุลาคม 2556)