ผู้เขียน หัวข้อ: วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อราคายาง วันอังคาร ที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2556  (อ่าน 931 ครั้ง)

Rakayang.Com

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 84444
    • ดูรายละเอียด
               
วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อราคายาง
วันอังคาร ที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2556
     
ปัจจัย
วิเคราะห์
1. ส???าพ???ูมิอากาศ - มรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมอ่าวไทยและ???าคใต้มีกำลังอ่อนลง ขณะที่หย่อมความกดอากาศต่ำที่ปกคลุมปลายเกาะสุมาตราได้เคลื่อนออกไป ทำให้???าคใต้มีฝนน้อยลงในระยะนี้ ร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ ส่งผลกระทบต่อการกรีดยาง
2. การใช้ยาง - บริษัทผู้ผลิตรถชั้นนำ 8 แห่งของญี่ปุ่นเผยยอดการผลิต???ายในประเทศเพิ่มขึ้นร้อยละ 12.8 ในเดือนกันยายน จากระดับปีที่แล้ว แตะ 827,139 คัน ซึ่งถือเป็นตัวเลขที่เพิ่มขึ้นเป็นครั้งแรกในรอบ 13 เดือน
- นักเศรษฐศาสตร์อาวุโสจากกลุ่มการศึกษายางระหว่างประเทศกล่าวว่า ผลผลิตยางทั่วโลกจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.5 ในปีหน้า จากราว 11.7ล้านตันในปีนี้ เนื่องจากต้นยางที่มีการเพาะปลูกในช่วงปี 2549-2551 ได้มีการเติบโตจนพร้อมที่จะให้ผลผลิตแล้ว
3. เศรษฐกิจโลก - ธนาคารกลางสหรัฐฯ เปิดเผยว่า ผลผลิต???าคอุตสาหกรรมของสหรัฐฯ ทำสถิติขยายตัวสูงสุดในรอบ 7 เดือนในเดือนกันยายน เนื่องจากการขยายตัวของผลผลิต???าคสาธารณูปโ???ค หลังจากที่หดตัวลงหลายเดือนติดต่อกัน โดยผลผลิต???าคอุตสาหกรรมสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 0.6 ในเดือนกันยายน หลังจากที่ขยายตัวร้อยละ 0.4 ในเดือนสิงหาคม
- ธนาคารกลางเกาหลีใต้ (BOK) เปิดเผยว่า ความเชื่อมั่นของผู้บริโ???คในเกาหลีใต้ปรับตัวเพิ่มขึ้นแตะระดับสูงสุดในรอบ 17 เดือน ซึ่งสะท้อนถึงความคาดหวังที่เพิ่มขึ้นต่อการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ โดยดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโ???ค (CCSI) ของเกาหลีใต้ปรับตัวขึ้น 4 จุด จากเดือนก่อนหน้า แตะที่ระดับ 106 จุด ในเดือนตุลาคม
- กระทรวงกิจการ???ายในและการสื่อสารของญี่ปุ่น เปิดเผยว่า การใช้จ่าย???าคครัวเรือนของญี่ปุ่นในเดือนกันยายนปรับตัวขึ้นร้อยละ 3.7 เมื่อเทียบกับปีก่อน แตะที่ 280,692 เยน
4. อัตราแลกเปลี่ยน - เงินบาทอยู่ที่ 31.10 บาทต่อดอลล่าร์สหรัฐ อ่อนค่าลง 0.03 บาทต่อดอลล่าร์สหรัฐ และเงินเยนอยู่ที่ 97.63 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ อ่อนค่าลง 0.11 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ
5. ราคาน้ำมัน - สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาด Nymex ส่งมอบเดือนธันวาคม ปิดตลาดที่ 98.68 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล เพิ่มขึ้น 0.83 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล เพราะได้รับแรงหนุนจากการคาดการณ์ที่ว่าธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) จะประกาศเดินหน้าใช้มาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (QE) ต่อไปในการประชุมสัปดาห์นี้
6. การเก็งกำไร - ราคาตลาด TOCOM ส่งมอบเดือนพฤศจิกายน อยู่ที่ 248.4  เยนต่อกิโลกรัม เพิ่มขึ้น 2.0 เยนต่อกิโลกรัม และส่งมอบเดือนมีนาคม 2557 อยู่ที่  259.5 เยนต่อกิโลกรัม เพิ่มขึ้น 2.0 เยนต่อกิโลกรัม
- ราคาตลาด SICOM เปิดตลาดที่ 249.5 เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม ลดลง 1.5 เซนต์-สหรัฐต่อกิโลกรัม
7. ข่าว - สมาคมนายหน้าอสังหาริมทรัพย์แห่งชาติของสหรัฐฯ (NAR) เผย ดัชนีการทำสัญญาขายบ้านที่รอปิดการขาย (pending home sales) ร่วงแตะสถิติต่ำสุดในรอบเกือบ 3 ปีในเดือนกันยายน และทำสถิติลดลงเป็นเดือนที่ 4 ติดต่อกัน เนื่องจากการปรับตัวขึ้นของอัตราดอกเบี้ยและความไม่แน่นอนจากความขัดแย้งทางการเมือง
- นักเศรษฐศาสตร์คาดว่า คณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐฯ (FOMC) จะยังคงโครงการซื้อพันธบัตรวงเงิน 8.5 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ ต่อไปในการประชุมวันที่ 29 - 30 ตุลาคม นี้ เพื่อรอดูข้อมูลเศรษฐกิจที่บ่งชี้ถึงความแข็งแกร่งของเศรษฐกิจสหรัฐฯ มากกว่านี้ว่า เศรษฐกิจของสหรัฐฯ จะสามารถรับมือได้หรือไม่ หากมีการลดวงเงินโครงการดังกล่าว
- รัฐบาลญี่ปุ่นเปิดเผยว่า อัตราว่างงานของญี่ปุ่นปรับตัวดีขึ้นในเดือนกันยายน โดยลดลงมาแตะที่ร้อยละ 4.0 จากระดับร้อยละ 4.1 ในเดือนก่อนหน้า ในขณะเดียวกันรายงานของอีกหน่วยงานรัฐบาลบ่งชี้ว่า ตำแหน่งงานว่างของญี่ปุ่นยังคงทรงตัว โดยสัดส่วนตำแหน่งงานว่างต่อจำนวนผู้ที่กำลังมองหางานทำยังคงทรงตัวอยู่ที่ระดับ 0.95 จุด เท่ากับในเดือนสิงหาคม
8. ข้อคิดเห็นของผู้ประกอบการ - ราคาทรงตัวหรือสูงขึ้นได้เล็กน้อย เพราะขาดแคลนวัตถุดิบจาก???าวะฝนตก ขณะที่สินค้าในโรงงานบางส่วนได้มีการส่งมอบแล้ว อย่างไรก็ตาม ในระยะนี้ยังคงขายยาก และที่ขายได้แล้วผู้ซื้อไม่รับสินค้า โดยยืดเวลาการส่งมอบออกไป
  แนวโน้ม ราคายางมีแนวโน้มทรงตัวหรือปรับตัวสูงขึ้นเล็กน้อยในทิศทางเดียวกับตลาดโตเกียว เพราะได้รับแรงหนุนจากเงินเยนอ่อนค่าและราคาน้ำมันปรับตัวสูงขึ้น ประกอบกับ???าคใต้ของไทยอยู่ในช่วงมรสุม ทำให้มีฝนตกชุก อาจจะส่งผลกระทบต่ออุปทานยางออกสู่ตลาดลดลง อย่างไรก็ตาม นักลงทุนยังคงระมัดระวังในการซื้อขายและจับตาดูผลการประชุมของธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) ซึ่งจะเปิดเผยในวันพุธนี้ตามเวลาสหรัฐฯ
คณะทำงานวิเคราะห์สำนักงานตลาดกลางยางพาราสงขลา