ผู้เขียน หัวข้อ: ระบายสต๊อกยางรัฐใช้ 48 โครงการ  (อ่าน 1004 ครั้ง)

Rakayang.Com

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 83213
    • ดูรายละเอียด
ระบายสต๊อกยางรัฐใช้ 48 โครงการ
« เมื่อ: ตุลาคม 28, 2013, 12:52:47 PM »
ระบายสต๊อกยางรัฐใช้ 48 โครงการ(28/10/2556)
 
  เปิดแผนระบายสต๊อกยางรัฐ 2.1 แสนตัน 7 กระทรวงชงแผนใช้ยางรวม 48 โครงการ เหยียบหมื่นล้าน ก.คมนาคม ซิวใช้งบ-ใช้ยางพาราสูงสุด ด้านบิ๊กอสย. ยอมรับยางในสต๊อกเวลานี้เสื่อมส???าพบ้าง ยันอยู่ครบไม่มีสต๊อกลม ขณะที่การจ่ายเงินช่วยเหลือปัจจัยการผลิตชาวสวนยางทั่วประเทศ ธ.ก.ส.ควักจ่ายแล้วกว่า 200 ล้าน
      จากกรณีที่รัฐบาลมีนโยบายจะนำยางพาราในสต๊อกกว่า 2.1 แสนตัน ที่ได้เข้าไปแทรกแซงราคา ตามโครงการพัฒนาศักย???าพสถาบันเกษตรกรเพื่อรักษาเสถียร???าพราคายาง มาใช้ในหน่วยงานรัฐบาลเพิ่มการใช้ยางในประเทศ โดยนายกรัฐมนตรี นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ได้มอบนโยบายให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ไปรวบรวมข้อมูลโครงการ/กิจกรรมของกระทรวงต่างๆ ที่มีการใช้ยางสังเคราะห์ หรือยางธรรมชาติเป็นองค์ประกอบสำคัญในการดำเนินการ โดยให้สำนักงบประมาณพิจารณาจัดสรรวงเงินงบประมาณประจำปี 2557 เพื่อการดังกล่าวให้กับแต่ละกระทรวง และให้กระทรวงเกษตรฯประมวล???าพรวมเพื่อนำเสนอคณะกรรมการนโยบายยางธรรมชาติ และคณะรัฐมนตรี (ครม.)ต่อไป
 
          แหล่งข่าวจากคณะกรรมการบริหารโครงการแก้ไขปัญหายางพาราทั้งระบบ ปี 2557 เปิดเผยกับ "ฐานเศรษฐกิจ"ว่าเมื่อวันที่ 15 ตุลาคม 2556 ที่ผ่านมา กรมบัญชีกลางได้เป็นเจ้า???าพ เชิญหน่วยราชการที่เกี่ยวข้อง ทั้งในส่วนที่เป็นหน่วยงานการผลิตหรือพัฒนาและหน่วยงานผู้ใช้ ประกอบด้วย ปลัดกระทรวงคมนาคม ปลัดกระทรวงพาณิชย์ กรมการค้า???ายใน กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กรมวิชาการเกษตร สำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง (สกย.) และองค์การสวนยาง (อ.ส.ย.) มาประชุมหารือ เพื่อให้ได้ข้อมูลผลิต???ัณฑ์ วัสดุ ครุ???ัณฑ์ ที่จะใช้ยางธรรมชาติเป็นวัตถุดิบหรือเป็นส่วนประกอบเพื่อนำมาศึกษาหาแนวทาง ดำเนินงานที่เกี่ยวข้อง
         การประชุมหารือครั้งนี้ ได้มีรายงานตัวเลขความต้องการใช้ยางพาราในสต๊อกรัฐบาลของส่วนราชการตาม รายงานของสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) ที่ได้ขอข้อมูลไป 11 กระทรวง ปรากฏมี 7 กระทรวงที่มีความต้องการใช้ยางไปดำเนินโครงการในปี 2557 ประกอบด้วยกระทรวงกลาโหม กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงคมนาคม กระทรวงมหาดไทย กระทรวงศึกษาธิการ และกระทรวงสาธารณสุข รวมโครงการทั้งสิ้น 48 โครงการ งบประมาณรวม 9.97 พันล้านบาท และปริมาณยางที่คาดว่าจะใช้รวม 6.71 พันตัน
          โดยกระทรวงที่มีความต้องการใช้ยางพารา 5 อันดับแรก ประกอบด้วย 1.กระทรวงคมนาคม มี 4 โครงการ งบโครงการรวม 4.75 พันล้านบาท ปริมาณยางที่คาดว่าจะใช้ 5.10 พันตัน ประกอบด้วย โครงการของกรมทางหลวง และกรมทางหลวงชนบท ในโครงการบำรุงผิวทางด้วยวิธีฉาบผิวแบบ Para Slurry Seal และโครงการบำรุงรักษาผิวทางด้วยวิธีการเสริมผิวแอสฟัลต์คอนกรีตปรับปรุง คุณ???าพด้วยยางธรรมชาติ อันดับ 2 กระทรวงกลาโหม 5 โครงการ งบ 845 ล้านบาท ปริมาณยางที่คาดว่าจะใช้ 526 ตัน อาทิ โครงการก่อสร้างและปรับปรุงถนนใน 4 จังหวัดชายแดนใต้ของกรมการทหารช่าง โครงการวิจัยและพัฒนารองเท้าทรงสูงครึ่งน่องสีดำของกรมพลาธิการทหารบก เป็นต้น
         อันดับ 3 กระทรวงมหาดไทย มี 2 โครงการ งบ 616 ล้านบาท ปริมาณยางที่คาดว่าจะใช้ 472 ตัน อาทิ โครงการซ่อมสร้าง บำรุงรักษาถนนด้วยยางพาราเคพซีลของกรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น อันดับ 4 กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มี 30 โครงการ งบรวม 2.70 พันล้านบาท ปริมาณยางที่คาดว่าจะใช้ 366 ตัน
          อาทิ โครงการฝายยาง 23 โครงการของกรมชลประทาน โครงการใช้ยางธรรมชาติในการผลิตผลิต???ัณฑ์ยาง เช่นรองเท้าเทียม ถาดปลูกข้าวของกรมวิชาการเกษตร เป็นต้น และอันดับ 5 กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา มี 2 โครงการ งบ 48 ล้านบาท ปริมาณยางที่คาดว่าจะใช้ 238 ตัน อาทิ โครงการก่อสร้างลู่ยางของการกีฬาแห่งประเทศไทย
        ด้านนายชนะชัย เปล่งศิริวัธน์ ผู้อำนวยการองค์การสวนยาง(อ.ส.ย.) กล่าวว่า ทุกหน่วยราชการต่างกระตือรือร้นที่ต้องการสนองนโยบายของรัฐบาล โดยเร่งรัดการนำยางพาราเข้าไปเป็นส่วนผสมทดแทนวัสดุต่างๆ แต่ก็ต้องยอมรับว่าราคาสินค้าช่วงแรกอาจจะสูงกว่างบประมาณที่สำนักงบประมาณ ได้กำหนดไว้ ในส่วนของ อ.ส.ย.ซึ่งเป็นหนึ่งในกลไกขับเคลื่อนโครงการได้รับมอบหมายจากนายยุคล ลิ้มแหลมทอง รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ให้ดำเนินการติดต่อโรงงานแปรรูปเอกชนทั่วประเทศ เพื่อจัดหาโรงงานที่มีกำลังความสามารถในการผลิตผลิต???ัณฑ์ยางที่ส่วนราชการจะ นำไปใช้ได้ตามงบประมาณของแต่ละกระทรวงที่ได้ตั้งไว้ เพื่อจะนำมากำหนดเป็นราคากลาง ทั้งนี้เพื่อให้รัฐบาลขาดทุนน้อยที่สุดในการระบายยางพาราในสต๊อก
         "ราคาต้นทุนได้รับซื้อยางพารามาจากเกษตรกร กิโลกรัมละ 100 บาท เมื่อนำมาแปรรูป บวกค่าบริหารจัดการ ค่าเช่าโกดัง ค่าประกัน???ัย และอื่นๆ จะทำให้วัตถุดิบมีต้นทุนกิโลกรัมละประมาณ110 บาท แต่มั่นใจว่าจะหาโรงงานที่สนองตอบความต้องการของทางราชการได้ไม่ยากนัก ที่สำคัญการทำงานนี้ตั้งใจทำ และไม่หวั่นต่อการตรวจสอบ อย่างไรก็ดีจากที่คณะทำงานสต๊อก ที่แต่งตั้งโดยนายยุคลลงไปตรวจสอบส???าพยางพาราในสต๊อก แจ้งผลมาแล้วว่ายางในสต๊อกมีเสื่อมส???าพบ้าง แต่ไม่สูญหาย ยางยังอยู่ครบ และยืนยันไม่มีสต๊อกลม"
         ขณะที่นายโอฬาร พิทักษ์ อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร กล่าวถึงความคืบหน้ากรณีที่ครม.ได้อนุมัติจ่ายเงินช่วยเหลือค่าปัจจัยการ ผลิตแก่เกษตรกรผู้ปลูกยางพาราที่มีเอกสารสิทธิ์ที่ดินที่เป็นที่ยอมรับ ของกรมป่าไม้ 46 รายการ เพื่อแก้ไขปัญหาราคายางพาราตกต่ำไร่ละ 2.520 พันบาท รายละไม่เกิน 25 ไร่ (มีผล ก.ย.56-มี.ค.57)
         ล่าสุด ณ วันที่ 22 ตุลาคม 2556 ทางธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร หรือ ธ.ก.ส. ได้จ่ายเงินให้เกษตรกรไปแล้วกว่า 200 ล้านบาท จำนวน 8.54 พันครัวเรือน ที่ดิน 1.16 หมื่นแปลง พื้นที่เปิดกรีดยางแล้ว 8.02 หมื่นไร่ โดยมีเกษตรกรสนใจเข้าร่วมโครงการเป็นจำนวนมาก ส่งคำร้องขอขึ้นทะเบียนแล้ว 69 จังหวัด รวม 1.19 ล้านครัวเรือน เป็นข้อมูลที่ตรวจสอบแล้ว 6.03 แสนครัวเรือน ที่เหลืออยู่ระหว่างการตรวจสอบความถูกต้องด้านเอกสารสิทธิ์
ที่มา: ฐานเศรษฐกิจ(วันที่ 28 ตค.56)
http://thairubberparty.com/