ผู้เขียน หัวข้อ: สหรัฐฯมีมติยืน ลงดาบเก็บภาษีเอดียางรถยนต์ไทย จับตาค่ายญี่ปุ่น-จีนย้ายฐาน  (อ่าน 920 ครั้ง)

Rakayang.Com

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 84892
    • ดูรายละเอียด
สหรัฐฯมีมติยืน ลงดาบเก็บภาษีเอดียางรถยนต์ไทย จับตาค่ายญี่ปุ่น-จีนย้ายฐาน

27 Jun 2021 13:42 น. ฐานเศรษฐกิจ

สหรัฐฯมีมติยืน ลงดาบเก็บภาษีเอดียางรถยนต์ไทย จับตาค่ายญี่ปุ่น-จีนย้ายฐาน

สหรัฐฯ มีมติเก็บภาษีตอบโต้การทุ่มตลาดสินค้ายางรถยนต์จากไทยสูงสุดที่ 22% เผยผลพวงทำ 4 เดือนแรกส่งออกยางรถยนต์ไทยไปสหรัฐฯ ลดเหลือ 2.9 หมื่นล้านบาท จับตาค่ายญี่ปุ่น-จีนย้ายฐาน

สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ (สคต./ทูตพาณิชย์) ณ เมืองไมอามี สหรัฐอเมริกา รายงานโดยอ้างอิงข้อมูลจากสำนักข่าวรอยเตอร์ ระบุว่า เมื่อวันพุธที่ 23 มิถุนายน 2564 คณะกรรมาธิการการค้าระหว่างประเทศ สหรัฐฯ (United States International Trade Commission หรือ USITC) เปิดเผยรายงานผลการไต่สวนการนำเข้าสินค้ายางรถยนต์ส่วนบุคคลและยางรถบรรทุกขนาดเล็กจากเวียดนาม เกาหลีใต้ ไต้หวัน และไทย โดยผลการตรวจสอบพบหลักฐานเชื่อได้ว่า สินค้ายางรถยนต์และยางรถบรรทุกขนาดเล็กนำเข้าจากเวียดนามได้รับการ อุดหนุน (Subsidization) จากรัฐบาลจริง ซึ่งส่งผลกระทบด้านการแข่งขันในตลาดต่อผู้ผลิตในสหรัฐฯ
ADVERTISEMENT

นอกจากนี้ ยังพบว่า การนำเข้าสินค้ายางรถยนต์และยางรถบรรทุกขนาดเล็กจากเกาหลีใต้ ไต้หวัน และไทยก่อให้เกิดความเสียหายอย่างสำคัญ (Materially Injured) ต่ออุตสาหกรรมการผลิตสินค้ายางรถยนต์ภายสหรัฐฯ ด้วย กระทรวงพาณิชย์สหรัฐฯ จึงประกาศตอบโต้การนำเข้าสินค้าจากประเทศดังกล่าว โดยจะดำเนินมาตรการเรียกเก็บภาษีตอบโต้การทุ่มตลาด (Antidumping Duty หรือ AD) สินค้ายางรถยนต์ และยางรถบรรทุก ขนาดเล็กนำเข้าจากเกาหลีใต้ ไต้หวัน และไทย และจะเรียกเก็บภาษีตอบโต้การอุดหนุน (Countervailing Duty หรือ CVD) สินค้ายางรถยนต์และยางรถบรรทุกขนาดเล็กนำเข้าจากเวียดนามนอกจากนี้ รายงานการไต่สวนของคณะกรรมาธิการยังระบุว่า สินค้ายางรถยนต์ และยางรถบรรทุกนำเข้าจากเวียดนามที่จำหน่ายในตลาดสหรัฐฯ มีราคาจำหน่ายในตลาดต่ำกว่ามูลค่ายุติธรรม (Fair Value) ซึ่งไม่ถือว่ามีมูลและได้รับการลงคะแนนเสียงจากคณะกรรมาธิการว่าการกระทำดังกล่าวไม่เข้าข่ายเป็นการทุ่มตลาด ดังนั้น จึงมีมติให้ยกเลิกมาตรการเรียกเก็บภาษีตอบโต้การทุ่มตลาดสินค้ายางรถยนต์ และยางรถบรรทุก จากเวียดนามที่ดำเนินการมาตั้งแต่เริ่มกระบวนการสอบสวนเมื่อปีที่แล้วทั้งนี้ กระทรวงพาณิชย์สหรัฐฯ (United States Department of Commerce) ได้เริ่ม กระบวนการสืบสวนมูลค่าการนำเข้าสินค้ายางรถยนต์และยางรถบรรทุกขนาดเล็กจากเวียดนาม เกาหลีใต้ ไต้หวัน และไทยมาตั้งแต่กลางปี 2563 สืบเนื่องจากการยื่นคำร้องโดยสหภาพแรงงานอุตสาหกรรมเหล็กสหรัฐฯ (The United Steelworkers หรือ USW) ซึ่งเป็นตัวแทนของกลุ่มแรงงานในโรงงานอุตสาหกรรมการผลิตยางรถยนต์ในสหรัฐฯ (U.S. Tire Plants) ที่ได้รับผลกระทบจากการนำเข้าสินค้ายางรถยนต์จากกลุ่มประเทศเหล่านี้สหรัฐฯมีมติยืน ลงดาบเก็บภาษีเอดียางรถยนต์ไทย จับตาค่ายญี่ปุ่น-จีนย้ายฐาน
สหรัฐฯมีมติยืน ลงดาบเก็บภาษีเอดียางรถยนต์ไทย จับตาค่ายญี่ปุ่น-จีนย้ายฐาน

โดยก่อนหน้านี้กลุ่มสหภาพแรงงานดังกล่าวเคยยื่นคำร้องกรณีการนำเข้าสินค้ายางรถยนต์จากจีน ต่อคณะกรรมาธิการฯ มาแล้วในปี 2558 โดยรัฐบาลสหรัฐฯ ได้ทำการตรวจสอบและดำเนินการเรียกเก็บภาษีตอบ โต้จีนจนทำให้มูลค่าการนำเข้าสินค้ายางรถยนต์จากจีนของสหรัฐฯ ปรับตัวลดลงมากในช่วงที่ผ่านมา ซึ่งการ ดำเนินการดังกล่าวช่วยให้ผู้ประกอบการผลิตยางรถยนต์ภายในสหรัฐฯ สามารถกลับมาแข่งขันได้ในตลาดและ ก่อให้เกิดการลงทุนในอุตสาหกรรมเพิ่มมากขึ้นในทั้งนี้ หากพิจารณามูลค่าการนำเข้าสินค้ายางรถยนต์และยางรถบรรทุกขนาดเล็กของสหรัฐฯ ในปี 2563 พบว่า สหรัฐฯ นำเข้าสินค้ายางรถยนต์และยางรถบรรทุกมีมูลค่าทั้งสิ้นประมาณ 1 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (หรือ 3.10 แสนล้านบาท) ในจำนวนดังกล่าวมูลค่า 4.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (หรือ 1.36 แสนล้านบาท) เป็นมูลค่าการนำเข้าจาก 4 ประเทศ (เวียดนาม เกาหลีใต้ ไต้หวัน และไทย) หรือคิดเป็นร้อยละ 44 ของมูลค่าการนำเข้าทั้งหมดของสหรัฐฯนอกจากนี้ ข้อมูลจากสหภาพแรงงานฯ ยังระบุว่า สหรัฐฯ มีปริมาณนำเข้าสินค้ายางรถยนต์ และยางรถบรรทุกจากทั้ง 4 ประเทศเพิ่มขึ้นเป็น 85.3 ล้านเส้นในปี 2562 หรือคิดเป็นสัดส่วนการขยายตัวเพิ่มขึ้น ร้อยละ 20 เมื่อเทียบกับปริมาณการนำเข้าสินค้าในปี 2560  ในส่วนของภาคอุตสาหกรรมการผลิตยางรถยนต์ และยางรถบรรทุกขนาดเล็กของสหรัฐฯ ในปี 2563 พบว่า มีผู้ประกอบการตั้งกิจการผลิตภายในประเทศทั้งสิ้น 14 ราย โดยส่วนใหญ่ตั้งกิจการอยู่ในเขตสหรัฐฯ ตะวันออก และสหรัฐฯ ตะวันออกเฉียงใต้ ได้แก รัฐอาลาแบมา รัฐอาคันซอ รัฐจอร์เจีย รัฐอิลลินอยส์ รัฐอินเดียนา รัฐแคนซัส รัฐมิสซิสซิปปี รัฐนิวยอร์ก รัฐนอร์ทแคโรไลนา รัฐโอไฮโอ รัฐเพนซิลเวเนีย รัฐเซาท์แคโรไลนา รัฐ เทนแนสซี และรัฐเวอร์จิเนีย ก่อให้เกิดการจ้างงานภายในประเทศทั้งสิ้นราว 4.1 หมื่นตำแหน่ง โดยสามารถผลิตยางรถยนต์ได้เป็นมูลค่าทั้งสิ้น 1.02 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐต่อปี (หรือ 3.16 แสนล้านบาท) เทียบกับปริมาณความ ต้องงการบริโภคยางรถยนต์ของสหรัฐฯ ที่สูงถึงราว 2.01 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐต่อปี (หรือ 6.23 แสนล้านบาท)ทูตพาณิชย์ ณ เมืองไมอามี วิเคราะห์ว่า แนวโน้มการฟื้นตัวจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสทำให้ระบบเศรษฐกิจเริ่มกลับเข้าสู่ภาวะปกติ ผู้บริโภคในประเทศกล้าที่จะจับจ่ายใช้สอยมากขึ้น รวมถึงกลุ่มสินค้ารถยนต์ ทั้งรถยนต์ใหม่และ รถยนต์ใช้แล้วที่มีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้นสูงนับตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมา โดยกลุ่มสินค้ายางรถยนต์เป็นชิ้นส่วนยานยนต์ที่มีความสำคัญอย่างมาก ผู้บริโภคชาวอเมริกันมีความต้องการบริโภคเพิ่มขึ้น โดยในช่วงระหว่างเดือนมกราคม - เมษายน 2564 สหรัฐฯ นำเข้าสินค้ายางรถยนต์ (HS Code 4011) เพิ่มขึ้นเป็นมูลค่าทั้งสิ้น 4.9 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (หรือ 1.52 แสนล้านบาท) หรือขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.61 เมื่อเทียบกับมูลค่าการนำเข้าในปีที่ผ่านมา โดยนำเข้าสินค้าหลักจากไทย (ร้อยละ 19.26) แคนาดา (ร้อยละ 11.47) เม็กซิโก (ร้อยละ 8.92) จีน (ร้อยละ 8.05) และญี่ปุ่น (ร้อยละ 7.79) ตามลำดับสหรัฐฯมีมติยืน ลงดาบเก็บภาษีเอดียางรถยนต์ไทย จับตาค่ายญี่ปุ่น-จีนย้ายฐาน

ในส่วนของมูลค่าการนำเข้าจากไทยนั้น แม้ว่าจะมีมูลค่าการส่งออกไปยังตลาดสหรัฐฯ สูงสุดเป็นอันดับ 1 แต่มูลค่าการส่งออกปรับตัวลดลงสวนทางกับแนวโน้มตลาดในสหรัฐฯ โดยในระหว่างเดือนมกราคม - เมษายน 2564 ไทยมีมูลค่าการส่งออกไปสหรัฐฯ ทั้งสิ้น 944.17 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (หรือ 29,268 ล้านบาท) หรือ ปรับตัวลดลงร้อยละ 0.62 เนื่องจากปัจจัยด้านการแพร่ระบาดของโรคโควิดในประเทศที่ส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมการผลิตของไทย รวมถึงการดำเนินมาตรการเรียกเก็บภาษีตอบโต้การทุ่มตลาดสินค้าส่งออกจากผู้ประกอบการไทยที่มี สัดส่วนส่งออกในตลาดสหรัฐฯ ในอัตราสูงซึ่งเริ่มดำเนินการมาตั้งแต่ช่วงเริ่มต้นการไต่สวนเมื่อกลางปี 2563การประกาศผลการไต่สวนดังกล่าวย่อมส่งผลกระทบต่อผู้ประกอบการไทยที่อยู่ในข่ายถูกเรียกร้องจากสหภาพแรงงาน อย่างไรก็ตาม หากพิจารณารายชื่อผู้ประกอบการไทยในบัญชีดังกล่าวส่วนใหญ่เป็นผู้ประกอบต่างชาติที่ตั้งฐานการผลิตในประเทศไทย เช่น บริษัท Sumitomo Rubber (Thailand) Co., Ltd. (ประเทศญี่ปุ่น) และบริษัท Linglong International Tire (Thailand) Co., Ltd. (ประเทศจีน) ซึ่งอาจจะส่งผลให้ผู้ประกอบการเหล่านี้พิจารณาชะลอการผลิตในประเทศไทยและย้ายฐานการผลิตไปยังโรงงานในประเทศเอเชียที่ไม่ได้รับผลกระทบได้ เช่น อินโดนีเซีย เป็นต้น และอาจจะส่งผลกระทบต่อภาคการผลิตและการจ้างงานใน อุตสาหกรรมการผลิตยางรถยนต์ของไทยได้ในอนาคตข้อเสนอแนะ : แม้ว่าผู้ประกอบการไทยจะอยู่ในข่ายได้รับผลกระทบจากการดำเนิน มาตรการตอบโต้การทุ่มตลาดสินค้ายางรถยนต์ และยางรถบรรทุกจากสหรัฐฯ แต่หากพิจารณารายละเอียดพบว่า ผู้ประกอบการไทยถูกเรียกเก็บภาษีตอบโต้การทุ่มตลาดต่ำที่สุดเมื่อเทียบกับประเทศในกลุ่ม (เกาหลีใต้ และไต้หวัน) ซึ่งอาจจะยังคงช่วยให้สินค้าไทยยังสามารถรักษาความสามารถในการแข่งขันในตลาดได้ชั่วคราว อย่างไรก็ตาม การเปลี่ยนแปลงรูปแบบผู้บริโภค เช่น  การทำงานจากที่บ้านและอีคอมเมิร์ซ มีแนวโน้มที่จะส่งผลกระทบอย่างยั่งยืนต่ออุตสาหกรรมยางรถยนต์ไปด้วยเฉพาะอย่างยิ่งตลาดรถยนต์ที่ใช้พลังงานน้ำมันมีแนวโน้มจะลดลง และจะมีรถยนต์พลังงานไฟฟ้าเข้ามาทดแทนในอนาคต เนื่องจากปัจจัยด้าน นโยบายสนับสนุนของรัฐบาลสหรัฐฯ ชุดปัจจุบันที่ให้ความสำคัญกับการใช้พลังงานสะอาดในอุตสาหกรรมการขนส่งภายในประเทศและมีแผนที่จะลงทุนในการส่งเสริมและพัฒนาอุตสาหกรรมการขนส่งพลังงานไฟฟ้าเป็นมูลค่ามหาศาลในอนาคต ซึ่งนโยบายดังกล่าวน่าจะเป็นโอกาสสำหรับผู้ประกอบการไทยในการเรื่องวิจัยและพัฒนาสินค้า กลุ่มสินค้าวัตถุดิบและชิ้นส่วนในการผลิตที่เกี่ยวข้องเพิ่มขึ้นในอนาคตด้วย เช่น ยางรถยนต์สำหรับรถ EV และ รถยนต์ขับเคลื่อนอัตโนมัติ เป็นต้นอนึ่ง ก่อนหน้านี้ เมื่อวันที่ 29 ธันวาคม 2563 ว่ากระทรวงพาณิชย์สหรัฐฯ (Department of Commerce: DOC) ได้ประกาศผลการพิจารณาอัตราอากรตอบโต้การทุ่มตลาด (Anti-Dumping: AD) เบื้องต้น กรณีการไต่สวนการใช้มาตรการ AD กับสินค้ายางรถยนต์โดยสารและรถบรรทุกขนาดเล็ก (Passenger Vehicle and Light Truck Tires: PVLT) จากเกาหลีใต้ ไต้หวัน เวียดนาม และไทย ในเบื้องต้น DOC พบว่าผู้ส่งออกสินค้ายาง PVLT จากเกาหลีใต้มีอัตราอากร AD อยู่ที่ร้อยละ 14.24-38.07% และผู้ส่งออกจากไต้หวันมีอัตราอากร AD อยู่ที่ 52.42-98.44% สำหรับผู้ส่งออกสินค้าดังกล่าวจากไทยมีอัตรา AD อยู่ที่ 13.25 - 22.21% ของราคา ซี ไอ เอฟ โดยบริษัท แอล แอล ไอ ที (ประเทศไทย) จำกัด มีอัตรา AD อยู่ที่ 22.21% และบริษัท ซูมิโตโม รับเบอร์ (ไทยแลนด์) จำกัดมีอัตรา AD อยู่ที่ 13.25% สำหรับผู้ส่งออกรายอื่นจากไทยมีอัตรา AD อยู่ที่ 16.66% ทั้งนี้ พบว่าผู้ส่งออกสินค้า PVLT จากเวียดนามมีอัตราอากร AD อยู่ที่ 0-22.30% รวมทั้งพบว่ามีอัตราอากรจากการอุดหนุน (Countervailing Duty: CVD) อยู่ที่ 22.27%
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มิถุนายน 28, 2021, 04:31:47 PM โดย Rakayang.Com »