ส่งออกไทยไปจีนปี 56 ส่อหดตัว 1%
ข่าวเศรษฐกิจ หนังสือพิมพ์ไทยโพสต์ -- อังคารที่ 8 ตุลาคม 2556 00:00:01 น.
ที่มา ศูนย์วิจัยกสิกรไทย
บรรยากาศการค้าระหว่างไทยกับจีนยังค่อนข้างเปราะบาง แม้ว่าการส่งออกจะกลับมาขยายตัวในเดือนสิงหาคม 2556 มีมูลค่าส่งออก 2,405 ล้านดอลลาร์ สอดรับกับแรงกระเตื้องขึ้นของเศรษฐกิจจีน ที่มีปัจจัยหนุนจาก ???าคการส่งออกของจีนไปยังตลาดโลกช่วยดึงการผลิตในประ เทศส่งผลดีต่อสินค้าขั้นกลางไทยเข้าไปรองรับการผลิต อาทิ เค มี???ัณฑ์ เม็ดพลาสติก ผลิต???ัณฑ์ยาง
แต่ใน???าพรวมช่วง 8 เดือนแรกของปี 2556 การส่งออกยังคงหดตัว 2.9% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน มีมูลค่า 17,434.7 ล้านดอลลาร์ จากหลายปัจจัยฉุดรั้งตามโครงสร้างการส่งออกไทยไปจีนที่เริ่มผันเปลี่ยนไป และด้วยหลายปัจจัยที่เป็นแรงฉุดสำคัญตั้งแต่ต้นปี ศูนย์วิจัยกสิกรไทยจึงปรับประมาณการส่งออกของไทยไปจีนในปี 2556 อาจก้าวสู่แดนลบหดตัวที่ 1% โดยมีกรอบประมาณการอยู่ที่หดตัว 2.5% ถึงขยายตัวที่ 0.5%
ศูนย์วิจัยกสิกรไทยมองว่า การทยอยฟื้นตัวของเศรษฐกิจจีนผนวกกับการเร่งสะสมสต็อกในช่วงเทศกาลปลายปีอาจช่วยผลักดันการส่งออกไทยไปจีนในช่วงที่เหลือของปี 2556 ให้ปรับตัวดีขึ้น แต่ผลจากการปรับลดลงของราคายางพาราและการโยกย้ายฐานการผลิตของนักลงทุนในกลุ่มสินค้าคอมพิวเตอร์ยังคงเป็นแรงฉุดสำคัญในปีนี้ คาดว่า การส่งออกของไทยไปจีนตลอดปี 2556 อาจปรับตัวลดลงเหลือมูลค่าส่งออกราว 26,600 ล้านดอลลาร์ มีกรอบประมาณการอยู่ที่ระหว่าง 26,200-27,000 ล้านดอลลาร์
แรงฉุด???าพการส่งออกไทยไปจีนในช่วง 8 เดือนแรกของปี 2556 ที่สำคัญยังคงมาจากสินค้าคอมพิวเตอร์และส่วนประกอบที่หดตัวถึง 41.9% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากการโยกย้ายฐานการผลิตของผู้ประกอบการทั้งในไทยและในจีนไปยังประเทศเพื่อนบ้าน การส่งออกคอมพิวเตอร์และส่วนประกอบที่เคยเป็นสินค้าส่งออกไปจีนเป็นอันดับ 1 มีสัดส่วนที่สูงถึง 23.5% ในปี 2553 ได้ลดลงมาเป็นอันดับ 3 ด้วยสัดส่วนเพียง 10.9% ของการส่งออกทั้งหมดของไทยไปยังจีน นับเป็นประเด็นที่ต้องเฝ้าระวังในระยะข้างหน้าว่าไทยอาจสูญเสียส่วนแบ่งตลาดสินค้าในกลุ่มคอมพิวเตอร์และส่วนประกอบในตลาดจีน
อย่างไรก็ดี สัดส่วนการพึ่งพาสินค้าคอมพิวเตอร์และส่วนประกอบที่ปรับลดลงบางส่วนได้กระจายตัวไปเป็นสินค้ากลุ่มรองรับ???าคการผลิตอื่นๆ ตามโครงสร้างอุตสาหกรรมการผลิตของจีนที่เปลี่ยนไปและเศรษฐกิจจีนที่เริ่มปรับตัวดีขึ้น อาทิ เคมี???ัณฑ์ เม็ดพลาสติก ผลิต???ัณฑ์ยาง รวมถึงสัญญาณการขยายความเป็นเมืองตามแนวทางการพัฒนาเศรษฐกิจผลักดันความต้องการในกลุ่มไม้และผลิต???ัณฑ์เพื่อการก่อสร้างและทำเฟอร์นิเจอร์ และเครื่องใช้ไฟฟ้า เติบโตไปพร้อมกัน
สินค้าส่งออกของไทยที่ไปยังตลาดจีนเริ่มกระจายตัวไปในกลุ่มสินค้าเกษตรที่ไทยมีศักย???าพในการผลิตมากขึ้น โดยขยับสัดส่วนมาเป็นกว่า 23% ของการส่งออกทั้งหมดของไทยไปยังจีนในปัจจุบัน จาก 20% ในปี 2553 โดยเฉพาะสินค้าในกลุ่มยางพารา ผลิต???ัณฑ์มันสำปะหลัง และผลไม้เมืองร้อน
ในระยะข้างหน้าอาจเห็นการส่งออกของไทยไปยังตลาดจีนมีหลากหลายกลุ่มสินค้ามากขึ้น ไม่เพียงมีมูลค่าเพิ่มขึ้นเท่านั้นแต่ยังมีบทบาทต่อสัดส่วนการค้าใน???าพรวมการส่งออกของไทยด้วยเช่นกัน ซึ่งการกระจายโครงสร้างกลุ่มสินค้ายังช่วยลดการกระจุกตัวพึ่งพาสินค้าบางกลุ่มและเสริมศักย???าพการส่งออกสินค้าจากไทยไปยังตลาดจีนต่อไปในระยะยาวได้
"เซี่ยงไฮ้" เป็นพื้นที่เศรษฐกิจสำคัญที่จีนใช้เปิดตลาดสู่สากล มีความสะดวกในการประกอบธุรกิจมากกว่าพื้นที่อื่นในจีน เป็นทั้งศูนย์กลางการเงินของจีนแผ่นดินใหญ่ คับคั่งด้วยการลงทุนทางตรงจากต่างชาติ และเป็นทั้งเส้นทางขนส่งสินค้าระหว่างจีนกับตลาดโลก โดยเฉพาะด่านศุลกากรเซี่ยงไฮ้มีปริมาณการค้ากับต่างประเทศสูงที่สุดของจีนด้วยสัดส่วนการค้ารวมกว่า 17% ของมูลค่าการค้ารวมของจีน
ด้วยองค์ประกอบที่ครบครันในการเป็นศูนย์กลางธุรกิจของจีน การเปิดเขตการค้าเสรีนำร่องแห่งแรกของจีนที่ "เซี่ยงไฮ้" (Shanghai Free Trade Zone : SHFTZ) เมื่อวันที่ 29 กันยายน 2556 จึงเป็นจุดเริ่มต้นที่เอื้อประโยชน์จูงใจต่างชาติก้าวสู่แผ่นดินจีน
แต่นับจากวันที่ 1 ตุลาคม 2556 เป็นต้นไป ที่หลายมาตรการเริ่มมีผลบังคับใช้ จะยิ่งเอื้อประโยชน์ต่อธุรกิจไทยอาศัย เซี่ยงไฮ้เป็นทางผ่านสินค้าและแหล่งลงทุนใช้ประโยชน์จากพื้น ที่ดังกล่าวรุกเข้าสู่ตลาดจีนได้มากขึ้น ผ่านนโยบายการเปิดเสรีในด้านการค้า การลงทุน ???าคการเงินและโดยเฉพาะแนวทางการลดบทบาท???าครัฐบาล จะยิ่งเสริมให้???าคธุรกิจมีความคล่องตัว มีความสามารถทางการแข่งขันในเชิงธุรกิจ โดยจะมีการทยอยเปิดเผยรายละเอียดการเปิดเสรีเป็นลำดับไปในช่วงที่เหลือของปี 2556 นี้.