ผู้เขียน หัวข้อ: รัฐต้องแก้ปัญหาพืชเกษตรหลักก่อนสายไป  (อ่าน 1081 ครั้ง)

Rakayang.Com

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 85681
    • ดูรายละเอียด

วันจันทร์ที่ 7 ตุลาคม 2556
 
 
 
รัฐต้องแก้ปัญหาพืชเกษตรหลักก่อนสายไป
ชำแหละปัญหาพืชเกษตรหลัก รัฐต้องแก้ทั้งระบบก่อนสายเกินไป : ณัฎฐ์ชิตา เกิดแดง ... รายงาน
 
 
                           ประเทศไทยเป็นแหล่งผลิตอาหารและพืชผลทางการเกษตรที่สำคัญของโลก แต่สินค้าเกษตรหลักๆ ที่เป็นพืชเศรษฐกิจของไทย 5-6 ชนิด ทั้งข้าว ยางพารา มันสำปะหลัง ข้าวโพด อ้อย และน้ำตาล รวมถึงปาล์มน้ำมัน กลับประสบปัญหาราคาตกต่ำและมีเกษตรกรออกมาเรียกร้องให้???าครัฐเข้าไปอุดหนุนราคาเป็นประจำทุกปี ซึ่งมีการใช้เงินรวมกันแล้วไม่ต่ำกว่าปีละ 4 แสนล้านบาท ส่วนหนึ่งอาจเป็นเพราะประเทศไทยเน้นไปที่การแก้ปัญหาเฉพาะหน้า และมีเรื่องของการเมืองเข้ามาเกี่ยวข้อง ไม่มีการวางแผนเพื่อแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบในระยะยาว ทำให้ไทยสูญเสียโอกาสในการแข่งขันอย่างมาก
                           นายสุพัฒน์ เอี้ยวฉาย ผู้ช่วยผู้จัดการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) กล่าวว่า ปัญหาของราคาสินค้าเกษตรตกต่ำที่ต้องเผชิญเป็นประจำทุกปี อยู่ที่ว่าปริมาณผลผลิตสอดคล้องกับการใช้ในประเทศและความต้องการของตลาดโลกหรือไม่ ซึ่งเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นซ้ำซาก ทั้งเรื่องของราคาสินค้าเกษตรตกต่ำ การเรียกร้องให้รัฐเข้าไปช่วยเหลือ รวมถึงการใช้เม็ดเงินเข้าไปอุดหนุนก็มักจะเป็นช่วงที่ผลผลิตของพืชเกษตรออกสู่ตลาดพร้อมกันในปริมาณมาก และต้องยอมรับว่าประเทศไทยยังไม่มีหน่วยงานใดที่ทำหน้าที่ประเมินวิเคราะห์สถานการณ์ทุกด้านเพื่อบริการจัดการผลิตให้สอดคล้องกัน เช่น มีการใช้ในประเทศจำนวนเท่าใด ส่งออกไปขายต่างประเทศปริมาณเท่าใด เพื่อดูแลให้ระดับราคามีความเหมาะสมและเกษตรกรอยู่ได้ เป็นต้น
                           สำหรับพืชเกษตรหลักของไทยที่เป็นพืชเศรษฐกิจและมักจะเกิดปัญหาเป็นประจำทุกปี ได้แก่ ข้าว ข้าวโพด ยางพารา ปาล์ม มันสำปะหลัง และอ้อย แต่บางตัวก็ไม่เกิดปัญหาอย่างข้าวโพด มันสำปะหลัง ที่จริงๆ แล้วปริมาณความต้องการยังมากกว่าผลผลิต ทำให้ช่วง 2 ปีที่ผ่านมาไม่มีปัญหา แต่ปีนี้พบว่าสินค้าทั้ง 2 ประเ???ทก็ประสบกับปัญหาราคาตกต่ำเช่นกัน ขณะที่วิธีการช่วยเหลือของ???าครัฐก็จะมีทั้งการรับจำนำ การประกันราคาและการชดเชยต้นทุนการผลิต ซึ่งถือเป็นเครื่องมือที่ดีหากนำมาใช้ในจังหวะที่เหมะสมและใช้เพียงช่วงระยะสั้นๆ เท่านั้น
 
ชี้ช่องลดพื้นที่ปลูกข้าวเน้นคุณ???าพ
 
                           นายสุพัฒน์กล่าวถึงกรณีของข้าวที่รัฐบาลเข้าไปแทรกแซงด้วยการรับจำนำทุกเม็ดว่า ทำให้เกิดปัญหาราคาข้าวที่รับซื้อสูงกว่าราคาตลาด และส่งผลถึงการระบายหรือขายข้าวไปยังต่างประเทศ รวมถึงปัญหาเรื่องของการใช้เงินแต่ละปีที่สูงถึง 3 แสนกว่าล้านบาท โดยเฉพาะในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา ทำให้ล่าสุดรัฐบาลส่งสัญญาณรับจำนำแบบจำกัดปริมาณต่อครัวเรือนเหลือไม่เกิน 3.5 แสนบาทในรอบแรกและ 3 แสนบาทในรอบสองต่อรายแทน ขณะที่ราคาเริ่มลดลงจากรอบแรก 1.5 หมื่นบาทต่อตัน เหลือ 1.3 หมื่นบาทต่อตันในรอบสอง ซึ่งในอนาคตการจำนำก็คงต้องยกเลิกไปในที่สุด แต่ต้องทำแบบค่อยเป็นค่อยไป เพราะรัฐบาลคงไม่กล้ายกเลิกในทันที
                           "จากการสำรวจความเห็นของกลุ่มชาวนาส่วนใหญ่พอใจและไม่อยากให้รัฐบาลยกเลิกการรับจำนำ เพราะการรับจำนำในราคาสูงเป็นหลักประกันว่าเขาจะมีรายได้แน่นอน ทั้งๆ ที่จริงๆ แล้วราคาที่จำนำนั้นสูงกว่าราคาตลาดถึง 40% และสูงกว่าต้นทุนการผลิตบวกกำไรค่อนข้างมาก? นายสุพัฒน์กล่าว
                           ทั้งนี้ ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมารัฐบาลใช้เงินปีละกว่า 3.3 แสนล้านบาทในการรับจำนำข้าวประมาณ 22 ล้านตัน จากผลผลิตข้าวทั้งหมด 36 ล้านตัน จึงมีคำถามว่าอีก 10 กว่าล้านตันที่ขายผ่านกลไกตลาด หรือโรงสีทำไมชาวนายังอยู่ได้ ทั้งที่ขายข้าวได้ในราคาต่ำกว่าจำนำ หรือไม่ถึงหมื่นบาทต่อตัน เหตุที่อยู่ได้เป็นเพราะต้นทุนการผลิตที่เคยสอบถามจากชาวนาอยู่ที่ประมาณ 6,000-7,000 บาทต่อตันเท่านั้น
                           ?มองว่าเรื่องราคารับจำนำสูงๆ ไม่ใช่ประเด็น แต่ควรจะกำหนดให้เป็นราคาที่เกษตรกรอยู่ได้ เช่น ราคาต้นทุนบวกกำไร 30% เพราะจากงานวิจัยล่าสุดก็พบว่าต้นทุนการทำนาสูงขึ้นจริงทั้งจากค่าปุ๋ย ค่าแรง ค่าขนส่งและค่าเช่าที่ดินที่นายทุนต่างปรับให้สูงขึ้นตามราคาจำนำข้าวด้วย ทำให้เกษตรกรเหลือส่วนต่างรายได้น้อยลง?
                           นอกจากนั้น การดูแลเสถียร???าพของราคาสินค้าเกษตรด้วยการจำนำต้องทำแล้วดึงสินค้าราคาในตลาดสูงขึ้นได้ เพราะเป็นการดึงปริมาณผลผลิตออกจากตลาด อย่างข้าวรัฐบาลรับจำนำทุกเม็ดก่อนหน้านี้เท่ากับดึงข้าวเข้ามาในสต็อกเกือบทั้งหมดแต่ราคาในตลาดก็ยังไม่ขยับขึ้นและยังต่ำกว่าราคาจำนำถึง 40% ทางที่ดีควรให้เอกชนเข้ามาเป็นกลไกในการช่วยให้ราคาสินค้าสะท้อนความเป็นจริง แต่ที่ผ่านมากลไกของ???าคเอกชนและ???าคการส่งออกไม่ทำงาน การส่งสัญญาณว่าจะไม่รับจำนำทุกเม็ดน่าจะทำให้เอกชนแข่งขันกันรับซื้อข้าวจากเกษตรกรมากขึ้น
                           ส่วนการแก้ปัญหาในระยะยาวอย่างเรื่องการจัดโซนนิ่งลดพื้นที่ปลูกข้าวลงนั้น เป็นแนวทางที่ถูกต้อง โดยปัจจุบันมีพื้นที่ปลูกข้าวมากถึง 79.76 ล้านไร่ เกษตรกร 3.73 ล้านครัวเรือน มีผลผลิต 36.85 ล้านตัน แต่ปัญหาขณะนี้คือ???าพของโซนนิ่งยังไม่ชัดเจน หากเป็นไปได้รัฐบาลควรประกาศยุทธศาสตร์ข้าวไทยใหม่ โดยลดพื้นที่เพาะปลูกลง ไม่เน้นปริมาณแต่เน้นคุณ???าพแทน เช่น ปัจจุบันไทยมีพื้นที่ปลูกข้าวมากกว่า 60 ล้านไร่ ???ายใน 3-5 ปีควรลดเหลือเพียง 40 ไร่ หรือลดไป 30% และแต่ละ???าคควรกำหนดให้ปลูกข้าวขึ้นชื่อของพื้นที่นั้นๆ เช่น ???าคเหนือและอีสานปลูกข้าวหอมมะลิ ???าคกลางปลูกข้าวหอมปทุม ซึ่งเป็นข้าวที่ตลาดต้องการ ส่วนข้าวอื่นๆ ควรเลิกปลูกและเอาพื้นที่ไปปลูกพืชอย่างอื่นแทน
                           นายสุพัฒน์กล่าวว่า รัฐบาลขาดทุนจากการดำเนินโครงการจำนำข้าวประมาณปีละ 1 แสนล้านบาทอยู่แล้ว หากนำเงินจำนวนนี้มาแบ่งเป็น 2 ส่วนเพื่อใช้ดูแลเสถียร???าพราคาข้าวโดย 60% หรือ 7.5 หมื่นล้านบาท นำมาใช้สนับสนุนให้กลไกตลาดทำงาน และอีก 2.5 หมื่นล้านบาทนำมาช่วยลดต้นทุนการผลิตให้เกษตรกร ทั้งปรับปรุงแปลงนา อุดหนุนปุ๋ย ต้นกล้า พัฒนาแหล่งน้ำเพื่อเพิ่มผลผลิตจาก 500 กิโลกรัมต่อไร่ให้เป็น 600-800 กิโลต่อไร่ ซึ่งหากปริมาณข้าวในระบบลดลงราคาก็จะสูงขึ้นและเข้าสู่จุดสมดุลได้เองในอนาคต
 
หนุนเลิกเพิ่มพื้นที่ยาง-เน้นแปรรูป
 
                           นายสุพัฒน์ กล่าวถึงผลผลิตยางพาราที่มีปัญหาในปีนี้ว่า สาเหตุหลักมาจากความต้องการซื้อจากต่างประเทศที่ลดลงมาตาม???าวะเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัว โดยเฉพาะประเทศใหญ่ๆ เพราะยางเป็นสินค้าที่สะท้อนเศรษฐกิจและ???าคอุตสาหกรรมได้ดี ทำให้ราคามีความผันผวนสูงสุดในบรรดาสินค้าเกษตรด้วยกัน ที่สำคัญยางพาราของไทยส่วนใหญ่จะเน้นพึ่งพาการส่งออกกว่า 90% โดยเฉพาะจีน ญี่ปุ่น สหรัฐ ถือเป็นตลาดหลักของไทย เมื่อประเทศเหล่านี้เศรษฐกิจชะลอตัวก็ลดการซื้อลง ทำให้ราคายางในประเทศอ่อนตัวลงมาอยู่ที่ 78 บาทต่อกิโลกรัม จึงเกิดปัญหาการชุมนุมและเรียกร้องให้รัฐเข้าไปรับซื้อหรือประกันราคาที่ 100 บาทต่อกิโลกรัม
                           อย่างไรก็ตาม สุดท้ายรัฐบาลได้มีมาตรการช่วยเหลือชาวสวนยางทั้งระบบ ด้วยการชดเชยต้นทุนการผลิตให้กิโลละ 12 บาท หรือชาวสวนจะได้ราคายางอยู่ที่ 90 บาทต่อกิโลกรัม ทำให้เกษตรกรชาวสวนยางได้รับเงินชดเชย 2,520 บาทต่อไร่ รายละไม่เกิน 25 ไร่ จำนวนเกือบ 1 ล้านราย รัฐบาลต้องใช้เงินกว่า 2.1 หมื่นล้านบาท ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างขึ้นทะเบียนสำรวจคุณสมบัติและทยอยจ่ายเงินโดย ธ.ก.ส.
                           ?ในช่วงที่ยางราคาดีตาม???าวะเศรษฐกิจโลกนั้นเคยขึ้นไปถึงกิโลกรัมละ 120 บาท ซึ่งไม่ใช่ราคาที่แท้จริงเกษตรกรไม่ควรยึดติดกับราคาดังกล่าว เห็นว่าราคาที่รับได้ควรอยู่ที่ 90-100 บาท เพราะต้นทุนการผลิตอยู่ที่  60-70 บาทเท่านั้น หากราคาอยู่ที่ 85-90 บาทเกษตรกรก็ยังอยู่ได้?
                           นายสุพัฒน์กล่าวต่อว่า การชดเชยต้นทุนการผลิตเป็นเพียงการช่วยเหลือเกษตรกรในช่วงสั้น ส่วนการแก้ปัญหาราคายางตกต่ำระยะยาวต้องมีมาตรการอื่นเข้ามาเสริมด้วย เช่น การหยุดเก็บเงินเซสส์จากผู้ส่งออกชั่วคราว เพื่อช่วยลดต้นทุนการส่งออกให้???าคเอกชน ในอนาคตเห็นว่าควรทบทวนอัตราการจัดเก็บเงินเซสส์ให้เหมาะสมด้วย รวมทั้งการควบคุมพื้นที่ปลูกยางจากปัจจุบันที่มีถึง 18 ล้านไร่ ใน 43 จังหวัด
                           ก่อนหน้านี้ รัฐบาลมีการส่งเสริมให้ปลูกยางรอบแรกไปแล้ว 1 ล้านไร่ ส่วนรอบ 2 อีก 8 แสนไร่นั้นเริ่มปลูกไปแล้ว 2 แสนไร่ ล่าสุดรัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเห็นตรงกันให้ยุติการขยายพื้นที่ปลูกอีก 6 แสนไร่ที่เหลือ โดยรัฐจะยกเลิกการอุดหนุนทั้งหมด ซึ่งมองว่าเป็นการส่งสัญญาณที่ถูกต้อง และรัฐควรหันไปสนับสนุนอุตสาหกรรมเกี่ยวเนื่องกับยาพาราแทน เช่น อุตสาหกรรมผลิตยางรถยนต์รัฐควรดึงให้บริษัทใหญ่ๆ มาลงทุนในประเทศไทย เพราะมีทั้งวัตถุดิบและความพร้อมทางด้านอื่นๆ เพื่อให้ไทยเป็นฐานการผลิตของสินค้าที่ทำจากยางพาราในอนาคต
 
ข้าวโพดปัญหาน้อยแค่เกาะกระแส
 
                           สำหรับข้าวโพดที่กำลังมีปัญหาชุมนุมเรียกร้องของเกษตรกรให้รัฐเข้าไปพยุงราคาเพิ่มเป็นกิโลกรัมละ 8 บาทสำหรับความชื้น 30% และ 10 บาทสำหรับความชื้น 14.5% และเพิ่มปริมาณเข้าโครงการแต่ละรายเป็น 30 ตัน เพราะไม่พอใจมาตรการช่วยเหลือก่อนหน้านี้ที่กำหนดช่วยไม่เกินคนละ 25 ตัน และราคาข้าวโพดความชื้น 30% ให้อยู่ที่ 7 บาทต่อกก. ความชื้น 14.5% อยู่ที่ 9 บาทต่อกก. ใช้เงินประมาณ 1,900 ล้านบาท จนกระทั่งล่าสุดรัฐยอมผ่อนปรนช่วยเหลือและใช้เงินเพิ่มเป็น 2,400 ล้านบาท เพื่อให้การชุมนุมยุติลง
                           นายสุพัฒน์กล่าวว่า จริงๆ แล้วข้าวโพดน่าจะเป็นสินค้าเกษตรที่มีปัญหาน้อยที่สุด เพราะปริมาณผลผลิตมีน้อยกว่าความต้องการของตลาดและการขยายตัวของอุตสาหกรรมอาหารสัตว์ ทำให้ที่ผ่านมาต้องมีการนำเข้าจากประเทศเพื่อนบ้านด้วยซ้ำ เนื่องจากพื้นที่เพาะปลูกในไทยมีเพียง 7.19 ล้านไร่ ส่วนหนึ่งเป็นเพราะเกษตรกรหันไปปลูกยาง อ้อยและมันสำปะหลังเพราะเห็นว่าได้ราคาดีกว่าแทน
                           ?ข้าวโพดน่าจะมีปัญหาน้อยที่สุดและจะเกิดขึ้นช่วงที่ผลผลิตทะลักออกสู่ตลาดพร้อมๆ กันคือในช่วงนี้ ทำให้รัฐบาลต้องเข้าไปพยุงราคาบ้าง แต่จะใช้เงินไม่มากนัก และที่เรียกร้องการช่วยเหลือเพิ่มเติมก็เพราะเห็นว่าพืชชนิดอื่นเรียกร้องแล้วได้จึงเอาแบบอย่างบ้าง ขณะที่ต้นทุนการผลิตของข้าวโพดต่อไร่จริงๆ แล้วอยู่ที่  6.39 บาทต่อกก. เท่านั้น? นายสุพัฒน์กล่าว
                           สำหรับพื้นที่ปลูกข้าวโพดของไทยอยู่ที่ 7.19 ล้านไร่ ผลผลิต 4.88 ล้านตัน แม้ไทยจะมีส???าพพื้นที่เหมาะสมในการปลุกแต่ยังมีปัญหาเรื่องของต้นการผลิต การดูแลรักษายากกว่าพืชชนิดอื่นทำให้เกษตรกรหันไปปลูกพืชชนิดอื่นแทน
 
มันสำปะหลังอนาคตไปได้สวย
 
                           นายสุพัฒน์กล่าวถึงพืชมันสำปะหลังว่า ค่อนข้างมีปัญหาเป็นประจำทุกปี โดยเฉพาะในช่วงเดือนพฤศจิกายน-ธันวาคม ที่จะมีผลผลิตออกมามากและจะมีปัญหาราคาตกต่ำประมาณ 4 เดือนคือ ธันวาคม-มีนาคม ทั้งๆ ที่มันสำปะหลังสามารถขุดขายได้ตลอดทั้งปี ทำให้ช่วงที่เกิดปัญหารัฐก็ต้องยื่นมือเข้าไปช่วยเหลือทั้งการรับจำนำและการชดเชยต้นทุนการผลิต ส่วนปีนี้ก็มีแนวโน้มที่จะต้องเข้าไปช่วยเหลือเช่นกัน โดยอยู่ระหว่างพิจารณาแนวทางที่เหมาะสมในการดึงราคาในตลาดให้ขยับขึ้น ขณะที่ปีที่ผ่านมาใช้วิธีรับจำนำและใช้เงินไปกว่า 2.7 หมื่นล้านบาท
                           อย่างไรก็ตาม ต้องยอมรับว่าการรับจำนำมันสำปะหลังมีการออกแบบและขั้นตอนดำเนินการที่รัดกุมกว่าการรับจำนำข้าวมากทำให้ไม่ค่อยเกิดปัญหา โดยเฉพาะการกำหนดวงเงินที่ใช้และขีดเส้นช่วงเวลาที่ชัดเจน เช่น เดือนแรกรับจำนำที่ 2.65 บาทต่อกก. เดือนที่ 2 เพิ่มอีก 5 สตางค์ เดือนที่ 3 เพิ่มอีก 5 สตางค์ ซึ่งวิธีการนี้จะช่วยชะลอการขุดหัวมันได้ เพราะเกษตรกรจะสามารถวางแผนการขุดหัวมันในราคาที่ตัวเองพอใจ
                           ทั้งนี้ ประเทศไทยมีพื้นที่ปลูกมันสำปะหลัง 8.6 ล้านไร่ 5 แสนกว่าครัวเรือน มีผลผลิตปีละ 27.5 ล้านตัน มีต้นทุนการผลิตอยู่ที่ 1.798 บาทต่อกก. ปัญหาของมันสำปะหลังคือผลผลิตต่อไร่ยังต่ำ ต้นทุนต่อหน่วยสูง แต่จากความต้องการของตลาดต่างประเทศที่เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง รวมถึงกระแสการใช้พลังงานทดแทนจากเอทานอล ทำให้มองว่ามันสำปะหลังเป็นพืชที่น่าจะมีอนาคตที่สุดของไทย เพราะไทยเป็นผู้ผลิตและส่งออกรายใหญ่ แต่เพื่อดูแลให้ราคามีเสถียร???าพรัฐบาลก็ต้องวางแผนการใช้มันสำปะหลังให้เหมาะสม ว่าควรนำไปใช้บริโ???คเท่าไหร่ ใช้ผลิตพลังงานทดแทนเท่าไหร่ โดยประสานงานกับกระทรวงพลังงานให้ชัดเจน รวมทั้งต้องเร่งเพิ่มประสิทธิ???าพการผลิตเพื่อลดต้นทุนให้เกษตรกรก็น่าจะช่วยแก้ปัญหาในระยะยาวได้
 
"น้ำตาล"สินค้าเพื่อความมั่นคงต้องดูแล
 
                           สำหรับพืชอ้อยและน้ำตาลนั้น ถือเป็นสินค้าด้านความมั่นคงของประเทศและมีกองทุนอ้อยและน้ำตาลทรายคอยดูแลเป็นการเฉพาะอยู่แล้ว จึงมีความแตกต่างจากพืชชนิดอื่นๆ โดยราคาน้ำตาลจะขึ้นอยู่กับตลาดโลก และราคาในตลาดโลกจะมีผลกับราคารับซื้ออ้อยในประเทศ โดยปีนี้มีแนวโน้มราคาตลาดโลกจะปรับลดลงต่ำกว่าที่ประมาณการไว้ ทำให้การประกาศราคารับซื้ออ้อยขั้นต้นที่กำลังดำเนินการอยู่น่าจะออกมาต่ำกว่าที่ควรจะเป็น ซึ่งหากราคาต่ำกว่าตันละ 1,000 บาทจะทำให้เกษตรกรขาดทุน และในปีนี้อาจอยู่ที่ 800 กว่าบาทเท่านั้น ดังนั้น กองทุนฯคงต้องเข้าไปอุดหนุนราคาให้ชาวไร่อ้อยอยู่ได้ ตามปกติทุกปีกองทุนจะมากู้เงินจากธ.ก.ส.ประมาณ 1.5- 2 หมื่นล้านบาท โดยจะเก็บเงินจากผู้ประกอบการโรงงานน้ำตาลเข้ากองทุนเพื่อนำมาชำระหนี้คืนให้ ธ.ก.ส.หมุนเวียนเป็นประจำทุกปี จึงถือเป็นพืชที่มีกลไกการช่วยเหลือชัดเจน เป็นระบบและไม่น่าเป็นห่วง
                           ทั้งนี้ ปัจจุบันอ้อยมีพื้นที่เพาะปลูกจำนวน 8 ล้านไร่ เกษตรกร  2.2 แสนครัวเรือน ปริมาณผลผลิตอยู่ที่ 98.4 ล้านตัน ต้นทุนการผลิตอยู่ที่ 711 บาทต่อไป แม้จะเป็นพืชที่ปลูกได้ผลผลิตดีในไทยแต่ยังมีจุดอ่อนที่ผลผลผลิตต่อไร่ต่ำ ต้นทุนการผลิตสูง และการส่งออกของไทยยังแคบอีกทั้งมีคู่แข่งมาก ทำให้เกษตรกรไทยต้องเร่งปรับตัวเพื่อลดต้นการผลิตเพื่อให้สามารถแข่งขันได้ในอนาคต
 
 
-------------------------
(ชำแหละปัญหาพืชเกษตรหลัก รัฐต้องแก้ทั้งระบบก่อนสายเกินไป : ณัฎฐ์ชิตา เกิดแดง ... รายงาน)