ผู้เขียน หัวข้อ: สรุปภาวะตลาดหุ้น น้ำมัน ทองคำ และตลาดเงินต่างประเทศ ประจำวันเสาร์ที่ 9 พฤษภาคม 2563  (อ่าน 501 ครั้ง)

Rakayang.Com

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 83203
    • ดูรายละเอียด

***น้ำมัน WTI ปิดบวก $1.19 ขานรับรายงานแท่นขุดเจาะน้ำมันในสหรัฐลดลงอีกสัปดาห์นี้

Saturday May 9, 2020

ภาวะตลาดน้ำมัน: น้ำมัน WTI ปิดบวก $1.19 ขานรับรายงานแท่นขุดเจาะน้ำมันในสหรัฐลดลงอีกสัปดาห์นี้
สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาดนิวยอร์กปิดเพิ่มขึ้นเมื่อคืนนี้ (8 พ.ค.) หลังเบเกอร์ ฮิวจ์ ซึ่งเป็นผู้ให้บริการขุดเจาะน้ำมันของสหรัฐเปิดเผยว่า แท่นขุดเจาะน้ำมันและก๊าซธรรมชาติในสหรัฐที่มีการใช้งาน มีจำนวนลดลงอีกในสัปดาห์นี้ นอกจากนี้ ราคาน้ำมันยังได้แรงหนุนจากความเชื่อมั่นเกี่ยวกับการปรับลดการผลิต และความต้องการใช้น้ำมันเบนซินที่เพิ่มขึ้นในสหรัฐ

สัญญาน้ำมันดิบ WTI ส่งมอบเดือนมิ.ย. เพิ่มขึ้น 1.19 ดอลลาร์ หรือ 5.1% ปิดที่ 24.74 ดอลลาร์/บาร์เรล

สัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ส่งมอบเดือนก.ค. เพิ่มขึ้น 1.51 ดอลลาร์ หรือ 5.1% ปิดที่ 30.97 ดอลลาร์/บาร์เรล

ในรอบสัปดาห์นี้ สัญญาน้ำมันดิบ WTI ปรับตัวขึ้น 25.1% และสัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ เพิ่มขึ้น 17.1%

เบเกอร์ ฮิวจ์ ซึ่งเป็นผู้ให้บริการขุดเจาะน้ำมันของสหรัฐเปิดเผยว่า แท่นขุดเจาะน้ำมันและก๊าซธรรมชาติในสหรัฐที่มีการใช้งาน มีจำนวนลดลง 34 แท่นในสัปดาห์นี้ สู่ระดับ 374 แท่น ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ นับตั้งแต่เริ่มมีการบันทึกข้อมูลดังกล่าวเมื่อปี 2483 หรือ 80 ปีก่อน

นอกจากนี้ ตลาดน้ำมันยังได้แรงหนุนจากการที่ไอเอชเอส มาร์กิตคาดว่า จะมีการปรับลดการผลิตน้ำมันดิบทั่วโลกเกือบ 14 ล้านบาร์เรลต่อวันในช่วงเดือนเม.ย.-มิ.ย. ขณะที่คาดว่าอุปสงค์น้ำมันในไตรมาส 2/2563 จะยังคงน้อยกว่าปีที่แล้ว 22 ล้านบาร์เรลต่อวัน

นอกจากนี้ ราคาน้ำมันยังได้ปัจจัยหนุนจากการที่บริษัทน้ำมันของสหรัฐได้เริ่มปรับลดการผลิตน้ำมัน ขณะที่ซาอุดีอาระเบียปรับเพิ่มราคาน้ำมันอย่างเป็นทางการ

สำนักงานสารสนเทศด้านการพลังงานของรัฐบาลสหรัฐ (EIA) เปิดเผยว่า การผลิตน้ำมันของสหรัฐลดลง 200,000 บาร์เรล/วันในสัปดาห์ที่แล้ว สู่ระดับ 11.9 ล้านบาร์เรล/วัน โดยเอ็กซอน เชฟรอน และโคโนโคฟิลิปส์ต่างก็ปรับลดการผลิตน้ำมัน ท่ามกลางราคาที่ตกต่ำลง

นอกจากนี้ EIA ยังเปิดเผยว่า น้ำมันดิบในสต็อกของสหรัฐเพิ่มขึ้นน้อยกว่าคาดในสัปดาห์ที่แล้ว

ทางด้านกลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน (โอเปก) และชาติพันธมิตร หรือโอเปกพลัส ได้เริ่มปรับลดกำลังการผลิตน้ำมัน 9.7 ล้านบาร์เรล/วันแล้วตั้งแต่วันที่ 1 พ.ค.ที่ผ่านมา ขณะที่นอร์เวย์และแคนาดาก็ได้ร่วมปรับลดกำลังการผลิตลงด้วยเช่นกัน

***นลท.คลายกังวลสงครามการค้าหนุนดาวโจนส์พุ่งกว่า400จุด

นักลงทุนคลายกังวลสงครามการค้าหนุนดาวโจนส์พุ่งกว่า400จุด และนักลงทุนยังมองว่าภาวะย่ำแย่ที่สุดที่เกิดจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 และผลกระทบที่มีต่อเศรษฐกิจได้ผ่านพ้นไปแล้ว

ดัชนีดาวโจนส์ ปิดตลาดวันศุกร์ (8พ.ค.) พุ่งขึ้นกว่า 400 จุด แม้มีการเปิดเผยตัวเลขการจ้างงานที่ซบเซา ขณะที่นักลงทุนมองว่าภาวะย่ำแย่ที่สุดที่เกิดจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 และผลกระทบที่มีต่อเศรษฐกิจได้ผ่านพ้นไปแล้ว และนักลงทุนยังคลายความวิตกเกี่ยวกับการทำสงครามการค้าระหว่างสหรัฐและจีน หลังจากที่เจ้าหน้าที่การค้าของทั้งสองประเทศยืนยันความร่วมมือในการส่งเสริมเศรษฐกิจมหภาคเพื่อเอื้ออำนวยต่อการดำเนินการตามข้อตกลงการค้าเฟสแรก

ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ ปรับตัวขึ้น 455.43 จุดหรือ 1.91% ปิดที่ 24,331.32 จุด ดัชนีเอสแอนด์พี 500 เพิ่มขึ้น 48.61 จุดหรือ 1.69% ปิดที่ 2,929.8 จุด และดัชนีแนสแด็กเพิ่มขึ้น 141.66 จุด หรือ 1.58% ปิดที่ 9,121.32 จุด

ทั้งนี้ หุ้นกลุ่มที่จะได้รับประโยชน์จากการเปิดเศรษฐกิจสหรัฐอีกครั้ง ปรับตัวขึ้นในการซื้อขายวันนี้

นายหลิว เหอ รองนายกรัฐมนตรีจีน และหัวหน้าคณะเจรจาการค้าระหว่างจีนและสหรัฐ ได้สนทนาทางโทรศัพท์กับนายโรเบิร์ต ไลท์ไฮเซอร์ ผู้แทนการค้าสหรัฐ และนายสตีเวน มนูชิน รัฐมนตรีคลังสหรัฐ ในวันนี้ ซึ่งทั้งสองฝ่ายได้ตกลงกันว่าจะร่วมมือกันในการส่งเสริมเศรษฐกิจมหภาคเพื่อสร้างบรรยากาศและภาวะต่างๆ ที่เอื้ออำนวยกับการดำเนินการตามข้อตกลงการค้าเฟสแรกระหว่างจีนและสหรัฐ

นอกจากนี้ เจ้าหน้าที่จีนและสหรัฐยังตกลงร่วมกันว่า ทั้งสองฝ่ายจะยังคงติดต่อสื่อสารและประสานงานกันอย่างต่อเนื่อง ซึ่งภายใต้ข้อตกลงการค้าเฟสแรกที่จีนและสหรัฐได้ลงนามร่วมกันเมื่อเดือนม.ค.ที่ผ่านมานั้น จีนได้ตกลงที่จะเพิ่มคำสั่งซื้อสินค้าและบริการจากสหรัฐในช่วง 2 ปีข้างหน้าอีกอย่างน้อย 2 แสนล้านดอลลาร์ ซึ่งรวมถึงสินค้าเกษตรมูลค่า 3.2 หมื่นล้านดอลลาร์ โดยคาดว่าการดำเนินการดังกล่าวจะช่วยให้สหรัฐลดการขาดดุลการค้ากับจีน

นอกจากนี้ ข้อตกลงดังกล่าวยังระบุด้วยว่า จีนได้ให้คำมั่นสัญญาว่าจะเปิดเสรีภาคบริการการเงิน รวมทั้งแก้ไขประเด็นที่จีนถูกกล่าวหาเกี่ยวกับการบังคับถ่ายโอนเทคโนโลยี และการปั่นค่าเงินเพื่อหนุนการส่งออก

ด้านกระทรวงแรงงานสหรัฐรายงานว่า ตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรดิ่งลง 20.5 ล้านตำแหน่งในเดือนเม.ย. ซึ่งเป็นตัวเลขการจ้างงานที่ย่ำแย่ที่สุดในประวัติศาสตร์สหรัฐ

อย่างไรก็ดี ตัวเลขการจ้างงานในเดือนเม.ย.ดีกว่าที่นักวิเคราะห์คาดว่าจะร่วงลง 21.5 ล้านตำแหน่ง

ส่วนอัตราการว่างงานพุ่งขึ้นสู่ระดับ 14.7% ในเดือนเม.ย. ซึ่งสูงกว่าระดับ 10.8% ซึ่งเป็นอัตราการว่างงานสูงสุดในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 แต่ต่ำกว่าระดับ 24.9% ซึ่งเป็นตัวเลขอัตราการว่างงานในช่วงเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ ส่วนตัวเลขอัตราการว่างงานสูงสุดในช่วงเกิดวิกฤตการเงินในเดือนต.ค.2552 อยู่ที่ระดับ 10%

ก่อนหน้านี้ นักวิเคราะห์คาดการณ์ว่าอัตราการว่างงานจะพุ่งขึ้นแตะระดับ 16% ในเดือนเม.ย. หลังจากอยู่ที่ระดับ 4.4% ในเดือนมี.ค. ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่เดือนส.ค.2560 ขณะที่แตะระดับ 3.5% ในเดือนก.พ. ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดในรอบ 50 ปี

การทรุดตัวลงของตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรมีสาเหตุจากการที่ภาคธุรกิจได้พากันปิดกิจการ จากมาตรการล็อกดาวน์ของรัฐบาลเพื่อควบคุมการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ซึ่งทำให้มีการปลดพนักงานจำนวนมาก

ทั้งนี้ จำนวนคนว่างงานในเดือนเม.ย.พุ่งสู่ระดับ 23.1 ล้านราย เพิ่มขึ้น 15.9 ล้านรายเมื่อเทียบกับเดือนมี.ค.

***ภาวะตลาดหุ้นนิวยอร์ก: ดาวโจนส์ปิดพุ่ง 455.43 จุด ขานรับข้อมูลจ้างงานร่วงน้อยกว่าคาด
          ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดพุ่งขึ้นเมื่อคืนนี้ (8 พ.ค.) หลังกระทรวงแรงงานสหรัฐเปิดเผยตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรเดือนเม.ย.ร่วงลงน้อยกว่าที่วิตกกัน นอกจากนี้ ตลาดยังได้แรงหนุนจากข่าวที่ว่า ผู้แทนการค้าสหรัฐและจีนได้หารือกันเกี่ยวกับข้อตกลงการค้าเฟสแรก โดยจีนระบุว่า ทั้งสองฝ่ายได้ตกลงที่จะปรับปรุงบรรยากาศเพื่อส่งเสริมการปฏิบัติตามข้อตกลงดังกล่าว
          ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 24,331.32 จุด เพิ่มขึ้น 455.43 จุด หรือ +1.91%, ดัชนี S&P500 ปิดที่ 2,929.80 จุด เพิ่มขึ้น 48.61 จุด หรือ +1.69% และดัชนี Nasdaq ปิดที่ 9,121.32 จุด เพิ่มขึ้น 141.66 จุด หรือ +1.58%
          ในรอบสัปดาห์นี้ ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ ปรับตัวขึ้น 2.6%, ดัชนี S&P500 เพิ่มขึ้น 3.5% และดัชนี Nasdaq พุ่งขึ้น 6%
          ตลาดหุ้นนิวยอร์กปรับตัวขึ้น แม้มีการเปิดเผยตัวเลขการจ้างงานที่ซบเซา เนื่องจากนักลงทุนมองว่า ภาวะย่ำแย่ที่สุดที่เกิดจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 และผลกระทบที่มีต่อเศรษฐกิจได้ผ่านพ้นไปแล้ว
          ตลาดยังได้รับแรงหนุนจากการผ่อนคลายมาตรการล็อกดาวน์ของสหรัฐ และประเทศต่างๆ รวมทั้งการดีดตัวขึ้นของราคาน้ำมัน ซึ่งพุ่งขึ้นมากกว่า 20% แล้วในสัปดาห์นี้
          นอกจากนี้ นักลงทุนยังคลายความวิตกเกี่ยวกับการทำสงครามการค้าระหว่างสหรัฐและจีน หลังจากที่เจ้าหน้าที่การค้าของทั้งสองประเทศยืนยันจะร่วมมือกันในการส่งเสริมเศรษฐกิจมหภาคเพื่อให้เอื้ออำนวยต่อการดำเนินการตามข้อตกลงการค้าเฟสแรก
          นายหลิว เหอ รองนายกรัฐมนตรีจีน และหัวหน้าคณะเจรจาการค้าระหว่างจีนและสหรัฐ ได้สนทนาทางโทรศัพท์กับนายโรเบิร์ต ไลท์ไฮเซอร์ ผู้แทนการค้าสหรัฐ และนายสตีเวน มนูชิน รัฐมนตรีคลังสหรัฐเมื่อวันศุกร์ ซึ่งทั้งสองฝ่ายได้ตกลงกันว่าจะร่วมมือกันในการส่งเสริมเศรษฐกิจมหภาคเพื่อสร้างบรรยากาศและภาวะต่างๆ ที่เอื้ออำนวยกับการดำเนินการตามข้อตกลงการค้าเฟสแรกระหว่างจีนและสหรัฐ
          หุ้นทั้ง 11 กลุ่มของดัชนี S&P 500 ปิดบวก นำโดยหุ้นกลุ่มพลังงาน
          การพุ่งขึ้นของหุ้นแอปเปิลช่วยหนุนตลาดด้วย หลังเปิดเผยว่า บริษัทจะเปิดทำการร้านแอปเปิล สโตร์ในสหรัฐตั้งแต่สัปดาห์หน้า โดยราคาหุ้นแอปเปิล พุ่งขึ้น 2.38%
          หุ้นอูเบอร์ เทคโนโลยีส์ พุ่งขึ้น 6.01% หลังบริษัทเปิดเผยว่า การจองบริการเรียกรถรับส่งฟื้นตัวขึ้นในช่วงหลายสัปดาห์ที่ผ่านมา
          หุ้นโนเบิล เอ็นเนอร์จี พุ่งขึ้น 13.46% หลังเปิดเผยว่า บริษัทจะลดการผลิตน้ำมันและลดการใช้จ่ายทุนเพื่อรับมือกับการร่วงลงของราคาน้ำมัน
          สำหรับข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐที่มีการเปิดเผยเมื่อคืนนี้ กระทรวงแรงงานสหรัฐรายงานว่า ตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรดิ่งลง 20.5 ล้านตำแหน่งในเดือนเม.ย. ซึ่งเป็นตัวเลขการจ้างงานที่ย่ำแย่ที่สุดในประวัติศาสตร์สหรัฐ อย่างไรก็ดี ตัวเลขการจ้างงานในเดือนเม.ย.ยังดีกว่าที่นักวิเคราะห์คาดไว้ว่าอาจร่วงลงถึง 21.5 ล้านตำแหน่ง
          ส่วนอัตราการว่างงานพุ่งขึ้นสู่ระดับ 14.7% ในเดือนเม.ย. ซึ่งสูงกว่าระดับ 10.8% ซึ่งเป็นอัตราการว่างงานสูงสุดในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 แต่ต่ำกว่าระดับ 24.9% ซึ่งเป็นตัวเลขอัตราการว่างงานในช่วงเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ ขณะที่ตัวเลขอัตราการว่างงานสูงสุดในช่วงเกิดวิกฤตการเงินในเดือนต.ค. 2552 อยู่ที่ระดับ 10%
          ด้านนักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้ว่า อัตราการว่างงานจะพุ่งขึ้นแตะระดับ 16% ในเดือนเม.ย. หลังจากอยู่ที่ระดับ 4.4% ในเดือนมี.ค. ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่เดือนส.ค. 2560 ขณะที่แตะระดับ 3.5% ในเดือนก.พ. ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดในรอบ 50 ปี