ผู้เขียน หัวข้อ: ชาวสวนไข้ขึ้นหวั่นซ้ำรอยบริษัทร่วมทุนยางเจ๊ง  (อ่าน 758 ครั้ง)

Rakayang.Com

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 83189
    • ดูรายละเอียด
ชาวสวนไข้ขึ้นหวั่นซ้ำรอยบริษัทร่วมทุนยางเจ๊ง
23 Oct 2019  ที่มา ฐานเศรษฐกิจ
                                                                         
ชาวสวนเสียงแตก หนุน-ค้าน บิ๊ก "กยท." จัดตั้งบริษัทลูกร่วมกับสถาบันเกษตรกร ผวาซ้ำรอย ร่วมทุน 5 บริษัทค้ายางยังเจ๊ง ปิดบัญชีไม่ลงตัว ?อุทัย? ดันสุดลิ่มนโยบาย เดินมาถูกทางแล้ว ชี้ควรจะทำตั้งนานแล้ว ไม่ใช่เพิ่งคิดที่จะทำ พร้อมหนุนเศรษฐกิจพอเพียง ปลูกพืชแซม แนะต้องช่วยหาตลาดให้



จากกรณีที่ นายสุนันท์ นวลพรหมสกุล รองผู้ว่าการการยางแห่งประเทศไทย (กยท.)ด้านบริหาร รักษาการแทนผู้ว่าการการยางแห่งประเทศไทยเตรียมจัดตั้งบริษัทลูกเพื่อดำเนินธุรกิจร่วมกับสถาบันเกษตรกร ซึ่งขณะนี้ได้จัดทำ TOR เพื่อการจัดตั้งบริษัทลูกขึ้นมา และจะนำเรื่องเข้าที่ประชุมคณะกรรม(บอร์ด)การการยางแห่งประเทศไทย เพื่อพิจารณาภายในเดือนพฤศจิกายนนี้





หลังจากผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการแล้ว จะเร่งจดทะเบียนบริษัทให้เร็วที่สุด ในส่วนของการจัดตั้งโรงงานจะเป็นขั้นตอนต่อไปที่จะเร่งดำเนินการให้เป็นรูปธรรมโดยเร็วเช่นกัน ซึ่งรวมไปถึงการพัฒนาโรงงานผลิตยางของ กยท. ที่มีอยู่ทั้ง 6 แห่ง ให้มีศักยภาพในการดำเนินงานเพื่อรองรับกำลังการผลิตที่เพิ่มสูงขึ้น

ด้านนายเพิก เลิศวังพง อดีตประธานชุมนุมสหกรณ์ชาวสวนยางแห่งประเทศไทย เผยกับ ?ฐานเศรษฐกิจ? ว่า บริษัทที่จัดตั้งใครเป็นผู้บริหาร ในส่วนตัวอยากจะให้เคลียร์เรื่องเก่าให้จบก่อนดีหรือไม่ อาทิ บริษัทร่วมทุนยางกับ 5 ผู้ประกอบการยางพารารายใหญ่ ซึ่งยังมีปัญหาปิดบัญชีไม่ได้ แล้วจะมาเปิดบริษัทใหม่จะซ้ำรอยเดิมหรือไม่ ดังนั้นแนะนำควรจะสะสางปัญหาเก่าให้จบก่อน                     
 
                                                                     
ขณะที่นายอุทัย สอนหลักทรัพย์ นายกสมาคมสหพันธ์ชาวสวนยางแห่งประเทศไทย กล่าวว่า เห็นด้วย ควรจะทำมาตั้งนานแล้ว เพราะ กยท.จะต้องช่วยตัวเอง เช่นเดียวกับรัฐวิสาหกิจอื่นๆ ที่จะตั้งบริษัทมหาชน โดยใช้เงินจากค่าธรมเนียมส่งออกยาง(เซสส์)เป็นทุน เพื่อให้องค์กรและพนักงานอยู่รอด รวมกับเจ้าของสวนด้วยที่จะทำให้เกิดความมั่นคง เรียกว่าช่วยกันไปมา

?ผมขอเสนอในสถาบันเกษตรกร ให้รวบรวมยางตรวจสอบคุณภาพ แล้วบรรจุภัณฑ์ขาย สร้างแบรนด์ในนามของ กยท. ขายไปทั่วโลก ส่วนตลาดในประเทศ กยท.ควรจะเป็นตัวกลาง ให้ช่วยขายวัตถุดิบให้กับหน่วยงานต่างๆ ของรัฐทีต้องการใช้ยาง ก็ใช้ยางจากสถาบันเกษตรกรส่งมอบ หรือให้ ผลิตโดยตรง ใช้ส่วนต่างนี้เป็นกำไร เพราะเกษตรกรไม่เข้าใจเรื่องการค้าขาย ตรงหนี้ต้องเป็นหน้าที่ของ กยท. แล้วสร้างเครือข่ายให้เข้มแข็ง?
นายอุทัย กล่าวว่า ผลจากราคายางตกต่ำ ต้องเปลี่ยนแนวรบและวิธีคิดใหม่ จะไปสู้ตลาดล่วงหน้าไม่ได้ จะต้องเดินตามแผนยุทธศาสตร์แผน 20 ปีของรัฐบาล เสริมกับหลักแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง โดยให้ปลูกพืชแซมยาง หรือพืชชนิดอะไรก็แล้วแต่ ต้องช่วยหาตลาดให้ด้วย

อนึ่ง บริษัทร่วมทุนยาง จำกัด เกิดจากนโยบาย พล.อ.ฉัตรชัย สาริกัลยะ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (ปัจจุบันเป็นสภาชิกวุฒิสภา) ได้สั่งการให้การยางแห่งประเทศไทย (กยท.) จัดตั้ง บริษัท ร่วมทุนยางพารา จำกัด ร่วมกับ 5 บริษัทผู้ค้ายางพาราใหญ่ ได้แก่ บริษัท ศรีตรังแอโกรอินดัสทรี จำกัด (มหาชน) (บมจ.), บริษัท เซาท์แลนด์รับเบอร์ จำกัด (บมจ.), บมจ.ไทยฮั้วยางพารา, บจก.วงศ์บัณฑิต และบมจ.ไทยรับเบอร์ลาเท็คซ์คอร์ปอร์เรชั่น ทุนจดทะเบียน 1,200 ล้านบาท แต่มีการบริหารงานที่ล้มเหลว ประสบปัญหาขาดทุน และปัจจุบันยังปิดบัญชีไม่ได้