ผู้เขียน หัวข้อ: "สต๊อกยางโลกไม่ได้ล้นเกิน" ธงนำที่ "รองนายกฯสมคิด" ชูดันราคายางกับก้าวย่างที่เป็นจริง / ยุทธิยง ลิ้มเลิศวาที  (อ่าน 864 ครั้ง)

Rakayang.Com

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 85111
    • ดูรายละเอียด
"สต๊อกยางโลกไม่ได้ล้นเกิน" ธงนำที่ "รองนายกฯสมคิด" ชูดันราคายางกับก้าวย่างที่เป็นจริง / ยุทธิยง ลิ้มเลิศวาที


เผยแพร่: 2 เม.ย. 2561 10:18:   โดย: MGR Online


ผู้เขียนกับกงซี้สวนยางนาบอน

ผู้เขียนกับกงซี้สวนยางนาบอน
ยุทธิยง  ลิ้มเลิศวาที  กงซี้สวนยางนาบอน
ผมเองได้แรงบันดาลใจเขียนบทความชิ้นนี้จากได้เห็นข่าวใน ?MGR Online ภาคใต้? เมื่อวันที่ 28 มี.ค.2561 ที่พาดหัวตัวเท่าหม้อแกงว่า...

?สมคิด? ลั่นต่อไปนี้ทำราคายางทะยานเพื่อเพิ่มประโยชน์ให้กว่า 10 ล้านคนไม่ได้จะยุบทิ้ง ?กยท.?


ในเนื้อข่าวยังระบุมุมมองของ นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรีฐมนตรีฝ่ายเศรษฐกิจ ต่อการแก้ไขปัญหาราคายางในช่วงที่ผ่านมาว่า


?ถ้า กยท.ทำไม่ได้ ก็ยุบทิ้งไป ฝากบอกบอร์ด กยท.ดูด้วย ต้องรู้ว่าตอนนี้ซัพพลายในตลาดโลกไม่มี หรือถ้าคิดว่ามี ถ้าแน่จริงไปหามา ที่ผ่านมากว่าจะตั้งกรรมการ กยท.ได้ครบ รำไปรำมา จนยางขึ้นราคาเอง ต่อไปนี้ถ้าหน่วยงานนี้ขับเคลื่อนไม่ได้ หรือมีปัญหาเหมือนที่ผ่านมา นายกรัฐมนตรีบอกว่ายังมีอีกกว่า 100 อัตราที่ให้ไปนั่งที่สำนักนายกรัฐมนตรี ท่านนายกฯ ส่งสัญญามาแล้วว่า ถ้าหน่วยงานใดมีปัญหา หรือมีการทุจริต หรือไม่ทำตามนโยบาย ท่านจะโยกไปสังกัดสำนักนายกฯ รัฐบาลต้องการคนทำงานตั้งใจจริง คนที่มุ่งช่วยเกษตรกรมาก่อนเป็นอันดับหนึ่ง?


รองนายกรัฐมนตรีฝ่ายเศรษฐกิจยังกล่าวต่ออีกว่า
?ปัญหาราคายางแก้ไม่ยาก แต่ก็ไม่ง่าย เพราะขึ้นอยู่กับซัพพลาย เรามีหน่วยงานรองรับทั้งกระทรวงพาณิชย์ มีองค์การคลังสินค้าซื้อเก็บได้ไม่เสียหาย จึงไม่ใช่เรื่องยากที่จะดึงซัพพลายออก แต่ถ้ามี กยท.แล้วทำได้แค่เป็นตรายาง มานั่งกินเงินเดือนแบบเปล่าประโยชน์อย่างผู้ว่าฯ กยท.ก็ต้องออกไป เพราะ รมว.เกษตรฯ สั่งไปกี่รอบแล้ว ไม่กระดิกทำอะไรเลย อย่างนี้ก็อยู่ไม่ได้ เพราะเรื่องยางเป็นเรื่องใหญ่ของประเทศ มีวอลุมหาศาล หากคิดว่าจะมาเตะตะกร้อขึ้นไปในอากาศเรื่อยๆ ก็อยู่ไม่ได้?


ข้อมูลของ International Rubber Study Group





ข้อมูลของ International Rubber Study Group
ผมกลับมานั่งวิเคราะห์จากสิ่งที่ท่านรองนายกฯ สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ พูดเอาไว้ที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ซึ่งวันนี้ถือว่าจะต้องเร่งเครื่องในช่วงโค้งสุดท้ายในสมัยรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ที่จะต้องขับเคลื่อนเศรษฐกิจประเทศให้เป็นจริงเป็นจัง

อันเป็นโค้งสุดท้ายที่จะต้องพยายามนำเครื่องบินเศรษฐกิจไทยลำนี้ให้เชิดหัวขึ้น ไม่ใช่ปล่อยไปตามบุญตามกรรมจนอาจจะไปทิ่มหัวตกทะเลได้

ในการพูดของรองนายกฯ สมคิดครั้งนี้ เราได้มองเห็นความเป็นจริงของระบบราชการกลไกที่เกี่ยวข้องกับการแก้ไขปัญหายางพาราไทยอย่างชัดเจน ซึ่งถือเป็นปัจจัย ?หน่วงรั้งทางปัญญาและความรู้? หรือ ?มีกับดักของความพยายามแก้ปัญหาให้ชาวสวนยางของประเทศ? อันสะท้อนให้เห็นว่า

?ซัพพลายในตลาดโลกไม่มี หรือถ้าคิดว่ามีไปหามา?
ต่างกันกับการพูดของคนที่ได้เข้ามาแก้ปัญหาก่อนหน้านี้ที่อ้างเพียงว่า ซัพพลายล้น ช่วยไม่ได้ ยางราคาลง ชาวสวนยางโปรดทำใจ จงยอมรับในชะตากรรมของเศรษฐกิจโลก เพราะยางปลูกมาก สถานการณ์มัน Over Supply

และจงเตะตะกร้อขึ้นไปในอากาศเรื่อยๆ รับเงินเดือนไปวันๆ
ความคิดของรองนายกฯ สมคิดแบบนี้ช่างมีเสน่ห์ มีความหมายต่อคนที่ติดตามการปัญหาของยางพาราไทยเป็นอย่างยิ่ง

ผมไม่แปลกใจที่ข่าวนี้ลงกันหลายฉบับ แกนนำชาวสวนยางออกมาชื่นชมต่อท่าทีของรองนายกฯ สมคิด ดังกล้องไปทั่วในโลกโซเซียลมีเดียกันเลยทีเดียว

ชาวสวนยางต่างแสดงความกันอย่างเห็นคึกคัก และดูเหมือนจะเป็นห้วงเวลาที่ดูจะสดชื่นกันเป็นพิเศษ รวมไปถึงพ่อค้าส่งออกที่ปรารถนาดีต่อเพื่อนร่วมชาติ เพราะได้เห็นชาวสวนยางตกระกำลำบากกับสภาวะราคายางต่อเนื่องกันมาตลอด 2-3 ปีที่ผ่านมา

ผมอยากจะนำเสนอข้อมูลสถานการณ์ยางโลก เพื่อยืนยันว่าที่ท่านรองนายกฯ สมคิดไปพูดที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์นั้น ตรงตามบทวิเคราะห์สถานการณ์ยางโลกที่ว่า

ซัพพลายไม่ได้ล้นเกิน ซัพพลายในตลาดโลกมีไม่มากเลย และมิได้เป็นปัจจัยที่กดถ่วงราคา
ข้อมูลของ International Rubber Study Group ซึ่งวงการค้ายางของโลกใช้เป็นฐานข้อมูลระบุว่า
ปี 2560 โลกใบนี้ผลิตยางได้ 13,380,000 ตัน
ปี 2560 โลกใบนี้บริโภคยางไป 13,090,000 ตัน
ยางล้นอยู่ 3 แสน 8 หมื่นตัน ราคายางที่ชาวบ้านได้รับเฉลี่ย 58 บาท/กก. ในปี 2560
ปี 2555 โลกใบนี้ผลิตยางได้ 11,658,000 ตัน
ปี 2555 โลกใบนี้บริโภคยาง 11,046,000 ตัน

ปี 2555 ยางล้นโลกอยู่ถึง 6 แสน 1 หมื่น 2 พันตัน แต่ราคายางที่ชาวบ้านได้รับเฉลี่ย 91 บาท/กก. ในปี 2555

ข้อมูลนี้เป็นเรื่องที่วงการยาง พ่อค้า นักธุรกิจ คนที่ซื้อยางในตลาดของโลกใบนี้ต่างรับรู้ว่า นี่เป็นสถิติที่เป็นข้อมูลพื้นฐานในการทำการค้า ทั้งซื้อ ทั้งขาย ทั้งใช้วางแผนการผลิตของโรงงานยักษ์ใหญ่ ทั้งใช้คาดการณ์เพื่อการสั่งซื้อเพื่อสต๊อกยาง เพื่อส่งมอบในไลน์การผลิตของการบริโภคของอุตสาหกรรมยางโลก

อย่าลืมว่ากลไกการบริโภคยางมีเพิ่มขึ้นทุกปี ล้อเครื่องบินผลิตเพิ่ม บริษัทกูดเยียร์ บริดจ์สโตน แมคซิส มิชชิลิน ฯลฯ พวกเขายังดำเนินธุรกิจบนโลกใบนี้อย่างมีอนาคต ยานยนต์ในรัสเซียและในอินเดียก็เพิ่มขึ้น

รถยนต์ที่วิ่งบนพื้นผิวโลกตราบใดที่ยังไม่ได้ใช้ล้อเหล็ก และล้อเครื่องบินยังไม่ได้เปลี่ยนเป็นล้อเหล็ก
ตัวเลขความต้องการบริโภคยางของโลก จึงย่อมมีสัดส่วนเพิ่มขึ้นทุกปี



ข้อมูลของ International Rubber Study Group




ข้อมูลของ International Rubber Study Group
จากข้อมูลของ International Rubber Study Group ตัวเลขปี 2555 ซัพพลายยางโลกมีสต๊อกเหลือถึง 6 แสนตัน แต่ราคายางช่วงนั้นทำไมกลับยังคงเฉลี่ยอยู่ที่ 91 บาท/กก.

แต่ทำไมปี 2560 ที่ผ่านมายางเหลือสต๊อกเหลือไม่มากเลย ประมาณ 3 แสน 8 หมื่นตัน แต่ทำไมราคายางกลับดิ่งลงมาเฉลี่ยอยู่ที่ 58 บาท/กก.

อย่าลืมว่าในหนึ่งเดือนนั้น โลกใบนี้บริโภคยาง 1 ล้าน 9 หมื่นตัน ที่ไลน์อุตสาหกรรมของโลกต้องบริโภคยางในแต่ละเดือนก็เพื่อทำล้อรถยนต์ ล้อรถบรรทุก ล้อเครื่องบิน ทำหมอนกันกระแทกของระบบราง และโน่นนี่นั่นอีกมากมายก่ายกอง

นี่ยางเหลือสต๊อกไม่ถึง 3 แสน 8 หมื่นตัน ซึ่งน้อยมากเมื่อเทียบกับสายพานการผลิตที่ผันผวน แต่ทำไมราคายางไทยกลับยังโงหัวไม่ขึ้น เชิดหัวไม่ได้
อะไรที่เป็นปัจจัยหน่วงรั้งเล่า?!
แล้วทำไมชะตากรรมของเกษตรกรชาวสวนยางไทยถึงต้องอัตคัดนัก?!
ยางพาราเป็นพืชเศรษฐกิจโลกที่ไม่บูดหรือเน่าเปื่อยเหมือนอาหาร เก็บได้นานถึง 20 ปีหากสามารถเอาความชื้นออกไปได้เหมือนกับสินแร่ ยางพาราไทยได้พัฒนาตัวเองเป็นสินค้าของโลกใบนี้ไปแล้ว เพราะโลกยังต้องมีการบริโภคสินค้าของอุตสาหกรรมรถยนต์

นอกจากนี้การที่รองนายกฯ สมคิดส่งสัญญาณให้กระทรวงพาณิชย์ต้องเข้ามาร่วมรับผิดชอบด้วย

?เรื่องนี้ขอฝากอธิบดีกรมการค้าภายในด้วย กระทรวงพาณิชย์ด้วย ว่าจะมีฤทธิ์เดชแค่ไหนในการช่วยเรื่องราคายาง พรุ่งนี้ผมจะไปเขย่าให้กระทรวงพาณิชย์ทำงานมากขึ้น เพราะมีคนเกี่ยวข้องกับยางกว่า 10 ล้านคน เป็นสินค้าที่ทำมูลค่ามหาศาลเข้าประเทศ ทุกอย่างอยู่ที่ยุทธวิธี การซื้อเก็บ การชะลอ การเจรจากับต่างประเทศ ทั้ง 2 กระทรวงต้องทำงานใกล้ชิดกันเพื่อดึงราคาให้เพิ่มขึ้น?

ผมจำได้ว่าท่านนายกฯ ประยุทธ์เองก็บอกไปหลายครั้งในช่วง 4 ปีมานี้ ให้ลงมือทำเพื่อให้ซัพพลายพร่องลง ให้บริโภคในประเทศ ทำถนน ทำฟุตบาท ทางเท้า ทำสนามกีฬาตามโรงเรียนต่างๆ เพื่อให้เกิดประโยชน์

เพื่อส่งสัญญาณเรื่องสต๊อกยางในประเทศว่า ต้องพร่องลง เพื่อให้นำไปสู่การขับดันกลไกราคาให้ได้
เดือน ก.พ.ปี2559 หลังจากที่นายกฯ ประยุทธ์สั่งการเป็นนโยบายให้มีการใช้ยางในประเทศอย่างทั่วถึง โดยให้นำยางไปสร้างโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ ผมเห็นข่าวมีอยู่ชิ้นเดียวที่เดียวเท่านั้นมีการตอบสนองในเรื่องนี้

อบจ.ตรังทุ่มเกือบ 270 ล้านสร้าง ?ถนนยางพารา? ด้วยยาง 115 ตัน
ข่าวนี้พาดหัวสื่อมวลชนเมื่อเดือน ก.พ.ปี 2559 ผมเองพยายามดูข้อมูลเพิ่มว่า มีจังหวัดไหนอีกที่เห็นความสำคัญเพื่อแก้ปัญหาราคายาง แต่กลับไม่เห็น

หากเราช่วยกันทุกจังหวัด ทุก อบจ. ทุก อบต. สต๊อกยางจะหายไปทันที่คงไม่ต่ำกว่า 2 แสนตัน และหากกระทรวงพานิชย์ช่วยเก็บ ช่วยดูดซับ เพื่อส่งสัญญาณที่เป็นคุณต่อกลไกราคายางโลก ผมเห็นว่าจะเป็นปัจจัยบวกหนุนเสริมเข้าไปอีกแรงสำคัญ

กลไกการลดซัพพลายเพื่อขับดันกลไกราคาให้ทะยานขึ้น เราเองเป็นผู้ผลิตยางที่มีปริมาณที่มากสุดของโลก ไมเราสูญเสียสถานะของการชี้นำราคา?!

ผมเห็นสิ่งที่รองนายกฯ สมคิดลงมาตรวจการบ้านเรื่องยางพารา

?เรื่องนี้ขอฝากอธิบดีกรมการค้าภายในด้วย กระทรวงพาณิชย์ด้วยว่า จะมีฤทธิ์เดชแค่ไหนในการช่วยเรื่องราคายาง พรุ่งนี้ผมจะไปเขย่าให้กระทรวงพาณิชย์ให้ทำงานมากขึ้น เพราะมีคนเกี่ยวข้องกับยางกว่า 10 ล้านคน ยางเป็นสินค้าที่ทำมูลค่ามหาศาลเข้าประเทศ ทุกอย่างอยู่ที่ยุทธวิธี การซื้อเก็บ การชะลอ การเจรจากับต่างประเทศ ทั้ง 2 กระทรวงต้องทำงานใกล้ชิดกันเพื่อดึงราคาให้เพิ่มขึ้น ถ้าเราทำจริงประเทศผู้ผลิตต่างๆ ก็เอาจริงกับเราแน่นอน?

ในฐานะชาวสวนยางเล็กๆ คนหนึ่ง ขอชื่นชมต่อหัวใจกัปตันของรองนายกน สมคิดเที่ยวนี้ ที่รุกก้าวเข้ามาแก้ปัญหาราคายางพาราอย่างจังจัง

การถือธงนำในเรื่องยางพาราหนนี้ มาถูกทางแล้ว และผมเชื่อว่าหากข้าราชการและผู้เกี่ยวข้องไม่หายใจทิ้งไปวันๆ แบบรับเงินเดือนแล้วไม่ทำอะไรเลย นับจากนี้ไปเกษตรกรชาวสวนยางพาราไทยก็คงจะได้รับประโยชน์จากความตั้งใจของท่านรองนายกฯ สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ หนนี้แน่นอน!!!