?เวิลด์แบงก์?ไม่ห่วงบาทอ่อน/กลัวส่งออกรูด ข่าวเศรษฐกิจ หนังสือพิมพ์แนวหน้า -- เสาร์ที่ 24 สิงหาคม 2556 06:00:00 น.
?เวิลด์แบงก์?ไม่ห่วงบาทอ่อน/กลัวส่งออกรูด
จ่อหั่นGDPไทยเหลือ4%
ธนาคารโลก เล็งปรับลด ?จีดีพี?ไทย หลังส่งออกขยายตัวต่ำกว่าที่คาดไว้ โดยปรับลดจากเดิมขยายตัวร้อยละ 5? เหลือโตประมาณร้อยละ? 4-4.5 เชื่อค่าเงินบาทของไทยไม่โดนถล่มเหมือน "รูปี-รูเปียะห์" ด้านนายกฯเร่งอัดงบกระตุ้น
น.ส.กิริฎา เ???าพิจิตร นักเศรษฐศาสตร์อาวุโส ธนาคารโลก(เวิลด์แบงก์)สำนักงานประจำประเทศไทย กล่าวว่า ในเดือนกันยายน 2556ทาง ธนาคารโลก จะปรับลดอัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจหรือผลิต???ัณฑ์มวลรวมในประเทศ(จีดีพี)ไทยปี 2556 ใหม่ จากที่เคยคาดการณ์ว่าจีดีพี จะขยายตัวร้อยละ 5? แต่จากตัวเลขเศรษฐกิจไทยโตต่ำกว่าที่คาด โดยเฉพาะการส่งออกที่ขยายตัวต่ำ
?เศรษฐกิจไทยไม่ได้แย่ หรือถดถอย เพียงแต่ขยายตัวได้น้อย หากเทียบกับปีก่อนที่จีดีพี ขยายตัวสูง ผลจากมาตรการฟื้นฟูหลังน้ำท่วม และมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ?
อย่างไรก็ดีเศรษฐกิจไทยในครึ่งปีหลังที่มีแนวโน้มดีขึ้น เนื่องจากมีปัจจัยบวกสนับสนุนจากเศรษฐกิจโลกในช่วงครึ่งปีหลังที่จะค่อย? ๆ ฟื้นตัวขึ้น ซึ่งก็จะส่งผลดีให้กับ???าคการส่งออกของไทยขยายตัวดีขึ้นกว่าช่วงครึ่งปีแรก? บวกกับการท่องเที่ยวที่ยังขยายตัวได้ดี? แต่???าคการบริโ???คจะไม่เร่งตัวขึ้นมาก? เพราะยังมีปัญหาหนี้ครัวเรือนกดดัน? ดังนั้น? เชื่อว่าเศรษฐกิจไทยในปีนี้น่าจะโตประมาณร้อยละ? 4-4.5
ส่วนอัตราดอกเบี้ยที่ก่อนหน้านี้ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ประกาศคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ 2.50 % ธปท.คงจะดูจากพื้นฐานของเศรษฐกิจเป็นหลัก ขณะที่แนวโน้มเศรษฐกิจมีการที่จะฟื้นตัว คงไม่มีความจำเป็นในการลดดอกเบี้ย แต่หากธปท.ลดดอกเบี้ยลงอีกก็อาจจะมีผลดีต่อผู้ที่จะเข้ามาลงทุน แต่อย่างไรก็ตามถ้าเศรษฐกิจครึ่งปีหลังอ่อนตัวลงมาก มีความเห็นว่า ธปท.อาจต้องมีการทบทวนปรับลดดอกเบี้ยลงมาบ้าง
ส่วนการที่ค่าเงินบาทอ่อนค่าลงมาอยู่ที่ 32 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ นั้น เกิดจากหลายปัจจัยทั้งจากเงินทุนไหลออกจากการที่นักลงทุนกังวลเรื่องที่สหรัฐจะชะลอมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ และการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดของไทย จึงทำให้ค่าเงินบาทในช่วงนี้มีความผันผวนตามกระแสเงินทุนไหลเข้า-ออกของต่างชาติ แต่เชื่อว่าเมื่อ???าวะเศรษฐกิจโลกปรับตัวดีขึ้น การส่งออกของไทยเติบโตดีขึ้นตาม???าวะเศรษฐกิจโลก และสหรัฐไม่ชะลอมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจลงมากอย่างที่หลายฝ่ายกังวล
ส่วนข้อวิตกกังวลว่าอาจมีการโจมตีค่าเงินบาทให้อ่อนค่าลงไปอีกเหมือนกับเงินรูเปียะห์ ของอินโดนีเซีย? และรูปี ของอินเดีย นั้น น.ส.กิริฎา กล่าวว่า เป็นไปได้ยากเพราะปัจจุบันเงินบาทของไทยเคลื่อนไหวลอยตัวแบบมีการจัดการ ไม่ได้เป็นอัตราคงที่เหมือนในอดีต ดังนั้น การจะเข้ามาโจมตีจึงไม่ใช่เรื่องง่าย รวมทั้งโอกาสในการทำกำไรก็มีไม่มาก และพื้นฐานเศรษฐกิจไทยยังมีความแข็งแกร่ง จึงไม่น่าเป็นห่วง แต่อย่างไรก็ตาม มองว่าค่าเงินบาทควรเคลื่อนไหวไปตาม???ูมิ???าคและประเทศคู่แข่ง เพื่อไม่ให้เสียเปรียบโอกาสด้านการส่งออก
ด้าน นายสมชาย ???ค???าสน์วิวัฒน์ นักวิชาการด้านเศรษฐศาสตร์การเมือง และที่ปรึกษาองค์กรเอกชน กล่าวว่า? ค่าเงินบาทเมื่อวันที่ 23 สิงหาคม2556 เฉลี่ยอยู่ที่ระดับ 32 บาทต่อ1ดอลล่าร์สหรัฐฯการอ่อนค่าในปัจจุบันเกิดขึ้นจากเงินบัญชีเดินสะพัดของประเทศขาดดุล ค่าเงิน ต่อดอลล่าร์สหรัฐ ถ้าไม่มีปัญหาใดๆคงมีการผันผวนไปได้ถึง 33 บาทต่อดอลล่าร์สหรัฐ
?โดยส่วนตัวคิดว่า 32-33 บาท อยู่ในระดับที่พอดี ความผันผวนยังไม่รุนแรงมากเกินไป ขณะนี้เป็นช่วงที่อยู่ในขาอ่อนตัวลง คงต้องแนะนำให้ผู้ประกอบการป้องกันความเสี่ยง คาดว่าทาง ธปท. คงเข้ามาดูแลในเรื่องนี้? แต่ถ้าหากเศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มเศรษฐกิจที่ดีขึ้น เงินบาทจะกลับมาแข็งค่าอีกครั้ง? นายสมชาย กล่าว
น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม กล่าวถึงปัญหา???าวะเศรษฐกิจถดถอยขณะนี้ว่า รมว.คลัง ได้รายงานว่า ไม่ใช่???าวะเศรษฐกิจถดถอย แต่ว่าตัวเลขการเจริญเติบโตอาจจะไม่เป็นไปตามคาด อย่างไรก็ตามรัฐบาลไม่นิ่งนอนใจ ซึ่งเมื่อ 2 สัปดาห์ที่ผ่านมา ได้มีแผนการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจในช่วงครึ่งปีหลัง อาทิ การเร่งการใช้จ่ายของ???าครัฐ ขณะเดียวกันจะได้พูดคุย???าคเอกชนในการร่วมมือลงทุน ให้กระบวนการ???าครัฐเร็วขึ้น รวมถึงขอความร่วมมือสร้างความมั่นใจให้ประชาชน ในเรื่องของการใช้จ่าย และลงทุนต่างๆ ในอนาคต
?ส่วนเรื่องปัญหาการส่งออกได้มอบหมายให้นายนิวัฒน์ธำรง บุญทรงไพศาล รองนายกรัฐมนตรี และรมว.พาณิชย์ รวมถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ไปพูดคุยกับ???าคเอกชนในรายอุตสาหกรรม เพื่อที่จะดูว่า การส่งออกระยะยาวจะมีตลาดใหม่เกิดขึ้นอย่างไร