ผู้เขียน หัวข้อ: สกย.เร่งแก้ราคายางผันผวน  (อ่าน 1401 ครั้ง)

Rakayang.Com

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 84897
    • ดูรายละเอียด
สกย.เร่งแก้ราคายางผันผวน
« เมื่อ: สิงหาคม 23, 2013, 10:23:42 AM »
สกย.เร่งแก้ราคายางผันผวน


 

 

ข่าวทั่วไป หนังสือพิมพ์แนวหน้า -- ศุกร์ที่ 23 สิงหาคม 2556 06:00:00 น.

สกย.เร่งแก้ราคายางผันผวน

ชูแนวทางลดต้นทุนการผลิต/หนุนปลูกยาง?สวย.251?ทดแทนพันธุ์อื่น

นายประสิทธิ์ หมีดเส็น รักษาการผู้อำนวยการสำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง (สกย.)เปิดเผยว่า จากสถานการณ์ราคายางที่มีความผันผวนในปัจจุบันทำให้ราคายางขึ้น-ลงตามตลาดโลก ซึ่ง นายยุคล ลิ้มแหลมทอง รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.เกษตรและสหกรณ์ ได้มอบให้สำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง (สกย.) บูรณาการร่วมกับสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร(สศก.) องค์การสวนยาง (อสย.) ดำเนินการหาแนวทางแก้ไข
 


โดย สกย. จะทำมีหน้าที่ดูแลเกษตรกรผู้ปลูกยางทั้งหมด และนโยบายในการส่งเสริมการลดต้นทุนการผลิต เพิ่มผลผลิต รวมทั้งเพิ่มรายได้ และลดค่าใช้จ่ายเกษตรกร ซึ่งเกษตรกรไม่จำเป็นต้องปลูกยางพาราอย่างเดียว เพราะที่ผ่านมาพื้นที่ปลูกยางจะใช้ประโยชน์จริง ๆ เพียง 1 ส่วน 4 ของสวนยางเท่านั้น ซึ่งขณะนี้ได้เร่งส่งเสริมและกระตุ้นให้เกษตรกรชาวสวนยางพาราในพื้นที่ปลูกยาง เห็นความสำคัญของการปลูกพืชคลุมดินในสวนยาง เพื่อช่วยปรับปรุงดินให้มีความอุดมสมบูรณ์ โดยส่งเสริมให้เกษตรกรปลูก ?พืชคลุมซีรูเลียม? (Calopogonium caeruleum) ระหว่างแถวต้นยาง ซึ่งซีรูเลียมเป็นพืชคลุมดินตระกูลถั่ว ที่มีคุณสมบัติเด่นในการเจริญเติบโต คลุมดินได้ดี และหนาแน่น แม้ในส???าพร่มเงา สามารถควบคุมวัชพืช ระหว่างแถวต้นยางได้ดีมาก หรือเกษตรกรสามารถปลูกพืชระยะสั้น หรือปลูกพืชหมุนเวียน ได้แก่ พืชตระกูลถั่ว ข้าวโพด สับปะรด มันสำปะหลัง หรือพืชผักสวนครัว เช่น พริก ใบกระเพรา เพื่อเพิ่มรายได้ช่วงระหว่างรอกรีดยาง ซึ่งขณะนี้ สกย.ได้ร่วมมือกับทางกรมวิชาการเกษตร กรมส่งเสริมการเกษตร กรมป่าไม้ ทำการศึกษาพื้นที่ปลูกยางแต่ละแห่งว่า ปลูกพืชชนิดไหนที่จะเหมาะสมกับพื้นที่

?สิ่งสำคัญอีกประการที่จะช่วยในการลดต้นทุนการผลิตได้อย่างดี คือ สนับสนุนเกษตรกรทำการผสมปุ๋ยใช้เอง หรือที่เรียกกันว่า ปุ๋ยสั่งตัด และส่งเสริมการทำปุ๋ยอินทรีย์ เพื่อใช้บำรุงต้นยาง ส่วนกรณีที่เกษตรกรเริ่มปลูกยางใหม่ ก็จะส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกพืชคลุมดินตระกูลถั่ว หรือพืชระยะสั้น ซึ่งพืชคลุมดินสามารถดูดไนโตรเจนจากดินมาสู่ต้นยาง จะเป็นการช่วยลดต้นทุนการใช้ปุ๋ยเคมี และช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายอีกทางหนึ่งด้วย? นายประสิทธิ์ กล่าว

นอกจากนี้ สกย.ได้ส่งเสริมเกษตรกรปลูกยางพันธุ์ สวย. 251 แทนพันธุ์อื่นๆ เช่น พันธุ์ยาง RRIM 600 เพราะผลจากการวิจัยและทดลองปลูกพบว่า พันธุ์ยาง สวย. 251 มีการเจริญเติบโตก่อนเปิดกรีดดีและระหว่างกรีดเจริญเติบโตปานกลาง มีความสม่ำเสมอของขนาดลำต้น ค่อนข้างต้านทานโรคเส้นดำ ราแป้ง ให้ผลผลิตน้ำยางดี ช่วยให้ผลผลิตต่อไร่เพิ่มขึ้น ต้นทุนการผลิตต่อไร่ลดลง