ผู้เขียน หัวข้อ: @กยท.ฟุ้ง'อินเดีย'เตรียมรับซื้อยาง ยันไม่เทขายสินค้าในสต็อกแบบยกลอต-สกัดราคาร่วง  (อ่าน 693 ครั้ง)

Rakayang.Com

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 85852
    • ดูรายละเอียด
@กยท.ฟุ้ง'อินเดีย'เตรียมรับซื้อยาง ยันไม่เทขายสินค้าในสต็อกแบบยกลอต-สกัดราคาร่วง

นายธีธัช สุขสะอาด ผู้ว่าการการยางแห่งประเทศไทย (กยท.) เปิดเผยว่า กยท.ประสบผลสำเร็จระดับหนึ่งในการประสานเจรจาระหว่างผู้ประกอบการยางพาราของไทยทั้งภาคเอกชนและสถาบันเกษตรกร กับคณะนักธุรกิจผู้ผลิตล้อยางรายใหญ่ และสมาคมผู้ผลิตผลิตภัณฑ์ยางของประเทศอินเดีย โดยทางอินเดียได้แสดงความสนใจจะรับซื้อยางจากประเทศไทยประมาณไม่น้อยกว่าเดือนละ 10,000 ตัน สำหรับรายใหญ่ ส่วนรายย่อยที่เป็นสมาชิกของสมาคมผู้ผลิตผลิตภัณฑ์ยางอาจจะรับซื้ออยู่ที่ประมาณเดือนละ 1,000 ตันคาดว่าจะสามารถเริ่มรับซื้อและส่งออกยางไปยังอินเดียได้ตั้งแต่ต้นเดือนตุลาคม 2559 เป็นต้นไป สำหรับประเทศอินเดียนั้น เป็นประเทศที่มีความต้องการยางพาราเพื่อนำไปแปรรูปในอุตสาหกรรมล้อยาง และผลิตภัณฑ์ยางอื่นๆ เพื่อใช้ในประเทศถึงปีละประมาณ 900,000-1,100,000 ตัน ในขณะที่มีปริมาณยางพาราในประเทศเพียงปีละประมาณ 500,000 ตัน ที่เหลืออีกประมาณ 400,000-600,000 ตัน ต้องนำเข้าจากต่างประเทศดังนั้น จึงเป็นโอกาสที่ดีประเทศไทยซึ่งเป็นผู้ผลิตยางพารารายใหญ่ของโลกจะขยายตลาดเข้าไปในประเทศอินเดีย อย่างไรก็ตาม อินเดียได้ให้ความสำคัญในเรื่องคุณภาพและมาตรฐานยางพาราของไทยด้วย ซึ่ง กยท.จะเร่งให้ความรู้แก่เกษตรกรชาวสวนยาง และผู้ประกอบเกี่ยวกับยางพาราทุกภาคส่วน เพื่อพัฒนาคุณภาพยางไทยทั้งระบบ ตั้งแต่ขบวนการผลิตยางแผ่นดิบ ยางรมควัน โรงงานยางอัดก้อน ให้ได้มาตรฐาน GMP ตรงกับความต้องการของตลาด และสามารถที่จะส่งออกต่างประเทศได้ ?ในการขายยางของ กยท.นั้น จะไม่นำยางของสต๊อกที่มีอยู่จำนวน 310,000 ตันมาขายเพื่อระบายออกเป็นแบบยกลอตใหญ่อย่างแน่นอน ทั้งนี้ ยางจำนวนดังกล่าว กยท. จะดำเนินการตามนโยบายรัฐ ที่จะนำมาใช้ในโครงการส่งเสริมการใช้ยางในหน่วยงานภาครัฐเป็นหลัก เช่น การทำถนนยางพารา เพราะแต่ละปีประเทศไทยมีแผนในการสร้างถนนถึงกว่า 30,000 กิโลเมตร กยท.จะเสนอรัฐบาลให้พิจารณาในการนำยางบางส่วนมาใช้ทำถนนดินยางพารา รวมถึงการนำไปใช้เป็นส่วนผสมถนนยางมะตอยด้วยเช่นกัน รวมทั้งจะนำไปแปรรูปเป็น แผ่นปูพื้นสนามฟุตซอล หรือยางปูพื้น ซึ่งบางสถาบันเกษตรกรได้รับการรับรองตามมาตรฐาน มอก. เป็นที่เรียบร้อยแล้ว ตลอดจนแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์อื่นๆ ส่วนที่เหลือจะทยอยระบายออก เพื่อลดค่าใช้จ่ายในการเก็บรักษา และเป็นการรักษามาตรฐานคุณภาพยาง โดยจะไม่ให้กระทบต่อราคายางในตลาดและต่อเกษตรกรชาวสวนยาง?ผู้ว่าการ กยท. กล่าวในตอนท้าย ที่มา หนังสือพิมพ์แนวหน้า (วันที่ 28 กันยายน 2559)

นายธีธัช สุขสะอาด ผู้ว่าการการยางแห่งประเทศไทย (กยท.) เปิดเผยว่า กยท.ประสบผลสำเร็จระดับหนึ่งในการประสานเจรจาระหว่างผู้ประกอบการยางพาราของไทยทั้งภาคเอกชนและสถาบันเกษตรกร กับคณะนักธุรกิจผู้ผลิตล้อยางรายใหญ่ และสมาคมผู้ผลิตผลิตภัณฑ์ยางของประเทศอินเดีย โดยทางอินเดียได้แสดงความสนใจจะรับซื้อยางจากประเทศไทยประมาณไม่น้อยกว่าเดือนละ 10,000 ตัน สำหรับรายใหญ่ ส่วนรายย่อยที่เป็นสมาชิกของสมาคมผู้ผลิตผลิตภัณฑ์ยางอาจจะรับซื้ออยู่ที่ประมาณเดือนละ 1,000 ตันคาดว่าจะสามารถเริ่มรับซื้อและส่งออกยางไปยังอินเดียได้ตั้งแต่ต้นเดือนตุลาคม 2559 เป็นต้นไป สำหรับประเทศอินเดียนั้น เป็นประเทศที่มีความต้องการยางพาราเพื่อนำไปแปรรูปในอุตสาหกรรมล้อยาง และผลิตภัณฑ์ยางอื่นๆ เพื่อใช้ในประเทศถึงปีละประมาณ 900,000-1,100,000 ตัน ในขณะที่มีปริมาณยางพาราในประเทศเพียงปีละประมาณ 500,000 ตัน ที่เหลืออีกประมาณ 400,000-600,000 ตัน ต้องนำเข้าจากต่างประเทศดังนั้น จึงเป็นโอกาสที่ดีประเทศไทยซึ่งเป็นผู้ผลิตยางพารารายใหญ่ของโลกจะขยายตลาดเข้าไปในประเทศอินเดีย อย่างไรก็ตาม อินเดียได้ให้ความสำคัญในเรื่องคุณภาพและมาตรฐานยางพาราของไทยด้วย ซึ่ง กยท.จะเร่งให้ความรู้แก่เกษตรกรชาวสวนยาง และผู้ประกอบเกี่ยวกับยางพาราทุกภาคส่วน เพื่อพัฒนาคุณภาพยางไทยทั้งระบบ ตั้งแต่ขบวนการผลิตยางแผ่นดิบ ยางรมควัน โรงงานยางอัดก้อน ให้ได้มาตรฐาน GMP ตรงกับความต้องการของตลาด และสามารถที่จะส่งออกต่างประเทศได้ ?ในการขายยางของ กยท.นั้น จะไม่นำยางของสต๊อกที่มีอยู่จำนวน 310,000 ตันมาขายเพื่อระบายออกเป็นแบบยกลอตใหญ่อย่างแน่นอน ทั้งนี้ ยางจำนวนดังกล่าว กยท. จะดำเนินการตามนโยบายรัฐ ที่จะนำมาใช้ในโครงการส่งเสริมการใช้ยางในหน่วยงานภาครัฐเป็นหลัก เช่น การทำถนนยางพารา เพราะแต่ละปีประเทศไทยมีแผนในการสร้างถนนถึงกว่า 30,000 กิโลเมตร กยท.จะเสนอรัฐบาลให้พิจารณาในการนำยางบางส่วนมาใช้ทำถนนดินยางพารา รวมถึงการนำไปใช้เป็นส่วนผสมถนนยางมะตอยด้วยเช่นกัน รวมทั้งจะนำไปแปรรูปเป็น แผ่นปูพื้นสนามฟุตซอล หรือยางปูพื้น ซึ่งบางสถาบันเกษตรกรได้รับการรับรองตามมาตรฐาน มอก. เป็นที่เรียบร้อยแล้ว ตลอดจนแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์อื่นๆ ส่วนที่เหลือจะทยอยระบายออก เพื่อลดค่าใช้จ่ายในการเก็บรักษา และเป็นการรักษามาตรฐานคุณภาพยาง โดยจะไม่ให้กระทบต่อราคายางในตลาดและต่อเกษตรกรชาวสวนยาง?ผู้ว่าการ กยท. กล่าวในตอนท้าย ที่มา หนังสือพิมพ์แนวหน้า (วันที่ 28 กันยายน 2559) - See more at: http://www.rubberthai.com/index.php/newsyang/news-on-rubber/item/5887-28-09-2559#sthash.mxfHnIl4.dpuf