"อินเดีย"เซ็นMOU"บึงกาฬ" ร่วมมือด้าน"ยางพารา" ไทยพร้อมผลักดันให้ถึงแสนตันวันที่: 10 ก.ย. 59 เวลา: 18:40 น. เมื่อเวลา 14.00 น. วันที่ 10 กันยายน ที่จังหวัดบึงกาฬ มีการลงนามเอ็มโอยู หนังสือแสดงความจำนง (Letter of intent) ระหว่างประเทศไทยเเละประเทศอินเดีย โดยมี ดร.ธีธัช สุขสะอาด ผู้ว่าการการยางแห่งประเทศไทย, นางกุสุมา หงษ์ชูตา ประธานหอการค้าจังหวัดบึงกาฬ เเละ Mr.Deepak Chaddha ประธานบริษัท Chowdhry Rubber & Chemical Pvt.Ltd, ประเทศอินเดีย ร่วมลงนาม และมีนายพินิจ จารุสมบัติ อดีตรองนายกรัฐมนตรี และประธานสภาวัฒนธรรมไทย-จีนเเละส่งเสริมความสัมพันธ์, นายชัยธวัช เนียมศิริ รองผู้ว่าราชการจังหวัดบึงกาฬ ร่วมเป็นสักขีพยาน
ดร.ธีธัช สุขสะอาด ผู้ว่าการการยางแห่งประเทศไทย กล่าวว่า คณะนักธุรกิจยางพาราจากอินเดียให้ความสนใจในการลงพื้นที่ภาคอีสานซึ่งเป็น พื้นที่ปลูกยางหลักรองจากภาคใต้ โดยเฉพาะ จ.บึงกาฬมีพื้นที่ปลูกยางมากที่สุดในภาคอีสาน ประมาณ 6.9 แสนไร่ ดังนั้นจึงมีการพบปะระหว่างนักธุรกิจอินเดียกับผู้ประกอบการไทยเเละมีการลง นามร่วมกันในหนังสือเเสดงความจำนงในการซื้อยาง
ดร.ธีธัชกล่าวว่า บทบาทของการยางแห่งประเทศไทยจะเน้นการเปิดตลาดยางใหม่และไม่ไปแทรกแซงตลาด หรือขายผลผลิตแข่งกับใคร การเชิญนักธุรกิจจากประเทศผู้ซื้ออันดับต้นๆ ของโลกเป็นโอกาสในการสร้างส่วนแบ่งทางการตลาดให้กับวงการยางพาราไทยมากขึ้น ซึ่งนักธุรกิจกลุ่มนี้มีกำลังซื้อสูง เช่นบริษัท MRF มีกําลังการซื้อประมาณ 1 เเสนตันต่อปี เป็นต้น สิ่งที่สำคัญที่ประเทศไทยจะต้องเร่งสร้างความเชื่อมั่นให้กับธุรกิจต่างชาติ คือปรับปรุงคุณภาพผลผลิตให้ได้มาตรฐาน จากผลการแลกเปลี่ยนในพื้นที่ภาคใต้ที่ผ่านมาสิ่งที่นักธุรกิจให้ความเห็นคือ คุณภาพของยางไทย
?จะปรับปรุงคุณภาพผลผลิตให้ได้มาตรฐาน ทำให้เกิดความเชื่อมั่นในคุณภาพของยางไทยอย่างไรต่อไป ซึ่งจะต้องร่วมมือทุกฝ่ายทั้งเกษตรกรชาวสวนยางและผู้ประกอบการในการพัฒนาและ สร้างความเชื่อมั่นในคุณภาพยางพาราไทย นอกจากนี้ หลังเกิดกระแสปัญหากรดซัลฟิวริกในช่วงต้นเดือนที่ผ่านมาของพื้นที่ภาคอีสาน กิจกรรมนี้นับว่าจะพลิกวิกฤตให้เป็นโอกาส และย้ำเตือนว่าประเทศผู้ซื้อยางรายใหญ่ของโลกมีความสนใจ และพร้อมที่จะรับซื้อยางไม่ว่าจะภาคไหนของประเทศไทย แสดงว่าเราสร้างความเชื่อมั่นและผลิตยางได้คุณภาพมาตรฐานตามที่เขาต้องการ เพราะกลุ่มนักธุรกิจที่มามีทั้งกลุ่มผลิตภัณท์อุตสาหกรรมล้อยาง และอุตสาหกรรมที่ไม่ใช่ล้อยาง เช่น ถุงมือยาง เป็นต้น บางส่วนก็ยังต้องการยางแท่ง STR บางส่วนก็ต้องการยางลูกขุน และยางแผ่นรมควัน เพราะฉะนั้น ผู้ประกอบการไทย และศักยภาพของเกษตรกรและสถาบันเกษตรกรสามารถที่จะจับคู่ธุรกิจได้ และ กยท.จะปรับบทบาทมาเป็นหน่วยงานที่จะสามารถรับรองคุณภาพของยางจากเกษตรกร เพื่อให้เป็นที่เชื่อมั่นของผู้ซื้อได้ว่า ยางเหล่านี้เมื่อผ่านการรวบรวมจาก กยท.แล้วมีมาตรฐาน สามารถส่งมอบและลงนามในหนังสือแสดงความจำนงในการซื้อยางต่อไป? ดร.ธีธัชกล่าว
นายพินิจกล่าวว่า การมาเยือนของนักธุรกิจจากประเทศอินเดีย ต้องชื่นชม พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีเเละหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ที่นำคณะไปเยือนประเทศอินเดีย เเละได้มีการเจรจาเรื่องการค้าระหว่างไทยกับอินเดีย ซึ่งมีเรื่องยางพาราอยู่ด้วย เเละคณะจากสถานทูตไทยประจำกรุงนิวเดลีได้ทำงานต่อเนื่อง นำคณะนักธุรกิจชาวอินเดีย 9 ท่านจาก 9 บริษัทชั้นนำมาเยือนประเทศไทย มีทั้งบริษัทล้อยางอันดับต้นๆ บริษัทอุตสาหกรรมต่อเนื่องเกี่ยวกับการใช้ยางพาราที่ใหญ่มาก
?ถือว่า เป็นประวัติศาสตร์และก้าวสำคัญของ จ.บึงกาฬ ที่ผู้ประกอบการชาวอินเดียที่ได้มาเยือน ทุกฝ่ายก็มีความยินดี ในเรื่องของมิตรภาพเเละการต้อนรับของ จ.บึงกาฬ และได้เยี่ยมชมโรงงานเเละผู้ประกอบการในจังหวัด ซึ่งทางนักธุรกิจได้เห็นยางล้วนบอกว่าคุณภาพดี มีความมั่นใจสูง ก้าวต่อไปเราเองต้องแปรรูปวัตถุดิบให้มีมูลค่ามากขึ้น ตามที่รัฐบาลประกาศให้มีนวัตกรรม 4.0 ร่วมมือกับนานาชาติต่างๆ ซึ่งผมพยายามเชื่อมต่อให้กลุ่มเกษตรกรเข้าถึงนวัตกรรมเเละเทคโนโลยีจากนัก วิจัย สถาบันการศึกษาและหน่วยงานต่างๆ เช่น สถาบันการยางเเห่งประเทศไทย?
นาย พินิจกล่าวอีกว่า การลงนามครั้งนี้เป็นบันทึกเจตจำนงความต้องการการซื้อขายโดยตรงระหว่าง อินเดียกับเกษตรกรชาวสวนยาง โดยทางอินเดียย้ำว่าจะต้องได้รับผลประโยชน์ทั้งสองฝ่าย ซึ่งการซื้อขายยางเริ่มต้นจะพยายามผลักดันต่อไปให้ได้ไม่ต่ำกว่า 100,000 ตัน/ปี เป็นการเริ่มต้นที่ดีที่มีการซื้อขายโดยตรงไม่ผ่านพ่อค้าคนกลาง ช่วยเกษตรกรเเละผู้ค้ารายย่อย SME ได้มากตามนโยบายรัฐบาล ที่อยากให้กลุ่มสหกรณ์ SME สามารถขับเคลื่อนไปได้
Mr.Deepak กล่าวว่า บริษัท Chowdhry Rubber & Chemical Pvt.Ltd, เป็นบริษัทซัพพลายนำเข้ายางพาราเพื่อส่งต่อให้บริษัทอุตสาหกรรมพาร์ตเนอร์ อีก 11 แห่งในประเทศอินเดีย ในครั้งนี้จะมีการลงนามความร่วมมือกับ จ.บึงกาฬเพื่อนำเข้ายางพารา ซึ่งขณะนี้มีความต้องการทั้งยางเครป ยางแผ่น และยางบล็อก และมีความต้องการน้ำหนักยางพาราที่ประมาณ 35 กก./ก้อน โดยใน 1 เดือนมีความต้องการยางประมาณ 200-300 ตันต่อ 1 บริษัท ซึ่งเป็นยางพาราปริมาณมาก
นายอภิรัตน์ สุคนธาภิรมย์ ณ พัทลุง อัครราชทูตสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงนิวเดลี กล่าวว่า ได้นําตัวแทนผู้ประกอบการธุรกิจยางพาราอินเดียมาเยือนไทย ประกอบด้วยบริษัทที่อยู่ในกลุ่มสมาคมผู้ผลิตยางล้อในประเทศอินเดีย (AutomotiveTyre Manufacturers Association-ATMA) และสมาคมอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ยางอินเดีย (All India Rubber Industries Association-AIRIA) เพื่อจัดให้มีกิจกรรมพบปะกับผู้ขายเเละผู้ประกอบการธุรกิจยางพาราของไทย รวมทั้งการรับทราบข้อมูลเกี่ยวกับศักยภาพของธุรกิจยางพาราไทย
?ซึ่ง สถานเอกอัครราชทูตดำเนินตามนโยบายของรัฐบาลที่ให้ความสำคัญต่อการผลักดัน เรื่องยางพารา โดยการเดินทางครั้งนี้เพื่อให้นักธุรกิจชาวอินเดียเห็นศักยภาพของยางพาราไทย ทั้งระบบ ทั้งภาคใต้และภาคอีสาน โดยวัตถุประสงค์หลักเพื่อจับคู่ทางธุรกิจและส่งเสริมการส่งออกยางพาราไทยใน รูปแบบต่างๆ เข้าสู่ตลาดอินเดีย ซึ่งปัจจุบันอินเดียมีความต้องการนําเข้ายางธรรมชาติหรือผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยว กับยางพาราเพื่อรองรับกับความต้องการใช้ยางในด้านอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นอย่าง ต่อเนื่อง?
นายประชา ทรัพย์พิพัฒนา กรรมการผู้จัดการสหกรณ์กองทุนสวนยางอำเภอบ่อทอง จำกัด จ.ชลบุรี กล่าวว่า การมาร่วมเวทีเจรจาผู้ซื้อพบผู้ขายระหว่างประเทศไทยและคณะนักธุรกิจจาก ประเทศอินเดียโดยมีการยางแห่งประเทศไทยและสถานทูตไทยประจํากรุงนิวเดลีเป็น องค์กรหลัก ในการประสานงานครั้งนี้ นับเป็นโอกาสทางการตลาดให้กับเกษตรกรยกระดับจากการดําเนินธุรกิจต้นน้ำ พัฒนาสู่กลางน้ำด้วยการแปรรูปผลผลิตของตัวเองให้มีมูลค่าเพิ่มมากขึ้น ปัจจุบันสหกรณ์กองทุนสวนบ่อทองได้รับซื้อผลผลิตจากเกษตรกรในพื้นที่ภาคตะวัน ออกเป็นหลักในรูปแบบยางแผ่นอัดก้อนส่งประเทศจีนเเละไต้หวัน ซึ่งที่ผ่านมามีกำลังการผลิตประมาณเดือนละ 1,200 ตัน สำหรับประเทศไทยมีโรงงานรับซื้อไปแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ส่วนประกอบรถยนต์ อย่างมาสด้าหรือฟอร์ด เป็นต้น
นายประชากล่าวต่อว่า ตลาดยังคงมีความต้องการใช้ยางพาราอย่างต่อเนื่อง สหกรณ์กองทุนฯบ่อทองจึงมีการขยายกิจการ โดยการสร้างโรงงานเพื่อแปรรูปเป็นยางแท่ง STR 20 คาดว่าจะรับซื้อยางก้อนถ้วยในพื้นที่ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือเป็นหลักโดย กําลังการผลิตของโรงงานขั้นต่ำประมาณ 3,000 ตัน/เดือน เป้าหมายการเปิดตลาดใหม่ครั้งนี้เน้นการเชื่อมโยงระหว่างสถาบันเกษตรกรกับ สถาบันเกษตรกรเพื่อสร้างความเข้มแข็งให้เพื่อนเกษตรกรชาวสวนยางด้วยกัน จะไม่มีการผูกขาด
?ล่าสุดสหกรณ์กองทุนฯบ่อทองตกลงกับสหกรณ์กองทุนฯ หนองหัวช้าง จำกัด เพื่อรับซื้อผลผลิตยางก้อนถ้วยในการแปรรูปยางแท่ง STR 20 เรียบร้อยแล้ว และคาดว่าในช่วงกลางเดือนกันยายนเป็นต้นไปจะร่วมมือกับการยางแห่งประเทศไทย จ.บึงกาฬ เชิญผู้นำเกษตรกรของแต่ละพื้นที่ใน จ.บึงกาฬและในพื้นที่ภาคอีสานใกล้เคียงหารือร่วมกันในการรวบรวมผลผลิตยาง ก้อนถ้วยเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม และเมื่อได้มีโอกาสพบปะพูดคุยกับนักธุรกิจจากอินเดียจะเป็นการเปิดโอกาสใน การขยายหรือพัฒนาธุรกิจของสถาบันเกษตรสวนยางไทยต่อไป? นายประชากล่าว
ต่อ มาเวลา 19.00 น. จ.บึงกาฬนำโดยนายพงษ์ศักดิ์ ปรีชาวิทย์ ผู้ว่าฯบึงกาฬ จัดเลี้ยงต้อนรับนักธุรกิจ 9 ท่าน ได้เเก่ Mr.P.K Hari, Mr.Mohan Kurian , Mr.V.T Chandrashekharan , Mr.Muthuswamy Dhanara , Mr.M.K Mehta , Mr.Rahul Vachaspati , Mr.Vipan Mehta , Mr.Aseem Khanna เเละ Mr.Deepak Chaddha