ผู้เขียน หัวข้อ: คลอด4โครงการ แก้ราคายางต่ำ! ช่วยชาวสวนเริ่มตุลาฯนี้!  (อ่าน 3002 ครั้ง)

Rakayang.Com

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 85907
    • ดูรายละเอียด
คลอด4โครงการ แก้ราคายางต่ำ! ช่วยชาวสวนเริ่มตุลาฯนี้!
โดย - โต๊ะข่าวเกษตร

นายสุนันท์ นวลพรหมสกุล โฆษกการยางแห่งประเทศไทย (กยท.) แถลงประเด็นการให้ความช่วยเหลือเกษตรกรชาวสวนยางว่า จากสถานการณ์ราคายางพาราที่ยังคงอยู่ในระดับต่ำ ยังไม่ฟื้นตัวเท่าที่ควร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้มอบหมายให้การยางแห่งประเทศไทย เร่งดำเนินการแก้ปัญหา ซึ่งที่ผ่านมารัฐบาลมีหลายโครงการที่ช่วยพยุงราคายางในตลาดและสร้างความ สมดุลกับระบบตลาดยางนั้น แต่ก็ส่งผลกระทบต่อเกษตรกรชาวสวนยางในหลายครัวเรือน เพราะปัจจัยแวดล้อมหลายๆ อย่าง อาทิ สภาพภูมิอากาศ สภาพเศรษฐกิจ เป็นต้น ดังนั้น กยท.ได้เร่งจัดทำโครงการเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรทั้งหมด 4 โครงการ ได้แก่


          โครงการที่ 1โครงการยางพาราแลกปุ๋ยบำรุงภายใต้แนวทาง พัฒนายางพาราทั้งระบบ โดยให้เกษตรกรหรือสถาบันเกษตรกรนำยางพาราของเกษตรกร และสถาบันเกษตรกรหรือยางของการยางแห่งประเทศไทยมาแลกเปลี่ยนกับปุ๋ยบำรุง ซึ่งยางพาราดังกล่าวนั้น บริษัทฯ ผู้ประกอบกิจการยางหรือผู้ผลิตปุ๋ยบำรุงจะยางพาราเก็บเข้าสต็อกเพื่อลด ปริมาณยางในตลาดและแปรรูปเพิ่มมูลค่า เป็นการส่งเสริมการดำเนินการพัฒนา ยางพาราทั้งระบบ มีระยะเวลาดำเนินการโครงการ ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2559-30 กันยายน 2560 

           โครงการที่ 2โครงการ สนับสนุนสินเชื่อเป็นเงินทุนหมุนเวียนแก่ผู้ประกอบการยาง กยท.ได้หารือกับสมาคมน้ำยางข้นไทยเพื่อเสนอแนวทางการแก้ปัญหาราคายางตกต่ำ และลดภาระงบประมาณของรัฐ โดยอาศัยความร่วมมือจากผู้ประกอบการยางให้มีการดูดซับยางพาราออกจากระบบนำมา เก็บสต็อกของผู้ประกอบการในลักษณะหมุนเวียน เป็นการลดปริมาณยางในตลาด ซึ่งจะส่งผลให้ราคายางในตลาดปรับตัวเพิ่มขึ้นและมีเสถียรภาพมากขึ้น มีระยะเวลาดำเนินการโครงการ 2 ปี ระหว่างเดือนตุลาคม 2559-กันยายน 2561
 
คลอด4โครงการ แก้ราคายางต่ำ! ช่วยชาวสวนเริ่มตุลาฯนี้! height=378
            โครงการที่3 โครงการสนับสนุนสินเชื่อสถาบันเกษตรกรชาวสวนยาง โครงการนี้ ให้สถาบันเกษตรกรชาวสวนยางมีบทบาทสำคัญในการรับซื้อผลผลิตยางจากเกษตรกรชาว สวนยางเพื่อสร้างอำนาจในการต่อรองกับพ่อค้า แต่ยังมีข้อจำกัดด้านโครงสร้างพื้นฐานสำหรับการซื้อขายยางและสถานที่ประกอบ การไม่เอื้ออำนวยต่อการดำเนินงานรับซื้อขายยางจากเกษตรกร และยังขาดเงินทุน หมุนเวียนในการดำเนินการ เพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว กยท.จึงเสนอให้มีการสนับสนุนสินเชื่อสถาบันเกษตรกรชาวสวนยาง ดอกเบี้ยผ่อนปรน ซึ่งสถาบันเกษตรกรชาวสวนยางสามารถนำไปใช้ปรับปรุงสถานที่ และจัดซื้อวัสดุอุปกรณ์ในการดำเนินงานของสถาบันฯ ในช่วงที่ผลผลิตออกสู่ตลาดได้ เป็นการยกระดับการผลิตและการตลาดในระดับสถาบันเกษตรกรให้สูงขึ้น มีระยะเวลาในการดำเนินการโครงการ ตั้งแต่วันที่  1 ตุลาคม 2559-30 กันยายน 2569

           โครงการที่ 4 โครงการพักชำระหนี้ สถาบันเกษตรกรชาวสวนยาง จากผลกระทบราคายางที่ผ่านมา รัฐบาลเร่งให้ความช่วยเหลือสถาบันเกษตรกรชาวสวนยางต่างๆ ตามแนวทางการพัฒนายางทั้งระบบ โดยช่วยเหลือด้านเงินสนับสนุนเงินทุนหมุนเวียนในรูปแบบต่างๆ และเพิ่มศักยภาพของสถาบันเกษตรกรชาวสวนยางในการผลิต แต่สถานการณ์ปัจจุบัน ราคายางยังไม่ฟื้นตัวเท่าที่ควร โครงการพักชำระหนี้สถาบันเกษตรกร จะเป็นอีก หนึ่งโครงการช่วยลดภาระสถาบันเกษตรกรชาวสวนยางที่ต้องชำระหนี้ให้แก่สถาบัน การเงิน และที่สำคัญยังสนับสนุนกิจการของสถาบันเกษตรกรให้เข้มแข็งและก้าวเดินต่อไป ได้ ซึ่งระยะเวลาดำเนินการโครงการ ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2559-30 กันยายน 2560

            นอกจากนี้ กยท.ยังดำเนินกิจกรรมเปิดตลาดยางพาราแปรรูปประเภทยางแผ่นรมควันไม่อัดก้อน และแบบอัดก้อน หรือยางลูกขุน ให้ได้มาตรฐานระบบการจัดการคุณภาพที่ดี (Good Manufacturing Practice : GMP ในต้นเดือนกันยายนนี้ จะนำร่องที่ จ.สุราษฎร์ฯ โดยมีชุมนุมสหกรณ์ตรัง ดำเนินการส่งออกอยู่แล้วร่วมดำเนินการโครงการด้วย เพื่อยกระดับคุณภาพของสหกรณ์หลายๆ สหกรณ์ที่มีศักยภาพในการแปรรูปเพิ่มมูลค่ายางพารา และจะขยายการนำร่องร่วมกับสหกรณ์อื่นๆ เพิ่มเติม อาทิ กระบี่ นครศรีธรรมราช เป็นต้น
 
คลอด4โครงการ แก้ราคายางต่ำ! ช่วยชาวสวนเริ่มตุลาฯนี้! height=405
           นายสุนันท์กล่าว อีกว่า ตามที่พระราชบัญญัติการยางแห่งประเทศไทย ระบุไว้ว่ายางพาราไม่ใช่แค่น้ำยางพาราเท่านั้น แต่รวมถึงไม้ยางพาราด้วย ซึ่งประเทศไทยส่งออกไม้ยางพารามูลค่ามากถึง 4.5 พันล้านบาทต่อปี ปัจจุบันไทยส่งออกแค่ประเทศจีนประเทศเดียว ขณะที่ประเทศแถบยุโรป ญี่ปุ่น มีความต้องการ แต่เพราะถ้าไม่มีการรับรองคุณภาพไม้ยางระดับสากล จะไม่สามารถ ส่งออกไปประเทศเหล่านี้ได้ ดังนั้น การยางแห่งประเทศไทยจึงร่วมกับสภาอุตสาหกรรมจัดตั้งองค์กรกลาง เพื่อดำเนินการออกใบรับรองคุณภาพไม้ยางหรือ (ทีเอฟซีซี) โดยที่ กยท.จะเข้ามามีบทบาทในฐานะคณะกรรมการ ซึ่งโครงการดังกล่าว จะเข้ามาช่วยเหลือเกษตรกรที่รับการสนับสนุนการปลูกจาก กยท. เมื่อต้องการโค่น หรือตัดเพื่อปลูกแทน และต้องการส่งออก ทั้งนี้ โครงการดังกล่าวจะนำร่องในพื้นที่ จ.นครศรีธรรมราช และ จ.ระยอง คาดว่าโครงการจะดำเนินการให้แล้วเสร็จไม่เกินกลางปีหน้าอย่างแน่นอน

           ทั้งนี้ เกษตรกรที่ไม่มีเอกสารสิทธิ์ ขณะนี้ กยท.เขตทุกเขต ได้เปิดให้เกษตรกรมาแจ้งข้อมูล แต่มิใช่เป็นการรับรองสิทธิการเป็นเกษตรกรชาวสวนยางตาม พ.ร.บ.การยางฯ และความชอบธรรมในการครอบครองสิทธิ แต่เป็นการแจ้งข้อมูล เพื่อใช้เป็นข้อมูลพื้นที่การปลูกยางพารา เพื่อที่ กยท.จะดำเนินการกำหนดนโยบายด้านยางพาราต่อไป