ผู้เขียน หัวข้อ: โรคที่จะเกิดกับต้นยางที่จะตามในสภาพอากาศแบบนี้  (อ่าน 607 ครั้ง)

Rakayang.Com

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 84897
    • ดูรายละเอียด
ผลกระทบของลักษณะอากาศต่อการเกษตรตามภาคต่าง ๆ
 ระหว่าง 08 สิงหาคม 2559 - 14 สิงหาคม 2559



ภาคเหนือ                                
        ในช่วงวันที่ 9-11 ส.ค. มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ ส่วนในช่วงวันที่ 12-14 ส.ค. มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 22-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-34 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม. /ชม.
-ข้าวนาปี  อากาศมีความชื้นสูง :  เกษตรกรควรระวังและป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา เช่น โรคไหม้ โรคใบหงิก
 -ลำไย ดินและอากาศมีความชื้น : โรครากเน่าโคนเน่า และผีเสื้อมวนหวาน รวมทั้งไม่ควรปล่อยให้ผลที่เน่าเสีย ร่วงหล่นกองอยู่ในสวน
- กาแฟ ดินและอากาศมีความชื้นสูง : โรคราสนิม และโรคใบจุด
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ                                 
        ในช่วงวันที่ 8-10 ส.ค. มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ     40-60 ของพื้นที่ ส่วนในช่วงวันที่ 11-14 ส.ค. มีฝนฟ้าคะนอง      ร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 23-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-35 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม. /ชม.
- ข้าวนาปี อากาศมีความชื้นสูง : เกษตรกรควรระวังและป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา เช่น โรคไหม้ โรคใบหงิก โรคขอบใบแห้ง
- ฝนตกหนัก  บริเวณที่มีน้ำท่วมขัง ไม่ควรปล่อยให้สัตว์เลี้ยงอยู่ในที่ชื้นแฉะเป็นเวลานาน เพราะจะทำให้อ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย
- พืชไร่  ดินและอากาศมีความชื้นสูง : เกษตรกรควรระวังและป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา เช่นโรคราน้ำค้างในข้าวโพด โรคแส้ดำในอ้อย เป็นต้น
ภาคกลาง                                
        ในช่วงวันที่ 8-10 ส.ค. มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ      30-40 ของพื้นที่ ลมตะวันตกเฉียงใต้                   ความเร็ว 15-30 กม. /ชม. ในช่วงวันที่ 11-14 ส.ค. มีฝนฟ้าคะนอง               ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักบางแห่งส่วนมากทางตอนล่างของภาค ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม. /ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-35 องศาเซลเซียส
-ข้าวนาปี  อากาศมีความชื้น : เกษตรกรควรระวังและป้องกันศัตรูพืชจำพวกหนอน และโรคไหม้
- ไม้ดอก อากาศมีความชื้น : ระวังโรคที่เกิดจากเชื้อรา เช่นโรคจุดสนิมและโรคยอดเน่า ในกล้วยไม้ รวมทั้งโรคราสนิมและโรคดอกเน่า ในดาวเรือง
-สัตว์ปีก  : อากาศมีความชื้น : ดูแลโรงเรือนให้โปร่งอากาศถ่ายเท เพื่อลดความชื้นป้องกันสัตว์ป่วยสัตว์น้ำปรับตัวไม่ทัน อ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย
ภาคตะวันออก                                 
        มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ ตลอดช่วง กับมีฝนตกหนักบางแห่ง ในช่วงวันที่ 11-14 ส.ค.มีฝนตกหนักมากบางแห่ง ในช่วงวันที่ 8-10 ส.ค. ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม. /ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองทะเลมีคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 11-14 ส.ค. ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20-35 กม. /ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองทะเลมีคลื่นสูง 2-3 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 23-28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-34 องศาเซลเซียส
-  ไม้ผล : สภาพดินและอากาศมีความชื้นสูง :เกษตรกรระวังโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา เช่นโรครากเน่าโคนเน่า และระวังศัตรูพืชจำพวกหนอน เช่น หนอนกินใบ และหนอนชอนใบ
- ยางพารา : สภาพดินและอากาศมีความชื้นสูง : เกษตรกรควรดูแลสวนให้โปร่ง อากาศถ่ายเทได้สะดวก เพื่อลดความชื้นภายในสวน ป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา
- ประมงชายฝั่ง คลื่นลมแรง: ผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่งบริเวณอ่าวไทยตอนบนควรระวังความเสียหายที่อาจ เกิดขึ้น ส่วนชาวเรือและชาวประมงควรเพิ่มความระมัดระวังในการเดินเรือ
ภาคใต้ (ฝั่งตะวันออก)                                
        มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ ตลอดช่วง กับมีฝนตกหนักบางแห่ง ในช่วงวันที่ 11-14 ส.ค. ในช่วงวันที่ 8-10 ส.ค. ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม. /ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ห่างฝั่งทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 11-14 ส.ค. ลมตะวันตกเฉียงใต้             ความเร็ว 20-35 กม. /ชม.  ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร ห่างฝั่งทะเลมีคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 22-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-36 องศาเซลเซียส
-ไม้ผล ดินและอากาศมีความชื้นสูง : โรครากเน่าโคนเน่า หนอนเจาะผลในทุเรียน หนอนเจาะขั้วผลในเงาะ และหนอนแทะผลในมังคุด
- ยางพารา  : ดินและอากาศมีความชื้นสูง :เกษตรกรควรดูแลสวนให้โปร่งอากาศถ่ายเทได้สะดวก เพื่อลดความชื้นภายในสวนป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา เช่นโรคใบยางร่วงลูกยางเน่า และโรคเส้นดำเป็นต้น
- ประมงชายฝั่ง : คลื่นลมแรง: ผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่งบริเวณทะเลอันดามันควรระวังความเสียหายที่อาจ เกิดขึ้น ส่วนชาวเรือและชาวประมงควรเพิ่มความระมัดระวังในการเดินเรือ และในช่วงวันที่ 11-14 ส.ค. เรือเล็กบริเวณทะเลอันดามันควรงดออกจากฝั่ง
ภาคใต้ (ฝั่งตะวันตก)                                 
        ในช่วงวันที่ 8-9 ส.ค. มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20-35 กม. /ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองทะเลมีคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 10-14 ส.ค. มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 60-80 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20-40 กม. /ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 2-3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองทะเลมีคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 22-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-33 องศาเซลเซียส
-ไม้ผล ดินและอากาศมีความชื้นสูง : โรครากเน่าโคนเน่า หนอนเจาะผลในทุเรียน หนอนเจาะขั้วผลในเงาะ และหนอนแทะผลในมังคุด
- ยางพารา  : ดินและอากาศมีความชื้นสูง :เกษตรกรควรดูแลสวนให้โปร่งอากาศถ่ายเทได้สะดวก เพื่อลดความชื้นภายในสวนป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา เช่นโรคใบยางร่วงลูกยางเน่า และโรคเส้นดำเป็นต้น
- ประมงชายฝั่ง : คลื่นลมแรง: ผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่งบริเวณทะเลอันดามันควรระวังความเสียหายที่อาจ เกิดขึ้น ส่วนชาวเรือและชาวประมงควรเพิ่มความระมัดระวังในการเดินเรือ และในช่วงวันที่ 11-14 ส.ค. เรือเล็กบริเวณทะเลอันดามันควรงดออกจากฝั่ง
[color=\"ff0000\"]หมายเหตุ[/color]http://www.arcims.tmd.go.th/dailydata/MonthRain.php
http://www.arcims.tmd.go.th/DailyDATA/pet7day.php
ปริมาณฝนสะสมเดือนสิงหาคม (1 ? 7) ฝนสะสมในช่วงนี้ส่วนมากมีฝนสะสม 1-50 มม. เว้นแต่ บางพื้นที่บริเวณภาคใต้ฝั่งตะวันตก ภาคตะวันออก และภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนมีฝนสะสม 50-100 มม.  แม้ในช่วงวันที่ 1-7 ส.ค. บริเวณประเทศไทยมีปริมาณฝนสะสมยังไม่มาก แต่เนื่องจากในเดือนที่ผ่านมามีฝนตกมาตลอด ทำให้ปริมาณฝนสะสมยังคงเป็นประโยชน์แก่พืช
ปริมาณฝนสะสม 7 วันที่ผ่านมา  มีปริมาณฝนสะสม 20-100 มม. เป็นส่วนใหญ่ เว้นแต่บางพื้นที่ของภาคใต้ฝั่งตะวันตก ภาคตะวันออก และภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน มีฝนมากกว่าบริเวณอื่นคือ 100-300 มม. ส่วนด้านตะวันออกของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลางตอนล่างและภาคใต้ตอนล่างมีปริมาณฝนสะสมน้อยกว่าบริเวณอื่น คือ 1-20 มม.
ศักย์การคายระเหยน้ำ : ในช่วง 7 วันที่ผ่านมาบริเวณประเทศไทยมีค่าศักย์การคายระเหยน้ำสะสม 25 ? 30 มม. เป็นส่วนใหญ่ เว้นแต่บริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือด้านตะวันออกมีค่าศักย์การคายระเหยน้ำ สะสม 30 ? 35 มม.
สมดุลน้ำ : ในช่วง 7 วันที่ผ่านมาสมดุลน้ำส่วนมากมีค่าเป็นบวก โดยสมดุลน้ำสูงสุดอยู่ที่ภาคใต้ฝั่งตะวันตกและภาคตะวันออกมีค่า 100-300 มม. ส่วนภาคตะวันออกเฉียงเหนือด้านตะวันออก ภาคกลางตอนล่าง และภาคใต้ตอนล่าง มีค่าสมดุลน้ำเป็นลบ โดยมีค่าอยู่ระหว่าง ( - 1) ถึง (-30) มม.
คำแนะนำ : ในช่วง 7 วันที่ผ่านมามีฝนตกหนักในหลายพื้นที่ ทำให้ในหลายพื้นที่มีค่าสมดุลน้ำเป็นบวก แต่บางพื้นที่ค่าสมดุลน้ำยังคงมีน้อย  และในช่วง 7 วันข้างหน้ายังคงมีฝนตก กับมีฝนตกหนักบางแห่ง ซึ่งจะเป็นผลดีต่อพืชที่ขาดน้ำในช่วงที่ผ่านมา แต่ควรระวังและป้องกันการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา สำหรับพื้นที่การเกษตรที่อยู่ในที่ลุ่มบริเวณภาคตะวันออกและภาคใต้ด้านตะวัน ตก เกษตรกรควรจัดระบบระบายน้ำในแปลงปลูกให้มีประสิทธิภาพ เพื่อป้องกันน้ำท่วมขังเมื่อมีฝนตกหนัก
ที่มา กรมอุตุนิยมวิทยา   ออกประกาศ 08 สิงหาคม 2559 00:00 น.       
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: สิงหาคม 10, 2016, 09:06:50 AM โดย Rakayang.Com »