ผู้เขียน หัวข้อ: น้ำมันลงจากแรงเทขาย หุ้นสหรัฐฯทุบสถิติ-ทองคำปิดบวก  (อ่าน 267 ครั้ง)

Rakayang.Com

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 84901
    • ดูรายละเอียด
น้ำมันลงจากแรงเทขาย หุ้นสหรัฐฯทุบสถิติ-ทองคำปิดบวก


โดย MGR Online

10 สิงหาคม 2559 05:28 น.

เอเอฟพี/รอยเตอร์ - น้ำมันขยับลงเมื่อวันอังคาร(9ส.ค.) นักลงทุนขายทำไรหลังราคาพุ่งขึ้นช่วงไม่กี่วันที่ผ่านมา ส่วนวอลล์สตรีทปิดบวก ตามแรงหนุนกลุ่มประกันสุขภาพ ขณะที่ทองคำขึ้นเล็กน้อย จากการแข็งค่าของดอลลาร์
       
        สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เทกซัส อินเตอร์มีเดียต หรือไลต์สวีตครูด งวดส่งมอบเดือนกันยายน ลดลง 25 เซนต์ ปิดที่ 42.77 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ส่วนเบรนต์ทะเลเหนือลอนดอน งวดส่งมอบเดือนตุลาคม ลดลง 41 เซนต์ ปิดที่ 44.98 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล
       
        การปรับลงเล็กน้อยของราคาน้ำมันมีขึ้นตามหลังถ้อยแถลงของโอเปกเมื่อ วันจันทร์(8ก.ค.) ที่เรียกประชุมสมาชิกนอกกำหนดการในเดือนหน้า กระพือข่าวลือเกี่ยวกับความเป็นไปได้ที่จะมีมาตรการต่างๆออกมาเพื่อทำให้ ราคาน้ำมันมีเสถียรภาพ
       
        รายงานข่าวระบุด้วยว่าอเล็กซานเดอร์ โนวัค รัฐมนตรีพลังงานของรัสเซีย เผยประเทศของเขามีความตั้งใจหารือเกี่ยวกับการตรึงเพดานการผลิต หากว่าโอเปกหยิบยกประเด็นนี้มาพูดคุย
       
        ด้านตลาดหุ้นสหรัฐฯในวันอังคาร(9ส.ค.) ปิดบวกเล็กน้อยท่ามกลางการซื้อขายที่เบาบาง แต่ก็เพียงพอที่จะดัน แนสแดค ทุบสถิติสูงสุดเป็นประวัติการณ์รอบใหม่ จากแรงหนุนหุ้นประกันสุขภาพและเทคโนโลยี
       
        ดาวโจนส์ เพิ่มขึ้น 3.76 จุด (0.02 เปอร์เซ็นต์) ปิดที่ 18,533.05 จุด เอสแอนด์พี เพิ่มขึ้น 0.85 จุด (0.04 เปอร์เซ็นต์) ปิดที่ 2,181.74 จุด ส่วน แนสแดค เพิ่มขึ้น 12.34 จุด (0.24 เปอร์เซ็นต์) ปิดที่ 5,225.48 จุด
       
        ดัชนีกลุ่มประกันสุขภาพของเอสแอนด์พี 500 เพิ่มขึ้น 0.24 เปอร์เซ็นต์ ได้แรงหนุนของเอ็นโด อินเตอร์เนชันแนล ที่พุ่งทะยาน 21.8 เปอร์เซ็นต์ หลังบริษัทแห่งนี้มีกำไรรายไตรมาสแข็งแกร่งเกินคาดหมาย
       
        นักลงทุนเมินรายงานข้อมูลผลผลิตไตรมาส 2 ที่อ่อนแอเกินคาดหมายของสหรัฐฯ แม้ปัจจัยนี้อาจส่งผลประทบต่อความสามารถในการจ้างงานของบริษัทต่างๆก็ตาม
       
        ส่วนราคาทองคำในวันอังคาร(9ส.ค.) ปิดบวกพอสมควร หลังดอลลาร์อ่อนค่าลง โดยตลาดทองคำโคเม็กซ์ เพิ่มขึ้น 5.40 ดอลลาร์ ปิดที่ 1,346.70 ดอลลาร์ต่อออนซ์