ผู้เขียน หัวข้อ: ในระดับโลก ?การเล่นปิงปองผ่านมาตรการทางการเงิน? พลวัต 2016  (อ่าน 343 ครั้ง)

Rakayang.Com

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 84892
    • ดูรายละเอียด
ในระดับโลก ?การเล่นปิงปองผ่านมาตรการทางการเงิน? พลวัต 2016


2016-04-26 07:00:00
เมื่อวานนี้ นกลงทุนรายย่อยของตลาดหุ้นไทย คงจะกินยาผิดซองกันหลายคนพร้อมกัน จึงเกิดความกล้าหาญชาญชัยเข้าซื้อสุทธิในหุ้นจนกระทั่งดัชนีตลาดฯร่วงไป เพียงแค่ 2.10 จุดเท่านั้น แต่ก็ยังหลุดแนวรับสำคัญ 1,410 จุดลงไปจนได้ ถือว่าติดลบน้อยที่สุดในบรรดาหุ้นทั่วโลกอีกครั้งหนึ่ง ทั้งที่ขายขายสุทธิจากทั้งต่างชาติ พอร์ตโบรกเกอร์ และกองทุนรวม


สำหรับต่างชาตินั้น ไม่ได้ขายสุทธิเฉพาะในตลาดหุ้นเท่านั้น หากยังขายชอร์ตสุทธิในตลาดตราสารอนุพันธ์ SET50 FUTURES และตลาดตราสารหนี้อีกด้วย และหากผสมกับค่าบาทที่อ่อนเหนือ 35.00 บาทต่อดอลลาร์อีกครั้ง ก็ส่งสัญญาณถอนตัวออกจากตลาดเก็งกำไรของไทยชัดเจน


บรรยากาศการลงทุนในตลาดหุ้นไทยที่เริ่มมีสัญญาณพักฐานหรืออาจจะปรับฐานใน ยามนี้ ไม่ได้เกิดขึ้นเพียงแค่เพราะสถานการณ์ณ์เฉพาะหน้า แต่เกิดจากข้อเท็จจริงที่ตอกย้ำรอบด้านว่า สถานการณ์โดยรวมของการลงทุนเก็งกำไรไม่น่ารื่นรมย์มากนัก


ในระดับโลก ?การเล่นปิงปองผ่านมาตรการทางการเงิน? ของธนาคารกลางใหญ่ของโลกอย่างเฟดฯ และธนาคารกลางญี่ปุ่น และธนาคารกลางยุโรป ยังดำเนินต่อไปอย่างไม่เป็นทางการ ซึ่งทำให้เกิดความผันผวนจากความคลุมเครือของสถานการณ์ที่ยืดเยื้อ


ภาวะฟองสบู่เช่นนี้ เกิดขึ้นกับกรณีของจีนด้วย โดยที่เมื่อวานนี้  ธนาคารกลางจีนอัดฉีดเม็ดเงินเข้าสู่ตลาดเพิ่มเพื่อคลายสภาพคล่องตึงตัวใน ตลาดอีก 1.8 แสนล้านหยวน (2.76 หมื่นล้านดอลลาร์) ผ่านทางข้อตกลงซื้อพันธบัตรโดยมีสัญญาขายคืน (reverse repo) อายุ 7 วัน หลังจากที่ธนาคารกลางได้อัดฉีดเม็ดเงินเข้าสู่ระบบการเงินไปแล้ว 2.6 แสนล้านหยวนและ 2.5 แสนล้านหยวนในวันพฤหัสบดี และวันพุธที่ผ่านมา แต่ยังมีอาการเอาไม่อยู่หลงเหลืออยู่


เช่นเดียวกับราคาน้ำมัน เมื่อวานนี้ นักวิเคราะห์ของวาณิชธนกิจชื่อดัง มอร์แกน สแตนเลย์ ออกรายงานระบุว่า การพุ่งขึ้นของราคาน้ำมันดิบที่พุ่งขึ้นเสมือนเป็นขาขึ้นในระยะนี้ ส่วนใหญ่เกิดจากคำสั่งซื้อของเฮดจ์ฟันด์ ซึ่งไม่ได้รับการสนับสนุนจากปัจจัยพื้นฐาน และอาจจะมีความสุ่มเสี่ยงรุนแรง หากว่าจากนี้ไป เฮดจ์ฟันด์จะปิดสถานะในการซื้อล่วงหน้ามาเป็นขายแทน จะทำให้เกิดคำสั่งขายล็อตใหญ่ออกมาในตลาด


เหตุผลของนักวิเคราะห์ ระบุชัดเจนว่า การผลิตน้ำมันของกลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน (โอเปก) มีแนวโน้มว่าจะเพิ่มขึ้นต่อไป  แม้ว่าจะเปิดช่องให้บรรดากองทุนเฮดจ์ฟันด์ใช้ข่าว สต๊อกน้ำมันสำรอง หรือ การปิดหลุมเจาะน้ำมันดิบ หรือ การเพิ่มความต้องการใช้น้ำมันสำเร็จรูปในสหรัฐฯ มาพยายามดันราคาต่อไป แต่นี่เป็นแค่ความพยายามปิดฟ้าด้วยฝ่ามือ  เพราะข้อเท็จจริงที่ว่า การผลิตน้ำมันล้นตลาดยังคงเป็นปรากฏการณ์ที่ยังไม่หยุดยั้ง ท่ามกลางการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก รวมทั้งในตลาดเกิดใหม่ ที่กระทบต่อความต้องการใช้น้ำมัน


สำหรับตลาดหุ้นไทย ข่าวดีของกระทรวงพาณิชย์เมื่อวานนี้ เรื่องตัวเลขส่งออกในเดือนมี.ค.ขยายตัวเป็นบวกต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 2 ติดต่อกัน นับเป็นการขยายตัวเป็นครั้งแรกในรอบ 5 ไตรมาสที่ผ่านมา ขณะที่ตัวเลขการนำเข้าติดลบต่อไป ได้รับการเมินเฉยจากนักลงทุนอย่างชนิดไร้ความหมายเลยทีเดียว

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ระบุว่า แม้การส่งออกในไตรมาส 1/2559 ที่พลิกกลับมาขยายตัวได้เหนือความคาดหมายที่ 0.9% จากเดิมที่คาดว่าอาจจะยังอยู่ในแดนหดตัว จะช่วยลดโอกาสความเป็นไปได้ที่ตัวเลขการส่งออกของไทยทั้งปี 59 จะหดตัวติดต่อกันเป็นปีที่ 4 ลง แต่ก็ยังคงตัวเลขคาดการณ์การส่งออกของไทยในปี 59 ไว้ที่ 0% ตามเดิม (โดยมีกรอบคาดการณ์ในช่วง -2.0% ถึง +2.0%)


เหตุผลที่เป็นเช่นว่า เกิดจากข้อเท็จจริงว่า มีการะบาย ?ของเหลือ? ออกมากขึ้น โดยเฉพาะแรงหนุนสำคัญคือ มูลค่าการส่งออกทองคำและรถยนต์นั่ง ที่ขยายตัวสูงถึง 234.8%  และ 88.0% ในไตรมาสแรกของปี ตามลำดับ ซึ่งหากหักเพียงแค่การส่งออกทองคำออกแล้ว ภาพรวมการส่งออกของไทยในไตรมาส 1/2559 ยังคงหดตัวลง 2.7%


ดังนั้นโอกาสการฟื้นตัวของสินค้าส่งออกสำคัญของไทย จะยังคงเป็นไปในกรอบจำกัดในช่วงหลายเดือนข้างหน้า เนื่องจากราคาสินค้าส่งออกที่ยังอยู่ต่ำกว่าปีก่อน เศรษฐกิจโลกที่ยังคงชะลอตัว และข้อจำกัดในการตอบโจทย์ความต้องการตลาดโลกของสินค้ากลุ่มอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งส่งผลให้การฟื้นตัวส่งออก ยังไม่กระจายครอบคลุมออกไปยังสินค้าส่งออกตัวสำคัญอื่นๆ ที่จะช่วยประคองสัญญาณการขยายตัวไว้ได้ในช่วงเวลาที่เหลือของปี


เสียงที่ดูจะอ่อนระโหยและมีน้ำหนักอย่างมากเมื่อวานนี้ มาจากนายบัณฑูร ล่ำซำ ประธานกรรมการ ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) หรือ KBANK เปิดเผยว่า ปี 2559 ธนาคารจะมีการตั้งสำรองเพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมา ซึ่งตั้งสำรองไปทั้งสิ้น 2.6 หมื่นล้านบาท อย่างแน่นอน เพราะเป็นไปตามภาวะเศรษฐกิจที่ยังชะลอตัว โดยไตรมาส 1/59 ธนาคารได้ตั้งสำรองเพิ่มขึ้น ส่วนไตรมาส 2 และ 3 จะมีการตั้งสำรองที่เพิ่มขึ้นต่อไป หลังเศรษฐกิจยังไม่ฟื้นจากที่คาดไว้ ถึงแม้ว่าตัวเลขการส่งออกในเดือนมี.ค. จะขยายตัวเป็นบวกเป็นเดือนที่ 2 ติดต่อกัน แต่ปัญหาใหญ่ คือ ประมงของไทยยังไม่ได้ฟื้นตัว


การปรับลดดอกเบี้ยลงถึง 2 ครั้งภายในเวลา 1 เดือนของธนาคารพาณชิย์ไทยนั้น นายบัณฑูรยอมรับว่า เป็นแค่การต่อลมหายใจให้กับลูกค้า หรือลดต้นทุนให้กับผู้ประกอบการ โดยเฉพาะผู้ประกอบระดับล่าง แม้จะไม่ได้ช่วยให้เศรษฐกิจฟื้นตัวขึ้น อีกทั้งดอกเบี้ยที่ลดลงยังช่วยให้ ผู้ประกอบการขนาดกลาง-ใหญ่สามารถมาขอกู้ยืมเงินไปใช้สำหรับการลงทุนได้บ้าง เพราะต้นทุนลดลง และช่วยสร้างแรงจูงใจให้เกิดการลงทุนได้บ้าง เพราะเห็นได้จากต่างประเทศที่ใช้นโยบายการเงินในการลดดอกเบี้ยก็ไม่ได้ช่วย ฟื้นเศรษฐกิจให้ดีขึ้นอย่างชัดเจน


น้ำเสียงของนายบัณฑูรดังกล่าว ช่วยละลายฝ้าหรือหมอกควันที่เกิดจาก ?ความฝันในหอแดง?ของมายาคติในตลาดเก็งกำไรของนักลงทุนบางกลุ่มที่มีทัศนคติ ?โลกสวย?ได้มากทีเดียว