ผู้เขียน หัวข้อ: วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อราคายาง วันอังคารที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2559  (อ่าน 783 ครั้ง)

Rakayang.Com

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 84886
    • ดูรายละเอียด

วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อราคายาง
วันอังคารที่  15  มีนาคม  พ.ศ. 2559
ปัจจัย


วิเคราะห์

1. สภาพภูมิอากาศ


- ความกดอากาศต่ำเนื่องจากความร้อนปกคลุมประเทศไทยตอนบน ทำให้บริเวณดังกล่าวมีอากาศร้อนโดยทั่วไป กับมีอากาศร้อนจัดในบางพื้นที่อุณภูมิสูงสุด 36-40 องศาเซลเซียส  ส่วนภาคใต้มีเมฆบางส่วนกับมีอากาศร้อนในตอนกลางวัน ซึ่งส่งผลกระทบต่อปริมาณผลผลิตยางลดลง

2. การใช้ยาง


- ผู้ว่าการการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กน.อ) เปิดเผยถึงความคืบหน้าการก่อสร้างนิคมอุตสาหกรรมยางพารา (Rubber City) ว่า ขณะนี้ได้ลงนามสัญญาจ้างบริษัท เข้าเคลียพื้นที่วางสาธารณูปโภคทั้งหมด เพื่อรองรับการลงทุนของเอกชนในการสร้างโรงงานอุตสาหกรรมตลาดกลางน้ำ (ยางคอมปาวด์ หรือยางผสมสารเคมี) อุตสาหกรรมปลายน้ำ (ที่นอนยางพารา ล้อยาง ถุงมือยาง อื่น ๆ ) และภายในเดือนเมษายน 2559 จะเป็นรูปธรรมของ Rubber City

3. เศรษฐกิจโลก


- สำนักงานสถิติแห่งสหภาพยุโรป เปิดเผยว่า การผลิตภาคอุตสาหกรรมของยูโรโซน
มีการขยายตัวร้อยละ 2.1 ในเดือนมกราคม เมื่อเทียบรายเดือน และเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.8 เมื่อเทียบรายปี

- ธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) เริ่มต้นการประชุมนโยบายการเงินระยะ 2 วัน เมื่อวานนี้ โดยมีเป้าหมายที่จะประเมินผลที่เกิดขึ้นจากการประกาศใช้นโยบายอัตราดอกเบี้ยติดลบ

- รัฐบาลญี่ปุ่น เปิดเผยว่า ยอดสั่งซื้อเครื่องจักรพื้นฐานของภาคเอกชนญี่ปุ่นปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 15 ในเดือนมกราคม เทียบรายเดือนสู่ระดับ 9.347 แสนล้านหยวน ทำสถิติเพิ่มขึ้นรายเดือนติดต่อกันเป็นเดือนที่ 2 เพราะได้แรงหนุนจากยอดสั่งซื้อล๊อตใหญ่จากอุตสาหกรรมเหล็กกล้า

- มอร์แกนสแตนเลย์ ออกรายงานเตือนว่า ภาวะเศรษฐกิจซบเซาทั่วโลกและการผลิตน้ำมันที่ยังคงอยู่ในระดับสูงจะสกัดการทะยานขึ้นของราคาน้ำมัน และยังระบุว่า ขณะนี้ราคาน้ำมันดูเหมือนได้แตะจุดต่ำสุดแล้ว แต่ก็ยังคงมีแนวโน้มปรับตัวซบเซาตลอดทั้งปีนี้ ก่อนที่จะฟื้นตัวขึ้นในปีหน้า

4. อัตราแลกเปลี่ยน


- เงินบาทอยู่ที่ 35.13 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ อ่อนค่า 0.07  บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ

- เงินเยนอยู่ที่ 113.86 เยนต่อดอลลาร์สหรัฐ แข็งค่า 0.11 เยนต่อดอลลาร์สหรัฐ

5. ราคาน้ำมัน


- สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาด Nymex ส่งมอบเดือนเมษายน 2559 ปิดตลาดที่ 37.18 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล ลดลง 1.32 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล หลังจากมีรายงานว่าอิหร่านวางแผนที่จะเพิ่มการผลิตน้ำมันในระดับเท่ากับช่วงก่อนถูกคว่ำบาตร รวมทั้งข่าวที่ว่าอิหร่านจะไม่เข้าร่วมเจรจากับกลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน (โอเปก) หากยังผลิตน้ำมันได้ไม่ถึง4 ล้านบาร์เรลต่อวัน

- สัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ (Brent) ตลาดลอนดอนส่งมอบเดือนเมษายน 2559 ที่ตลาดลอนดอนปิดที่ 39.53 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล ลดลง 0.86 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล

- แหล่งข่าวจากกลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน (โอเปก) ระบุว่า การประชุมของกลุ่มโอเปกและประเทศนอกกลุ่ม มีแนวโน้มที่จะมีขึ้นในกลางเดือนหน้าที่กรุงโคยัง เพื่อหาข้อตกลงในการตรึงกำลังการผลิตน้ำมันเพื่อให้ราคาฟื้นตัวขึ้น

- รัฐมนตรีว่าการน้ำมันอิหร่าน กล่าวว่า อิหร่านจะเข้าร่วมการประชุมเพื่อหารือการจำกัดการผลิตน้ำมัน ก็ต่อเมื่อสามารถผลิตน้ำมันแตะระดับ 4 ล้านบาร์เรลต่อวัน

- กลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน (โอเปก) ออกรายงานเมื่อวานนี้ว่า ได้ปรับลดว่าคาดการณ์อุปสงค์น้ำมันของโอเปกในปีนี้สู่ระดับ 31.5 ล้านบาร์เรลต่อวัน ลดลง 100,000 บาร์เรลต่อวัน จากที่คาดการณ์ในเดือนที่แล้ว และโอเปกยังคงคาดการณ์อุปสงค์น้ำมันโลกเพิ่มขึ้น 1.25 ล้านบาร์เรลต่อวัน ตามที่ระบุไว้ในรายงานเดือนกุมภาพันธ์

6. การเก็งกำไร


- ราคา TOCOM ส่งมอบเดือนเมษายน 2559 อยู่ที่ 159.5 เยนต่อกิโลกรัม ลดลง 3.5 เยนต่อกิโลกรัม และส่งมอบเดือนสิงหาคม 2559 อยู่ที่ 167.1 เยนต่อกิโลกรัม ลดลง 4.5 เยนต่อดอลลาร์สหรัฐ

- ราคา SICOM เปิดตลาดที่ 139.90 เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม ลดลง 0.1 เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม

7. ข่าว


- ถึงแม้ทองเป็นสินทรัพย์ที่ให้ผลตอบแทนสูงกว่าสินทรัพย์ประเภทอื่นในปีนี้ แต่นักวิเคราะห์เตือนว่า การปรับตัวขึ้นของราคาทองยังไม่มีความยั่งยืน นอกจากว่า เศรษฐกิจสหรัฐฯ จะเข้าสู่ภาวะถดถอย

8. ข้อคิดเห็นของประกอบการ


- ราคายางปรับตัวลดลงตามตลาดต่างประเทศ เมื่อพิจารณาจะเห็นว่าราคายางในระยะนี้ค่อนข้างผันผวนตามกระแสข่าวรายวัน โดยเฉพาะราคาน้ำมันและเศรษฐกิจโลกที่อ่อนแอทำให้นักลงทุนค่อนข้างอ่อนไหวต่อกระแสข่าว จึงไม่มั่นใจในการลงทุน เพราะยังมีความเสี่ยงสูง เห็นได้จากยังคงขายออกยาก ผู้ซื้อยังคงระมัดระวังในการซื้อขาย

แนวโน้ม ราคายางมีแนวโน้มปรับตัวลดลงในทิศทางเดียวกับตลาดโตเกียว โดยมีปัจจัยลบมาจากราคาน้ำมันปิดตลาดปรับตัวลดลง ประกอบกับเงินเยนและเงินบาทมีแนวโน้มแข็งค่า ขณะที่นักลงทุนชะลอการซื้อเพื่อรอดูการประชุมของธนาคารกลางญี่ปุ่น และธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) ในสัปดาห์นี้ (15-16 มีนาคม 2559)  อย่างไรก็ตามอุปทานยางที่ออกสู่ตลาดค่อนข้างน้อยในฤดูยางผลัดใบยังเป็นปัจจัยหนุนราคายางได้ในระดับหนึ่ง



ทีมวิเคราะห์สำนักงานตลาดกลางยางพาราสงขลา