ผู้เขียน หัวข้อ: ตลาดซื้อขายยางล่วงหน้าซึม ครึ่งปีวูบ 2 หมื่นล้าน/เงินเซสส์ลดกว่า 2.8 พันล้าน  (อ่าน 1748 ครั้ง)

tavarn

  • Global Moderator
  • Jr. Member
  • *****
  • กระทู้: 57
    • ดูรายละเอียด
ตลาดซื้อขายยางล่วงหน้าซึม ครึ่งปีวูบ 2 หมื่นล้าน/เงินเซสส์ลดกว่า 2.8 พันล.
31 กรกฎาคม 2556
แหล่งข้อมูล: ฐานเศรษฐกิจ (Th)
 
 
โบรกเกอร์ซื้อขายยางในตลาดล่วงหน้า เผยสัญญาซื้อขายซึมหนัก ครึ่งปีแรกมูลค่าซื้อขายหายกว่า 2 หมื่นล้าน ผวาลากยาวถึงปีหน้า ร้องรัฐเลิกแทรกแซงราคา ทำกลไกตลาดบิดเบือน ขณะที่พิษเศรษฐกิจโลก กดราคายางตกต่ำยาว สกย.เผย 9 เดือนแรกปีงบ การเก็บเงินเซสส์ลดลงกว่า 2.8 พันล้าน ระบุ "ไทยฮั้ว" จ่ายมากสุด 5 ปีซ้อน

ดร.ไพฑูรย์ วงศาสุทธิกุล กรรม การผู้จัดการ บจก. แอโกรเวลท์ เปิดเผยกับ "ฐานเศรษฐกิจ" ถึงสถานการณ์การซื้อขายผลิต???ัณฑ์ยางพาราในตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้าแห่งประเทศไทย หรือเอเฟท ในครึ่งแรกของปี 2556 เทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2555 ว่า มีสัญญา และปริมาณการซื้อขายลดลง เนื่องจากนักลงทุนไม่ค่อยชอบลงทุนในช่วงราคายางพาราขาลง จะชอบราคายางขาขึ้นมากกว่าเพราะซื้อขายง่าย ดังนั้น???าพรวมในช่วงครึ่งปีหลังที่ราคายางยังไม่ดีขึ้น คาดการซื้อขายยางในเอเฟทจะยังลดลงทั้งปริมาณและมูลค่า

"ความจริงแล้ว ราคายางพารา มีสัญญาณราคาขาลงมาตั้งแต่ปี 2554 แล้วจนมาถึงครึ่งปีนี้ สถานการณ์ราคายางยังไม่ดีขึ้น ในครึ่งปีหลังสถานการณ์จะเหมือนกับครึ่งปีแรก จึงทำให้???าพรวมทั้งปีปริมาณการซื้อขายยางลดน้อยลง คาดการณ์ว่าจะบานปลายไปจนถึงปีหน้า"

ทั้งนี้สาเหตุสำคัญส่วนหนึ่งที่ทำ ให้การซื้อขายยางพาราในเอเฟทลดลงมา จากการที่โครงการรักษาเสถียร???าพราคายาง (แทรกแซง) ของรัฐบาลทำให้กลไกตลาดบิดเบือน ดังนั้นทางออกคือไม่อยาก ให้รัฐบาลแทรกแซงราคายางพารา เพราะ จะยิ่งทำให้ตลาดซบเซามากขึ้น ควรจะหา แนวทางอย่างอื่นเช่นช่วยชาวสวนลดต้นทุน

สอดคล้องกับการรายงานของเอเฟท ช่วง 6 เดือนแรกของปีนี้ (ม.ค.มิ.ย.)มีปริมาณสัญญาซื้อขาย 3.2 หมื่นสัญญา มูลค่า 1.1 หมื่นล้านบาท หากเทียบในเวลาเดียวกันของปีที่แล้ว มีปริมาณสัญญาซื้อขาย 4.5 หมื่นสัญญา มูลค่า 3.1 ล้านบาท เห็นได้ชัดว่าลดลงทั้งปริมาณและมูลค่า

ปัจจุบันเอเฟท มีนายหน้าซื้อขายล่วงหน้าที่ได้รับอนุญาตตามกฎหมายจากสำนักงานคณะกรรมการกำกับการซื้อขายสินค้าเกษตรล่วงหน้า (ก.ส.ล.) ทั้งสิ้น 10 ราย คือ บจก. ฟิวเจอร์ อกริเทรด, บจก.แอ็กโกรว์ เอ็นเตอร์ไพร์ส, บจก.แอโกรเวลท์, บจก.พัฒนาเกษตรล่วงหน้า, บจก.หงต้า ฟิวเจอร์ส, บจก.ดีเอส ฟิวเจอร์ส, บมจ.หลักทรัพย์ ฟิลลิป (ประเทศไทย), บจก.หลักทรัพย์ เอเซีย พลัส, บจก.หลักทรัพย์ เคที ซีมิโก้ และบจก.อินฟินิตี้ เวลท์ ฟิวเจอร์

ขณะที่แหล่งข่าวจากสำนักงานกอง ทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง (สกย.) เปิดเผยว่า จากเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัว ที่ส่งผลถึงราคายางพาราในประเทศราคาตก ต่ำ (ยังไม่ถึง 80 บาท/กก.) มีผลให้การเก็บเงินสงเคราะห์เกษตรกร หรือเงินเซสส์ (เก็บจากผู้ส่งออกยาง) ในช่วง 9 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2555 (ต.ค.55-มิ.ย. 56) สามารถเก็บได้เพียง 7.7 พันล้านบาท จากการส่งออกยางพาราทุกชนิด 2.5 ล้านตัน หากเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้วที่เก็บได้ 1.05 หมื่นล้านบาทถือว่าลดลงกว่า 2.8 พันล้านบาท เนื่องจากตามเงื่อนไขหากยางพาราราคาสูงกว่า 100 บาทต่อกิโลกรัม จะเรียกเก็บเงินเซสส์ที่ 5 บาทต่อกิโลกรัม แต่ปัจจุบันราคายางต่ำกว่า 100 บาทต่อกิโลกรัม ตามเงื่อนไขต้องเก็บที่ 3 บาทต่อกิโลกรัม (ปี 2555 ไทยมีการส่งออกยางพารารวม 2.5 ล้านตัน เก็บเงินเซสส์ทั้งปีได้ 1.4 หมื่นล้านบาท)

"การเก็บเงินเซสส์ช่วง 9 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2556 ลดลงเกือบ 3 พันล้านบาท จากผู้ส่งออกผลิต???ัณฑ์ยางพารา 5 อันดับแรกได้แก่ บริษัท ไทยฮั้วยางพารา จำกัด (มหาชน) (บมจ.)ที่ครองอันดับ 1 มา 5 ปีซ้อน รองลงมาเป็นบริษัท วงศ์บัณฑิต จำกัด (บจก.) บมจ.ศรีตรังแอโกรอินดัสทรี บจก.เซาท์แลนด์รับเบอร์ และ บจก.ไทยรับเบอร์ลาเท็คซ์คอร์ปอเรชั่น (ประเทศไทย)"