ผู้เขียน หัวข้อ: วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อราคายาง วันพุธที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2559  (อ่าน 804 ครั้ง)

Rakayang.Com

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 85084
    • ดูรายละเอียด

วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อราคายาง
วันพุธที่  13  มกราคม  พ.ศ. 2559
ปัจจัย


วิเคราะห์

1. สภาพภูมิอากาศ


- ประเทศไทยตอนบนมีอากาศหนาวเย็น ส่วนภาคใต้มีเมฆบางส่วนกับมีฝนบางแห่งร้อยละ 10 ของพื้นที่ ไม่ส่งผลกระทบต่อการกรีดยาง อย่างไรก็ตาม สภาพอากาศโดยทั่วไปร้อนและแห้งแล้ง ทำให้ต้นยางเริ่มให้ผลผลิตลดลง

2. การใช้ยาง


- สมาคมผู้ผลิตยานยนต์จีนเปิดเผยว่า ยอดจำหน่ายรถยนต์ซึ่งเป็นตลาดรถยนต์ใหญ่ที่สุดของโลกปรับตัวขึ้นร้อยละ 4.7 ในปี 2558 เมื่อเทียบเป็นรายปี อยู่ที่ 24.59 ล้านคัน อย่างไรก็ตาม ยอดจำหน่ายรถยนต์ปี 2558 ขยายตัวในอัตราต่ำสุดในรอบ 3 ปี หลังจากที่ขยายตัวแข็งแกร่งถึงร้อยละ 6.9 ในปี 2557 และร้อยละ 13.9 ในปี 2556 ส่วนยอดการผลิตรถยนต์ปี 2558 อยู่ที่ 24.50 ล้านคัน

3. เศรษฐกิจโลก


- สหพันธ์ธุรกิจอิสระแห่งชาติสหรัฐฯ (NFIB) เปิดเผยว่า เดือนธันวาคมดัชนีความเชื่อมั่นธุรกิจขนาดย่อมขยับขึ้นสู่ระดับ 95.2 จาก 94.8 ในเดือนพฤศจิกายน

- กระทรวงการคลังญี่ปุ่นเปิดเผยว่า เดือนพฤศจิกายนญี่ปุ่นมียอดเกินดุลบัญชีเดินสะพัดเป็นเดือนที่ 17 ติดต่อกัน ที่ระดับ 1.14 ล้านล้านเยน

- โฆษกคณะกรรมการเพื่อการพัฒนาและปฏิรูปแห่งชาติจีน (NDRC) ซึ่งเป็นหน่วยงานวางแผนเศรษฐกิจ คาดว่าอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจของจีนปี 2558 อยู่ที่ประมาณร้อยละ 7 สอดคล้องกับเป้าหมายของรัฐบาล

- ฟิทซ์ เรทติ้งส์ เปิดเผยว่า จีนกำลังเผชิญกับภาวะกลืนไม่เข้าคายไม่ออกครั้งใหญ่ เพราะขณะนี้จีนจำเป็นต้องรักษาอัตราดอกเบี้ยให้อยู่ในระดับต่ำ เพื่อหนุนเศรษฐกิจให้สามารถรับมือกับภาวะหนี้ที่สูงขึ้น และจีนกำลังเผชิญกับแรงกดดันช่วงขาลงต่อเงินหยวนเช่นกัน

- ประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) สาขาดัลลัส กล่าวว่า การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของเฟดอย่างต่อเนื่องและค่อยเป็นค่อยไปเป็นสิ่งที่มีความสำคัญ เนื่องจากหากปล่อยให้อัตราดอกเบี้ยอยู่ที่ระดับต่ำเป็นเวลานานเกินไปก็อาจส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจ

4. อัตราแลกเปลี่ยน


- เงินบาทอยู่ที่ 36.24 บาทต่อดอลล่าร์สหรัฐ แข็งค่าขึ้น 0.03 บาทต่อดอลล่าร์สหรัฐ

- เงินเยนอยู่ที่ 118.22 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ อ่อนค่าลง 0.52 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ

5. ราคาน้ำมัน


- สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาด Nymex ส่งมอบเดือนกุมภาพันธ์ 2559 ปิดตลาดที่ 30.44 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล ลดลง 0.97 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล เพราะได้รับแรงกดดันจากการแข็งค่าของเงินดอลล่าร์สหรัฐ รวมทั้งความกังวลเกี่ยวกับภาวะอุปทานน้ำมันในตลาดโลกที่สูงเกินไป และการชะลอตัวของเศรษฐกิจจีน โดยระหว่างวันสัญญาน้ำมันดิบ WTI ปรับลดลงสู่ระดับต่ำกว่า 30 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล เป็นครั้งแรกในรอบ 13 ปี

- สัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ (Brent) ตลาดลอนดอนส่งมอบเดือนกุมภาพันธ์ 2559 ปิดที่ 30.86 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล ลดลง 0.69 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดนับตั้งแต่เดือนเมษายน 2547

- นักวิเคราะห์หลายสำนัก เช่น บาร์เคลย์, แมคควารี, แบงค์ ออฟ อเมริกา เมอร์ริล ลินซ์, สแตนดาร์ด ชาร์เตอร์ และโซซิเอเต้ เจเนอราล ต่างพากันปรับลดคาดการณ์ราคาน้ำมันปีนี้ โดยนักวิเคราะห์จากสแตนดาร์ด ชาร์เตอร์ คาดว่าราคาน้ำมันมีโอกาสลดลงแตะระดับ 10 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล ส่วนนักวิเคราะห์จากบาร์เคลย์ระบุว่า ปัจจัยพื้นฐานในตลาดน้ำมันที่ทรุดตัวลงในต้นปีนี้ ทำให้ต้องปรับลดคาดการณ์ราคาน้ำมันในปีนี้ โดยคาดว่าทั้งน้ำมันดิบเบรนท์ และ WTI จะมีราคาเฉลี่ยที่ 37 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล ลดลงจาก 60 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล และ 56 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล ที่คาดการณ์ไว้ก่อนหน้านี้

6. การเก็งกำไร


- ราคา TOCOM ส่งมอบเดือนกุมภาพันธ์ 2559 อยู่ที่ 142.3 เยนต่อกิโลกรัม เพิ่มขึ้น 6.7 เยนต่อกิโลกรัม และส่งมอบเดือนมิถุนายน 2559 อยู่ที่ 153.2 เยนต่อกิโลกรัม เพิ่มขึ้น 6.4 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ

- ราคา SICOM เปิดตลาดที่ 116.5 เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม เพิ่มขึ้น 3.5 เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม

7. ข่าว


- บริษัทบีพี ซึ่งเป็นผู้ผลิตน้ำมันยักษ์ใหญ่เปิดเผยว่า บริษัทจะปลดพนักงานจำนวน 4,000 คนในแผนธุรกิจสำรวจและผลิตในปีหน้า หลังราคาน้ำมันลดลงอย่างต่อเนื่อง การปลดพนักงาน 4,000 คนในครั้งนี้มีขึ้นหลังจากบริษัทปลดพนักงาน 4,000 คนในปีที่แล้ว

- กระทรวงพาณิชย์สหรัฐฯ เปิดเผยว่า เดือนพฤศจิกายนตำแหน่งงานนอกภาคเกษตรที่เปิดรับสมัครโดยสถานประกอบการในสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.5 อยู่ที่ 5.4 ล้านตำแหน่ง-ขณะที่เมื่อเทียบเป็นรายปีเพิ่มขึ้นร้อยละ 11.0 อย่างไรก็ดี ยังต่ำกว่าระดับ 5.7 ล้านตำแหน่งในเดือนตุลาคม ซึ่งเป็นระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์นับตั้งแต่มีการรวบรวมข้อมูลในปี 2543

8. ข้อคิดเห็นของประกอบการ


- ราคายางปรับตัวสูงขึ้นประมาณ 1 บาท เพราะปริมาณผลผลิตยางที่ลดลง ประกอบกับรัฐบาลเข้ามาแก้ไขปัญหาราคายางตกต่ำ ทำให้ราคายางปรับตัวสูงขึ้นได้ และคาดว่าในระยะนี้ซึ่งกำลังเข้าสู่ฤดูยางผลัดใบ ราคายางน่าจะไม่ต่ำไปมากกว่านี้

แนวโน้ม ราคายางมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้นในทิศทางเดียวกับตลาดล่วงหน้าโตเกียวที่ปรับตัวสูงขึ้นจากระดับต่ำสุดในรอบ 7 ปี โดยมีปัจจัยบวกจากเงินเยนอ่อนค่า และความกังวลเกี่ยวกับสภาพอากาศที่ร้อนและแห้งแล้ง ซึ่งจะส่งผลให้เข้าสู่ฤดูยางผลัดใบเร็วขึ้น ทำให้ปริมาณผลผลิตลดลง ประกอบกับปัจจัยทางจิตวิทยาเชิงบวกจากมาตรการของรัฐบาลที่มีมติให้รับซื้อยางจากเกษตรกรชาวสวนยางในราคาชี้นำตลาด หรือนำมาผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ยางพารา
ใช้ในประเทศเพิ่มขึ้น



ทีมวิเคราะห์สำนักงานตลาดกลางยางพาราสงขลา