ผู้เขียน หัวข้อ: เจรจายางวงแตก 'แกนนํา' ให้เทพเทือกช่วย  (อ่าน 679 ครั้ง)

Rakayang.Com

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 84897
    • ดูรายละเอียด
เจรจายางวงแตก 'แกนนํา' ให้เทพเทือกช่วย


โดย ไทยรัฐฉบับพิมพ์ 11 ม.ค. 2559 06:30


 


 
 ผช.รมต.ผละหนีรับไว้แค่ข้อเดียวชาวสวนยางฉุน-ขู่ร่วมชุมนุมแน่รัฐแจงให้8กระทรวงซื้อกก.ละ34
ผู้ช่วย รมต.เกษตรฯและคณะเดินทางเจรจาแกนนำกลุ่มเกษตรกรชาวสวนยางพารา เปิดเวทีปราศรัยให้รัฐบาลเร่งแก้ปัญหาราคายางตกต่ำ แต่การเจรจาเหลวไม่เป็นท่า รับข้อเสนอไว้เพียงข้อเดียวจากทั้งหมด 4 ข้อ แล้วเดินหนีออกจากที่ประชุมดื้อๆ ขณะที่นายกสมาคมเกษตรกรชาวสวนยาง 16 จังหวัดภาคใต้ ยืนยัน ไปร่วมชุมนุมที่ตรังแน่ เรียกร้องให้ ?สุเทพ เทือกสุบรรณ? ร่วมเรียกร้องกับชาวสวนยาง ?สรรเสริญ? แจง มาตรการแก้ปัญหา ให้ทุกส่วนที่เกี่ยวข้องรับซื้อยาง แผ่นดิบชั้น 3 กิโลกรัมละ 34 บาท ยันนายกฯจี้ให้ตั้งบอร์ด กยท.ส่งเข้า ครม.ช้าสุด 19 ม.ค. พร้อมสั่ง 8 กระทรวงจัดงบรับซื้อยาง
   
   
แกนนำเกษตรกรชาวสวนยางพาราเตรียมพร้อมร่วมชุมนุมที่ จ.ตรัง ขณะที่ผู้ช่วย รมต.เกษตรฯ นำทีมเจรจาแกนนำชาวสวนยางที่ จ.นครศรีธรรมราช แต่รับข้อเสนอเพียงข้อเดียวแล้วลุกหนีกลางคัน โดยเมื่อเวลา 11.00 น.วันที่ 10 ม.ค. ที่บริเวณสนามหน้าศาลาประชาคม อ.ทุ่งสง จ.นครศรีธรรมราช มีกลุ่มเกษตรกรชาวสวนยางพารา นำโดยนายมนัส บุญพัฒน์ นายกสมาคมคนกรีดยางและชาวสวนยางรายย่อยแห่งประเทศไทย และนายทศพล ขวัญรอด ประธานภาคีเครือข่ายเกษตรกรชาวสวนยางและปาล์มน้ำมันแห่งประเทศไทย พร้อมแกนนำประมาณ 10 คน นัดกลุ่มเกษตรกรชาวสวนยางพารากว่า 100 คน มาชุมนุมเรียกร้องให้รัฐบาลเร่งแก้ไขปัญหาราคายางตกต่ำ โดยมีการกางเต็นท์และนำรถกระบะมาเปิดท้ายทำเป็นเวทีปราศรัยให้แกนนำผลัด เปลี่ยนกันปราศรัยโจมตีรัฐบาลและเรียกร้องให้รัฐบาลเร่งแก้ไขปัญหาราคายางตก ต่ำ
ส่วนข้อเรียกร้องที่แกนนำเตรียมไว้ยื่นจำนวน 4 ข้อ คือ 1.ขอแก้ไขปัญหาราคาน้ำยางสดที่ค่าดีอาร์ซี เป็นราคาของเกษตรกรรายย่อยโดยตรง กำหนดเพดานต่ำสุดที่ราคายางแผ่นรมควันของตลาดกลางยางพาราลบด้วยค่าจัดการไม่ เกิน 6 บาท 2.ขอให้ทบทวนปรับลดขั้นระเบียบหลักเกณฑ์การเข้าถึงโครงการสร้างความเข้มแข็ง ของชาวสวนยางให้เข้าถึงการช่วยเหลือโดยเร็ว 3.ขอให้พิจารณาการทำงานด้านนโยบายและมาตรการแก้ไขของรัฐมนตรีและคณะทำงานที่ มีส่วนเกี่ยวข้องเพื่อให้การแก้ไขปัญหาแต่ละประเด็นตรงตามบริบทที่แท้จริง และ 4.ขอให้กำหนดการแกไข้ปัญหาระยะยาวของเกษตรกรชาวสวนยางรายย่อย โดยสนับสนุนเครื่องมือเครื่องจักรแปรรูปเป็นยางแผ่นดิบตามวิถีของชาวสวนยาง ที่สามารถสต๊อกยางตามธรรมชาติเพื่อมีอำนาจในการต่อรองด้านราคา และรัฐบาลต้องหาแหล่งทุนในการขายฝากหรือรับจำนำโดยให้สถาบันเกษตรกรที่ไม่ ประกอบกิจการเพื่อทำธุรกิจหากำไรและรับรอง
ต่อมานางจินตนา ชัยยวรรณการ ผช.รมต.เกษตรฯ พร้อมคณะ เดินทางมาเจรจากับแกนนำทั้ง 10 คนที่ห้องประชุมที่ว่าการอำเภอทุ่งสงอย่างเคร่งเครียดนานกว่า 2 ชั่วโมง นางจินตนายอมรับข้อเสนอข้อเดียว คือข้อ 2 ที่ขอให้ทบทวนปรับลดขั้นระเบียบหลักเกณฑ์การเข้าถึงโครงการสร้างความเข้ม แข็งของชาวสวนยาง ซึ่งทางรัฐบาลสามารถทำได้ทันที ส่วนข้ออื่นๆจะนำไปพิจารณาต่อไป แต่แกนนำเกษตรกรชาวสวนยางพยายามเรียกร้องให้รับข้อเสนอทั้งหมด นางจินตนาเห็นว่าการเจรจายิ่งยืดเยื้อไปก็ไม่มีทีท่าว่าจะยุติ ทำให้ไม่พอใจลุกหนีออกจากห้องประชุมแบบไม่มีปี่มีขลุ่ย คณะผู้ติดตามต้องเดินตามออกมาจากห้องประชุม จนการเจรจาต้องยุติกลางคันท่ามกลางความงุนงงของบรรดาแกนนำชาวสวนยาง
บรรดาแกนนำชาวสวนยาง กล่าวว่า การเดินทางมาของ ผช.รมต.ในครั้งนี้ไม่คุ้มค่ามารับข้อเสนอเพียงข้อเดียวเท่านั้นแล้วมาทำไม เจรจาไม่ทันเสร็จก็ลุกหนีดื้อๆไม่ยอมรับฟังปัญหาที่เป็นประโยชน์ของเกษตรกร ชาวสวนยาง จากนั้นทางแกนนำพากันขึ้นเวทีหน้าที่ว่าการอำเภอทุ่งสง บอกผลการเจรจากับ ผช.รมต. อย่างไรก็ตาม พวกเราจะรอเกษตรกรชาวสวนยางมาร่วมชุมนุมต่อจนถึงเวลา 22.00 น. ตามที่ขออนุญาตกับตำรวจไว้ ส่วนจะสลายตัวหรือไม่จะหารือกันต่อไป
ขณะเดียวกัน ที่สำนักงานสหกรณ์การเกษตรปฏิรูปที่ดินท่าแซะ จำกัด อ.ท่าฉาง จ.สุราษฎร์ธานี นายสุนทร รักษ์รงค์ นายกสมาคมเกษตรกรชาวสวนยาง 16 จังหวัดภาคใต้ นายกิติศักดิ์ วิโรจน์ นายกสมาคมชาวเกษตรกรชาวสวนยางพาราและปาล์มน้ำมันสุราษฎร์ธานี นายสมปราชญ์ วุฒิจันทร์ อาจารย์มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี โฆษกแนวร่วมกู้ชีพชาวสวนยาง พร้อมสมาชิกกว่า 20 คน ร่วมประชุม แก้ปัญหาราคายางตกต่ำ พร้อมอ่านแถลงการแนวร่วมกู้ชีพชาวสวนยาง 5 ข้อ ประกอบด้วย 1.ให้รัฐบาลเร่งดำเนินการโครงการสร้างความเข้มแข็งให้แก่เกษตรชาวสวนยาง 2.ให้รัฐบาลยุติการขายยางพารา ในสต๊อก 3.6 แสนตัน และใช้มาตรา 44 บังคับให้มีการใช้ยางในประเทศต่อไป
3.ให้แต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการการยางแห่งประเทศไทย (บอร์ดการยาง) ทันทีเมื่อเปิดประชุมคณะรัฐมนตรี และเร่งสรรหาผู้ว่าการยางแห่งประเทศไทยให้เร็วที่สุด 4.มีมติ สนับสนุนและเข้าร่วมกิจกรรมกับทุกเครือข่ายเกษตรกรชาวสวนยางและสถาบัน เกษตรกรชาวสวนยางทั่วประเทศ และเข้าร่วมประชุมแกนนำเกษตรชาวสวนยางภาคใต้ ที่ จ.ตรัง ในวันที่ 12 ม.ค.นี้ พร้อมเรียกร้องราคายางที่กิโลกรัมละ 60 บาท หากไม่ได้พร้อมจัดชุมนุมใหญ่ และ 5.ให้ รมว.เกษตร ทบทวนการทำงานของที่ปรึกษารัฐมนตรี นายอำนวย ปะติเส และผู้ช่วยรัฐมนตรี นางจินตนา ชัยยวรรณการ เพราะไม่มีความสามารถ และสร้างความแตกแยกให้กับเกษตรกรชาวสวนยาง
นายสุนทรกล่าวต่อว่า ที่ประชุมมีความเห็นพ้องสนับสนุนนายถาวร เสนเนียม อดีต ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ ในการเคลื่อนไหวเรื่องราคายางพารา แต่ยังให้เกียรติรัฐบาลยังไม่มีการเคลื่อนไหวโดยการชุมนุม และรอมติการประชุมของแกนนำชาวสวนยางภาคใต้ในวันที่ 12 ม.ค.นี้ ก่อนจะยื่นต่อรัฐบาลและรอดูท่าทีของรัฐบาลในการแก้ไขปัญหาราคายาง หากยังไม่เป็นที่พอใจคงจะมีการเคลื่อนไหวชุมนุมใหญ่ต่อไป และขอเรียกร้องไปยังนายสุเทพ เทือกสุบรรณ อดีตแกนนำ กปปส. ให้เข้ามาช่วยชาวสวนยางเรียกร้องราคายางพารารวมถึงช่วยหาแนวทางในการแก้ไข ปัญหาราคายางพาราตกต่ำ เหมือนเช่นที่ชาวสวนยางเคยไปร่วมชุมนุมกับทาง กปปส.
ที่ผ่านมา นายปรีชา สุขเกษม ผู้ประสานงานเครือข่ายเกษตรกร จ.สงขลา กล่าวว่า มวลชนเกษตรกรชาวสวนยางในพื้นที่ 6 จังหวัดภาคใต้ตอนล่าง สงขลา พัทลุง ปัตตานี ยะลา นราธิวาส และสตูล พร้อมที่จะรวมตัวเคลื่อนไหวเรียกร้องความเป็นธรรมเกี่ยวกับราคายางพาราที่ตก ต่ำและยังไม่ได้รับการแก้ไขอย่างชัดเจนจากรัฐบาล โดยนัดรวมตัวเคลื่อนไหวในวันที่ 12 ม.ค.นี้ ส่วนจะมีมาตรการเคลื่อนไหวรูปแบบไหนต้องหารือกันกับตัวแทนเกษตรกรชาวสวนยาง อีกครั้งหนึ่ง
   
   
ที่ทำเนียบรัฐบาล พล.ต.สรรเสริญ แก้วกำเนิด โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงกรณีชาวสวนยางพาราประกาศนัดชุมนุมวันที่ 12 ม.ค. กดดันรัฐบาลแก้ไขปัญหาราคายางพาราตกต่ำ ว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้า คสช. เป็นห่วง ได้ติดตามการแก้ไขปัญหาราคายางพารา โดยเมื่อวันที่ 7 ม.ค.หน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้องประชุมร่วมกับตัวแทนทุกฝ่ายที่กระทรวงเกษตรและ สหกรณ์ ได้ข้อยุติเป็นแนวทางแก้ไขที่แม้จะไม่ถูกใจใครทั้งหมด แต่ถือว่าผ่อนปัญหาจากหนักเป็นเบา โดยให้ทุกส่วนที่เกี่ยวข้องรับซื้อยางพารา จะต้องไม่รับซื้อราคาต่ำกว่าที่เป็นอยู่ คือราคายางแผ่นดิบชั้น 3 อยู่ที่กิโลกรัมละ 34 บาท แต่จะให้รับซื้อราคายาง 60 บาทต่อกิโลกรัม ตามที่เรียกร้องกันนั้นยาก เพราะราคายางในตลาดโลกตก ปริมาณล้นตลาด และจากนี้อีก 3 เดือน ยางจะออกสู่ตลาดประมาณ 8 แสนตัน กลุ่มที่รับซื้อยางทุกส่วนจะแบ่งสันปันส่วนซื้อยางทั้งหมด ไม่ให้ยางตกค้าง
พล.ต.สรรเสริญกล่าวว่า นอกจากนี้จะมีส่วนต่างๆ ไปไล่ตรวจสอบว่ามีผู้รับซื้อรายใดไม่ปฏิบัติตามกติกาหรือไม่ หากพบขั้นแรกจะเป็นการเตือน แต่หากยังมีพฤติกรรมอย่างนั้นอยู่ จะดำเนินการคดีตามกฎหมายที่ว่าด้วย พ.ร.บ.ควบคุมยาง พ.ศ.2542 กับกฎหมายควบคุมราคาสินค้า ในชั้นนี้คงไม่ถึงขั้นต้องใช้มาตรา 44 แห่งรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวปี 57 ไปบังคับใช้ เชื่อว่ามาตรการดังกล่าวอย่างน้อยจะไม่ทำให้ราคายางตกไปกว่านี้ สำหรับความคืบหน้าการตั้งคณะกรรมการยางแห่งประเทศไทย (กยท.) ที่ยังไม่แล้วเสร็จ นายกฯได้สั่งการให้เร่งรัดจัดตั้งให้แล้วเสร็จโดยเร็ว โดยให้นำเข้าสู่ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ในวันที่ 12 ม.ค.นี้ หรือช้าสุดวันที่ 19 ม.ค. เพราะถ้าบอร์ดเรียบร้อย กลไกทั้งหลายจะเดินไปอย่างมีประสิทธิภาพ
พล.ต.สรรเสริญกล่าวว่า นายกฯ ยังมีคำสั่งไปยังกระทรวงที่เกี่ยวข้อง 8 กระทรวง ได้แก่ คมนาคม มหาดไทย ศึกษาธิการ สาธารณสุข กลาโหม อุตสาหกรรม พาณิชย์ และกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ไปรวบรวมความต้องการว่าจะช่วยรับซื้อยางในความรับผิดชอบของแต่ละกระทรวง อย่างไร แล้วส่งมายังสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี (สลค.) และสำเนารายละเอียดส่งให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ด้วย โดยจะต้องรวบรวมส่งให้แล้วเสร็จในเวลา 12.00น.ในวันที่ 11 ม.ค. โดยให้แต่ละกระทรวงใช้งบประมาณตัวเองในการรับซื้อ รวมทั้งข้อมูลทั้ง 8 กระทรวง จะมีรายงานที่ประชุม ครม.วันที่ 12 ม.ค. ซึ่งทั้งหมดนี้จะดำเนินการควบคู่กับ 16 มาตรการรัฐบาล ขอยืนยันว่ารัฐบาลไม่ได้นิ่งนอนใจ วิงวอนอย่ากดดัน เพราะการกดดันไม่ได้ช่วยแก้ปัญหา
พล.ต.สรรเสริญกล่าวว่า อยากให้คุยด้วยเหตุผล ไม่อยากเห็นการกดดันรัฐบาลแล้วทำผิดกฎหมาย เพราะปัจจุบันการชุมนุมกระทำไม่ได้ รัฐบาลไม่อยากพูดเรื่องกฎหมายเพราะมันเป็นยาแรง เกษตรกรกำลังเดือดร้อนอยู่จะบั่นทอนความรู้สึกเขา ไม่อยากให้ชุมนุม หากจะรวมตัวกันก็ให้รวมกันเพื่อประชุมสรุปปัญหาต่างๆ ส่งให้เจ้าหน้าที่ภาครัฐแทนการปิดถนน เดินขบวนมา กทม.ไม่ใช่วิธีการแก้ปัญหาที่แท้จริง เมื่อถามว่า มีอะไรเป็นหลักประกันว่าราคาจะไม่ต่ำไปกว่านี้ พล.ต.สรรเสริญกล่าวว่า ความจริงใจเป็นหลักประกัน อะไรที่เป็นปัญหาเกษตรกร รัฐบาลลงไปแก้ถึงต้นตอจริงๆ รับฟังปัญหาว่ามันทำได้แค่ไหน เพราะหากให้รัฐบาลอุดหนุน ทำให้แค่พอใจประเดี๋ยว ประด๋าว ถือว่าไม่ถูกต้อง ไม่อยากให้แก้ปัญหาเหมือนเรื่องข้าว
   
   
นายนิพิฏฐ์ อินทรสมบัติ รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงกรณีแกนนำชาวสวนยางจังหวัดสุราษฎร์ธานี ระบุว่า พรรคประชาธิปัตย์เป็นส่วนหนึ่งสาเหตุทำให้ราคายางตกต่ำว่า ขอให้พูดด้วยใจ เป็นธรรมและเอาความจริงมาพูดกัน แม้ในช่วงรัฐบาลนี้ตนและกลุ่ม ส.ส.ภาคใต้ ได้แถลงข่าวและเข้าพบ รมว.เกษตรฯถึง 2 ครั้ง ขอให้เร่งรัดแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ สิ่งที่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกฯและหัวหน้า คสช. ระบุจะสร้างเมืองยางและมาตรการอื่นเป็นข้อเสนอที่ตรงกับพรรคยื่นไป แต่ยอมรับว่ารัฐบาลชุดนี้ทำช้ามาก ทั้งที่มีช่องทางบริหารจัดการได้รวดเร็วกว่านี้ หากรัฐบาลทำตามข้อเสนอเราตั้งแต่ครั้งแรก สถานการณ์ยางคงไม่ดิ่งเหวเช่นนี้ รัฐบาลต้องกล้ายอมรับความจริงว่ามีปัญหาในการ บริหารจัดการ หรือบริหารผิดพลาด เพราะนายกฯสั่งการให้ทำ แต่กลับไม่มีการตั้งกระทรวงหรือหน่วยงาน เป็นเจ้าภาพให้เป็นรูปธรรม
นายนิพิฏฐ์กล่าวว่า กระทรวงมหาดไทยเคยสำรวจ อปท. และโรงเรียนทั่วประเทศ หากจะทำสนามเด็กเล่นต้องใช้ยางดิบ หรือน้ำยางกี่หมื่นตัน กระทรวงคมนาคม กรมทางหลวง กรมทางหลวงชนบท ต้อง รู้ว่ามีถนนกี่เส้นที่จะสร้างใหม่ในแต่ละปี หรือซ่อมแซมใช้ยางปริมาณเท่าไหร่ แต่ละหน่วยงานไม่ประสานบูรณาการกัน คนสั่งก็สั่งไป แต่ไม่มีคนนำไปทำเพราะไม่มีเจ้าภาพหลัก มันก็แก้ไม่ได้ ไม่อยากให้รัฐบาลใช้กฎหมายมาข่มขู่เกษตรกรสวนยาง เพราะไม่เข้าใจอารมณ์ชาวบ้านที่เดือดร้อน นายกฯ หรือคณะรัฐมนตรี รวมถึง ผบ.ตร. ต้องเข้าใจว่าชาวบ้านไม่มีเงินเดือนเหมือนพวกท่าน การจะพูดอะไรขอให้เอาหัวใจไปใส่ใจเขาด้วย อย่าตอกย้ำความรู้สึกด้วยวาทกรรม แต่ขอให้สำนึกว่าเงินเดือนที่พวกท่านใช้ ส่วนหนึ่งมาจากแรงงานและน้ำตาของชาวสวนยาง ถามว่า ครม.จะกล้าเสียสละไม่รับเงินเดือนสัก 2-3 เดือนไหม หรือบางคนที่รับเงินเดือนสองทางเป็นทั้ง สนช. และข้าราชการ ประกาศไม่รับเงินเดือนไหม เลิกเกรงใจบริษัทยักษ์ใหญ่ที่นำเข้ายางแอสฟัลต์ (ยางมะตอย) ที่ใช้ทำถนนได้แล้ว
นายสมบูรณ์ อุทัยเวียนกุล อดีต ส.ส.ตรัง พรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า ได้ทำจดหมายเปิดผนึกถึงรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกฯและ หัวหน้า คสช. ถึงปัญหาราคายางพาราตกต่ำว่าอย่าให้ยางตกเลือดออกเหมือนที่ผ่านมา รัฐบาลต้องแก้ปัญหาแบบจริงใจ อย่าใช้อำนาจแบบผู้มีอำนาจข่มขู่ชาวสวนยาง หากรัฐบาลสร้างสุขด้วยกินอิ่ม มีเงินให้ลูกกิน ลูกเรียน ให้เขาอยู่ได้ คงไม่ออกมาเรียกร้องเสี่ยงคุกเสี่ยงตะราง วันนี้ราคายางพาราตกต่ำ ยาง 5 กิโล ซื้อหมูไม่ได้สักกิโล เป็นภาวะที่ชาวสวนอยู่ไม่ได้จริงๆ หนี้สินที่หยิบยืมมาไม่มีปัญญาใช้ บางรายต้องฆ่าตัวตาย ขอเรียกร้องให้รัฐบาลส่งคนลงไปรับฟังปัญหา และหาวิธีแก้ไขจริงจัง โดยปรึกษาผู้มีความรู้ประสบการณ์ แก้ปัญหาทั้งระยะสั้น ระยะยาว ดีกว่าข่มขู่หรือแนะนำแบบประชด นักการเมืองอาชีพแบบพวกตนอยู่กับชาวบ้านเข้าใจปัญหาระดับพื้นฐาน หากบอกมาพวกตนยินดีช่วยเต็มที่