วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อราคายาง
วันศุกร์ที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2558
ปัจจัย
วิเคราะห์
1. สภาพภูมิอากาศ
- บริเวณประเทศไทยตอนบนมีฝนฟ้าคะนองกับมีฝนตกหนัก ลมกรรโชกแรง และอาจมีลูกเห็บตกบางแห่ง ส่วนภาคใต้มีฝนน้อยลง ร้อยละ 20 - 40 ของพื้นที่ ส่วนมากบริเวณจังหวัดชุมพรและสุราษฎร์ธานี ทำให้หลายพื้นที่กรีดยางได้เพิ่มขึ้น
2. การใช้ยาง
- สถิติล่าสุด ANRPC ระบุว่าประเทศเวียดนามยังคงเป็นผู้นำในการเพิ่มผลผลิตยางธรรมชาติ โดยปี 2558 มีผลผลิตเฉลี่ย 1,738 กิโลกรัมต่อเฮกตาร์ เพิ่มขึ้นจาก 1,692 กิโลกรัมต่อเฮกตาร์ ในปี 2557 รองลงมาคือ อินเดียมีผลผลิตเฉลี่ยอยู่ที่ 1,525 กิโลกรัมต่อเฮกตาร์ ลดลงจาก 1,572 กิโลกรัมต่อเฮกตาร์ในปี 2557
3. เศรษฐกิจโลก
- นายกรัฐมนตรีจีนระบุว่า รัฐบาลจีนคาดหวังที่จะดำเนินการให้เศรษฐกิจจีนมีการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างน้อยร้อยละ 6.5 ในช่วง 5 ปีข้างหน้า
- ประธานธนาคารกลางยุโรป (ECB) ประกาศขยายระยะเวลาในการซื้อพันธบัตรตามมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (QE) ไปจนถึงเดือนมีนาคม 2560 จากเดิมที่กำหนดสิ้นสุดในเดือนกันยายน 2559 เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจและผลักดันให้อัตราเงินเฟ้อเข้าใกล้ระดับร้อยละ 2.0 ตามเป้าหมายของ ECB และมีมติคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ร้อยละ 0.05 ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดเป็นประวัติการณ์
- ธนาคารเพื่อการพัฒนาเอเชีย (ADB) ได้ปรับเพิ่มคาดการณ์การขยายตัวของเศรษฐกิจจีนปี 2558 สู่ร้อยละ 6.9 จากเดิมที่ร้อยละ 6.8 โดยระบุถึงการบริโภคภาคเอกชนที่มีแนวโน้มสดใสขึ้น ขณะที่คงคาดการณ์การเติบโตเศรษฐกิจจีนปี 2559 ไว้ที่ร้อยละ 6.7 ส่วนกลุ่มประเทศกำลังพัฒนาในเอเชีย ADB ได้คงอัตราการขยายตัวปีนี้ไว้ที่ร้อยละ 5.8 และปีหน้าที่ร้อยละ 6.0 ขณะเดียวกัน ADB ได้ปรับลดแนวโน้มการเติบโตทางเศรษฐกิจญี่ปุ่นปีนี้ลงเหลือร้อยละ 0.5 จากร้อยละ 0.7 และได้ลดอัตราการขยายตัวเศรษฐกิจสหรัฐฯ มาอยู่ที่ร้อยละ 2.5 จากร้อยละ 2.6
- ผลสำรวจสถาบันจัดการด้านอุปทานสหรัฐฯ (ISM) พบว่า เดือนพฤศจิกายนภาคบริการสหรัฐฯ ชะลอตัวลงสู่ระดับ 55.9 จาก 59.1 ในเดือนตุลาคม ขณะที่นักวิเคราะห์คาดว่าจะอยู่ที่ 58.4
- กระทรวงพาณิชย์สหรัฐฯ เปิดเผยว่า ยอดสั่งซื้อภาคโรงงานเดือนตุลาคมเพิ่มขึ้น หลังจากปรับตัวลงเป็นเวลา 2 เดือน ทั้งนี้ยอดสั่งซื้อภาคโรงงานของสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.5 ในเดือนตุลาคม หลังจากที่ลดลงก่อนหน้านี้จากการแข็งค่าของเงินดอลล่าร์สหรัฐ และภาวะเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัว
- ธนาคารกลางยุโรป (ECB) ประกาศปรับเพิ่มคาดการณ์การขยายตัวเศรษฐกิจยูโรโซนปีนี้เป็นร้อยละ 1.5 จากเดิมที่ร้อยละ 1.4 นอกจากนี้ยังคาดการณ์การขยายตัวปี 2559 และ 2560 ที่ร้อยละ 1.7 และ 1.9 ตามลำดับ จากเดิมที่ร้อยละ 1.7 และ 1.8 ขณะเดียวกัน ECB ได้คงตัวเลขคาดการณ์เงินเฟ้อยูโรโซนปีนี้ที่ร้อยละ 0.1 และปรับลดคาดการณ์เงินเฟ้อปี 2559 ร้อยละ 1.0 จากเดิมที่ร้อยละ 1.1
- ผลสำรวจของมาร์กิตเดือนพฤศจิกายนระบุว่า
ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคบริการยูโรโซนเพิ่มขึ้นเล็กน้อย แตะ 54.2 จาก 54.1 ในเดือนตุลาคม เนื่องจากเศรษฐกิจยูโรโซนส่งสัญญาณฟื้นตัวอย่างต่อเนื่อง
ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคบริการฝรั่งเศสปรับตัวลดลงสู่ 51.0 ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดในรอบ 3 เดือน จาก 52.7 ในเดือนตุลาคม
ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคบริการเยอรมันปรับตัวขึ้นแตะ 55.6 ซึ่งเป็นสถิติสูงสุดในรอบ 14 เดือน จาก 54.5 ในเดือนตุลาคม
ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคบริการอิตาลีทรงตัวที่ 53.4 ซึ่งเป็นระดับเดียวกับเดือนตุลาคม ส่งสัญญาณว่าภาคบริการอิตาลีมีการเติบโตสดใสต่อเนื่อง
ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคบริการของจีนลดลงแตะ 51.2 จาก 52.0 ในเดือนตุลาคม
ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคบริการสหรัฐฯ ชะลอตัวลงสู่ระดับ 56.1 ลดลงจากตัวเลขเบื้องต้นที่ 56.5
4. อัตราแลกเปลี่ยน
- เงินบาทอยู่ที่ 35.78 บาทต่อดอลล่าร์สหรัฐ แข็งค่าขึ้น 0.09 บาทต่อดอลล่าร์สหรัฐ
- เงินเยนอยู่ที่ 122.71 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ แข็งค่าขึ้น 0.56 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ
5. ราคาน้ำมัน
- สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาด Nymex ส่งมอบเดือนมกราคม 2559 ปิดตลาดที่ 41.08 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล เพิ่มขึ้น 1.14 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล เพราะได้รับแรงหนุนจากสกุลเงินดอลล่าร์สหรัฐอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับเงินยูโร อันเป็นผลมาจากนักลงทุนผิดหวังต่อมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจที่ธนาคารกลางยุโรป (ECB) ประกาศเมื่อวานนี้
- สัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ (Brent) ตลาดลอนดอนส่งมอบเดือนมกราคม 2559 ปิดที่ 43.84 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล เพิ่มขึ้น 1.35 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล
6. การเก็งกำไร
- ราคา TOCOM ส่งมอบเดือนมกราคม 2559 อยู่ที่ 164.1 เยนต่อกิโลกรัม ลดลง 1.0 เยนต่อกิโลกรัม และส่งมอบเดือนพฤษภาคม 2559 อยู่ที่ 170.0 เยนต่อกิโลกรัม ลดลง 0.6 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ
- ราคา SICOM เปิดตลาดที่ 127.5 เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม ลดลง 1.0 เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม
7. ข่าว
- สำนักงานสถิติแห่งชาติฝรั่งเศสเปิดเผยว่า อัตราว่างงานช่วงไตรมาส 3 ปีนี้เพิ่มขึ้นสู่ระดับร้อยละ 10.6 จากร้อยละ 10.3 ในไตรมาส 2
- ประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) แถลงต่อคณะกรรมาธิการเศรษฐกิจร่วมของสภาคองเกรสว่า การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของเฟดจะเป็นอย่างค่อยเป็นค่อยไปในช่วงหลายเดือนข้างหน้า ท่ามกลางเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัว และนโยบายที่แตกต่างกันระหว่างเศรษฐกิจสหรัฐฯ และชาติอื่น ๆ
- กระทรวงแรงงานสหรัฐฯ เปิดเผยว่า จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานครั้งแรกในรอบสัปดาห์ที่แล้ว เพิ่มขึ้น 9,000 ราย สู่ 269,000 ราย สูงกว่ที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้
8. ข้อคิดเห็นของประกอบการ
- ราคายางทรงตัวหรือสูงขึ้นได้เล็กน้อย ขึ้นอยู่กับความต้องการซื้อของผู้ประกอบการ เพราะปริมาณยางยังมีน้อย อย่างไรก็ตาม ราคายางยังมีทิศทางไม่แน่นอน ต้องรอปัจจัยหนุนที่ชัดเจนกว่านี้หลังปีใหม่
แนวโน้ม ราคายางมีแนวโน้มทรงตัวหรือเปลี่ยนแปลงในช่วงแคบ ๆ ทิศทางเดียวกับตลาดล่วงหน้าโตเกียว โดยมีปัจจัยบวกจากเงินเยนและเงินบาทอ่อนค่า ประกอบกับปริมาณผลผลิตออกสู่ตลาดน้อย รวมทั้งกระแสคาดการณ์ว่าธนาคารกลางยุโรป (ECB) จะผ่อนคลายนโยบายการเงินเพิ่มเติมในการประชุมวันนี้ อย่างไรก็ตาม ราคายางยังมีความผันผวน เนื่องจากราคาน้ำมันปรับตัวลดลงสู่ระดับต่ำกว่า 40 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล และประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) ส่งสัญญาณชัดเจนว่าพร้อมจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในการประชุมเดือนนี้
ทีมวิเคราะห์สำนักงานตลาดกลางยางพาราสงขลา