ผู้เขียน หัวข้อ: เกษตรกรชาวสวนยาง โค่นต้นยางทิ้งหันมาปลูกต้นใบกะเพรา  (อ่าน 700 ครั้ง)

Rakayang.Com

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 84462
    • ดูรายละเอียด
เกษตรกรชาวสวนยาง โค่นต้นยางทิ้งหันมาปลูกต้นใบกะเพรา
โดย :  กรุงเทพธุรกิจออนไลน์   วันที่ 15 พฤศจิกายน 2558, 07:30


เกษตรกรชาวสวนยาง,โค่นยาง,


เกษตรกรชาวสวนยาง ตำบลแกลง โค่นต้นยางทิ้งหันมาปลูกต้นใบกะเพราขายส่งพ่อค้าแม่ค้า สร้างรายได้เสริม หลังประสบปัญหาราคายางตกต่ำ


ผู้สื่อข่าวได้รับแจ้งว่า เจ้าของสวนยางหันมาปลูกพืชผักสวนครัว หลังราคายางตกต่ำ จึงไปพบ นางเจียมใจ เกิดมณี อายุ 54 ปี เกษตรกรชาวสวนยาง อยู่บ้านเลขที่ 18/2 หมู่ที่ 1 ตำบลแกลง อำเภอเมืองระยอง โดยใช้พื้นที่ข้างบ้านประมาณ 1 ไร่ เศษ แบ่งเป็นแปลงปลูกต้นใบกะเพรา ต้นชะอม ตะไคร้ ถั่วฝักยาว มะละกอ พริก และไม้ผลชนิดต่างๆ ช่วงนี้ผลผลิตใบกะเพรากำลังให้ผลผลิตดี ตลาดมีความต้องการและมีราคาดี
ทั้งนี้ นางเจียมใจ เกิดมณี เกษตรกร กล่าวว่า ทุกๆ เช้าตนเองและลูกสาว จะต้องออกไปตัดใบกะเพราสดๆ จากต้น มาล้างทำความสะอาด และใช้กระดาษห่อเป็นกำๆ ละครึ่งกิโลกรัม เตรียมนำไปส่งให้แม่ค้าตลาดเมืองระยอง ที่รับซื้อประจำวันละ 30-40 กิโลกรัม สร้างรายได้เฉลี่ยวันละ 1,000 -1,500 บาท ก่อนหน้าปลูกต้นยางพารา ระยะหลังยางราคาตกต่ำ จึงตัดสินใจโค่นต้นยางพาราบางส่วนแล้วหันมาปลูกผักสวนครัว ขายได้เงินสดทุกวัน ต้นทุนก็ต่ำกว่าหลายเท่าตัว
นางเจียมใจ กล่าวว่า ปรับพื้นที่บริเวณหลังบ้าน ทำเป็นล็อคๆปลูกต้นใบกะเพราเป็นรุ่นๆ รวมทั้งปลูกต้นชะอมทำเป็นแนวกั้น แต่เน้นปลูกต้นใบกะเพราเป็นหลักร้อยละ 80 สลับด้วยพืชผักอีกหลากหลายชนิด หมุนเวียนกันตามฤดูกาล ทั้งนี้ สาเหตุหันมาปลูกต้นใบกะเพราขายเป็นอาชีพเสริมเลี้ยงครอบครัวได้อย่างมีความ สุข ทั้งนี้ พื้นที่ 1 ไร่ จะแบ่งปลูกต้นใบกะเพราจำนวน 5 ล็อค สลับปลูกหมุนเวียน เพื่อให้มีผลผลิตตัดขายได้ทุกวัน การปลูกใช้วิธีนำต้นใบกะเพราที่สมบูรณ์มาเสียบลงในดิน เหมือนกับการดำนาข้าว ซึ่งใช้เวลาเพียงเดือนเดียวก็เริ่มเก็บได้ต่อเนื่องถึง 4 เดือน ให้ปุ๋ยสัปดาห์ละ 2 ครั้ง และฉีดพ่นสารไล่แมลงเท่าที่จำเป็น ทำให้ต้นทุนน้อยใบกะเพราปกติราคากิโลกรัมละ 30 บาท สร้างรายได้ไม่น้อยกว่าเดือนละ 30,000 บาทเลยทีเดียว
ส่วนแปลงที่ปลูกต้นชะอม ถั่วฝักยาว มะละกอพันธุ์ฮอลแลนด์ มะเขือพวง พริก ต้นแค ตะไคร้ ผลไม้อีกหลายชนิด และพืชผักตามฤดูกาลที่มีราคาดี จนเต็มพื้นที่ เก็บเกี่ยวผลผลิตขายเป็นรายได้เพิ่มอีกเดือนละ 20,000 บาท เมื่อรวมแล้วในแต่ละเดือนมีรายได้จากการขายผักไม่ต่ำกว่า 50,000 บาท.