ผู้เขียน หัวข้อ: ส่องเกษตร : อย่าให้คนไทยหมดหลังพิง  (อ่าน 921 ครั้ง)

Rakayang.Com

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 84444
    • ดูรายละเอียด
ส่องเกษตร : อย่าให้คนไทยหมดหลังพิง


เศรษฐกิจโดยรวมของไทย ยังคงน่าห่วง โดยเฉพาะเมื่อยุคนี้ ?โลกาภิวัตน์?เป็นโลกที่ไร้พรมแดน ไม่เพียงภาวะเศรษฐกิจในประเทศ แต่สถานการณ์เศรษฐกิจโลกทั้งใบที่ยังคงย้ำแย่ ย่อมส่งผลอีกทางหนึ่งถึงไทยอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ และแน่นอนว่า ย่อมส่งผลกระทบต่อเกษตรกรคนส่วนใหญ่ด้วย
ตั้งแต่สัปดาห์ก่อน ต่อเนื่องมาถึงต้นสัปดาห์นี้ เรื่องใหญ่ของเศรษฐกิจโลกคือ กรณีที่ประเทศจีนมีการ?ลดค่าเงินหยวน?หลายครั้งติดต่อกัน จนค่าเงินหยวนอ่อนลงไปกว่า 4% นำไปสู่การที่สกุลเงินในเอเชียพากันอ่อนค่ามากไปตามๆกัน ทั้งเป็นที่หวั่นเกรงว่า จะทำให้เกิดการตอบโต้จากชาติตะวันตก นำไปสู่สงครามค่าเงินตามมา ทำให้วงการเงินและการค้าทั่วโลกสั่นสะเทือนไปตามๆกัน ในส่วนไทยเองมีหลายฝ่ายที่เกี่ยวข้องพากันออกมาคาดการณ์ถึงผลกระทบที่ไทยจะ ได้รับ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องการส่งออกที่ยังอยู่ในสถานการณ์ย่ำแย่ จะถูกซ้ำเติมจากกรณีนี้ยิ่งขึ้นด้วย

สินค้าเกษตรสำคัญอย่าง?ข้าว?ที่ก่อนหน้านี้ ภาวะภัยแล้งช่วงที่ผ่านมา ทำให้ราคาข้าวไทยกระเตื้องดีขึ้น แต่เมื่อมาเจอพิษเงินหยวนซึ่งพลอยทำให้เงินบาทของไทยอ่อนค่าตามลงไปมากด้วย ก็ส่งผลให้ราคาส่งออกข้าวไทยร่วงลงไปอีก ย่อมดึงราคาข้าวในประเทศตามลงมา ขณะที่ยางพาราซึ่งไทยส่งออกไปจีนเป็นตลาดใหญ่ ทางสมาคมยางพาราไทยก็คาดว่า สถานการณ์ค่าเงินหยวนจะส่งผลกระทบต่อการส่งออกยางฯในด้านลบมากกว่าด้านบวก แน่ เพราะเงินหยวนที่อ่อนค่า จะมีผลให้จีนต้องใช้เงินมากขึ้นในการซื้อสินค้านำเข้าที่มีราคาสูงขึ้น จนนำไปสู่การลดการนำเข้า

เรื่องค่าเงินหยวนจะกระทบต่อสินค้าเกษตรไทยขนาดไหน ก็ยังคงต้องจับตาดูกันต่อไป แต่ที่แน่ๆตอนนี้ปัจจัยสถานการณ์ต่างๆ ยังไม่มีข่าวดีอะไรที่จะเป็นความหวังให้กับภาคเกษตรของไทยนัก กลับยังคงเต็มไปด้วยข่าวร้ายต่อเนื่องมาเป็นระลอก

ผู้จัดการ ธ.ก.ส.-ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรอย่างนายลักษณ์ วจนานวัช ก็ยังยอมรับว่า สถานการณ์ของเกษตรกรไทยยังน่าห่วงมาก จากที่ผ่านมาซึ่งได้รับความเสียหายจากภัยแล้ง แล้วยังน้ำท่วม ราคาพืชผลก็ยังไม่ดีขึ้น ขณะที่ปัญหาใหญ่ของเกษตรกรคือหนี้สิน ซึ่งแม้ว่า ที่ผ่านมา ธ.ก.ส.จะดำเนินมาตรการแก้ไขหนี้เกษตรกรตามมติคณะรัฐมนตรี คิดเป็นวงเงิน 8.18 แสนล้าน โดยสามารถแก้ไขผ่านกระบวนการปรับโครงสร้างหนี้และการประนอมหนี้ไปได้แล้ว 1.6 แสนล้านบาท แต่ยังพบว่า มีเกษตรกรอีกมากที่นำที่ดินไปติดขายฝาก จำนองหรือเป็นหลักทรัพย์ค้ำประกันเงินกู้ทั้งในระบบและนอกระบบจำนวนถึง 1.6 ล้านราย แยกเป็นหนี้ในระบบ 1.4 ล้านราย มูลหนี้ 3.88 แสนล้านบาท กับหนี้นอกระบบ 1.49 แสนราย มูลหนี้ 2.16 หมื่นล้านบาท

โดยในจำนวนหนี้นอกระบบนี้มีอยู่ 9.2 หมื่นราย วงเงินมูลหนี้กว่า 1.1 หมื่นล้านบาท เป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูงที่จะถูกเจ้าหนี้ยึดที่ดินเป็นกลุ่มแรกๆ
ยังดีว่า รัฐบาลคสช.ตระหนักถึงปัญหานี้ โดยนายกรัฐมนตรีพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา สั่งให้คณะอนุกรรมการช่วยเหลือเกษตรกรและผู้ยากจน(อชก.)ทั้งระดับอำเภอและ จังหวัดเข้าไปดูแลช่วยเหลือกระบวนการประนอมหนี้กับเจ้าหนี้นอกระบบอยู่ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการยึดที่ดินทำกิน

อย่างไรก็ตาม ก่อนหน้ากลุ่มเอ็นจีโอที่จับเรื่องปัญหาเกษตรกร เช่น กลุ่มปฏิบัติงานท้องถิ่นไร้พรมแดน (Local Action Links:LocalAct ) เคยออกมาเผยผลศึกษาอยู่บ่อยครั้ง ชี้ถึงปัญหาเกษตรกรที่ถูกยึดที่ดินทำกินเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะในพื้นที่ลุ่มเจ้าพระยาภาคกลาง ทั้งยังคงมีความเสี่ยงสูงที่เกษตรกรซึ่งอยู่ในสภาพหนี้สินพอกพูน จะถูกยึดที่ดินทำกิน เหมือนเช่นที่ผ่านมา อันเนื่องมาจากกลไกแก้ไขปัญหาหนี้เกษตรกรยังล้มเหลวอยู่

ในท่ามกลางสถานการณ์เศรษฐกิจที่ยังเลวร้ายไปทั่วโลก และโอกาสที่จะเกิดวิกฤติเศรษฐกิจรุนแรงได้ถี่ขึ้น ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
นับเป็นภูมิคุ้มกันสำคัญที่เกษตรกรไทยสมควรยึดมั่นปฏิบัติ และที่ดินทำกินก็นับเป็นเรื่องใหญ่ที่ภาครัฐต้องเร่งสร้างกลไกในการดูแลให้ มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น อย่าให้เกษตรกรต้องถูกยึดที่ดินทำกินไปมากกว่านี้

บทเรียนเมื่อครั้งวิกฤติเศรษฐกิจ ?ต้มยำกุ้ง? ปี 2540 คนไทยที่ได้รับผลกระทบจำนวนมหาศาล ยังสามารถกลับคืนสู่บ้านเกิดมีไร่นาของพ่อแม่เป็นที่พิงหลังให้อยู่ได้ จนกลับมายืนหยัดได้อีกครั้งแต่ถ้าที่ดินทำกินสูญสิ้น แล้วจากนี้เกิดวิกฤติขึ้นอีกที่พิงหลังไม่เหลือก็ลองคิดดูว่า ประเทศไทยจะเลวร้ายล่มสลายกันขนาดไหน...



ที่มา : หนังสือพิมพ์แนวหน้า (วันที่ 20 สิงหาคม 2558)