ผู้เขียน หัวข้อ: ชี้ จีนลดค่าเงินหยวน ส่งผลนำเข้า "ยางพารา-สินค้าไทย"ลดลง แต่ไม่กระทบมาก  (อ่าน 845 ครั้ง)

Rakayang.Com

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 84444
    • ดูรายละเอียด
ชี้ จีนลดค่าเงินหยวน ส่งผลนำเข้า "ยางพารา-สินค้าไทย"ลดลง แต่ไม่กระทบมาก

วันที่ 13 สิงหาคม  พ.ศ. 2558 เวลา 16:23:09 น





นางเกศรา มัญชุศรี กรรมการและผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) เปิดเผยว่า กรณีที่ธนาคารกลางจีน(พีบีโอซี) ลดค่าเงินหยวนเมื่อเทียบกับสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐนั้นเป็นเพียงวิธีการบริหารจัดการด้านเศรษฐกิจซึ่งหลายประเทศดำเนินการก่อนหน้านี้แล้ว เช่น มาตรการผ่อนคลายนโยบายเชิงปริมาณ(คิวอี) ของสหรัฐอเมริกา ยุโรป และญี่ปุ่น นอกจากนี้ การลดค่าเงินดังกล่าวยังทำให้ค่าเงินหยวนเป็นค่าเงินที่มีความเคลื่อนไหวยืดหยุ่นมากขึ้นตามภาวะเศรษฐกิจของประเทศจีนและของโลก ด้านผลตลาดหุ้นไทยและเศรษฐกิจไทยนั้น ส่วนตัวมองว่ายังเร็วเกินไปที่จะตอบว่ากระทบในด้านลบแต่เพียงอย่างเดียว เพราะไทยส่งออกสินค้าไปยังหลายประเทศ อีกมุมหนึ่งประเทศไทยยังเป็นผู้นำเข้าสินค้าและวัตถุดิบด้วย จึงควรรอนักวิเคราะห์เปรียบเทียบค่าเงินบาทกับหยวนรวมทั้งเทียบกับสกุลเงินอื่นในภูมิภาคว่าจะเป็นไปในทิศทางใด

ทั้งนี้ ตลาดหุ้นไทยเป็นตลาดที่อ่อนไหว เพราะนักลงทุนรับข่าวสารจากหลากหลายทาง ราคาหุ้นในตลาดหลักทรัพย์จึงเปลี่ยนแปลงสะท้อนภาพและข่าวอย่างรวดเร็ว จึงต้องการให้นักลงทุนติดตามบทวิเคราะห์จากนักวิเคราะห์ด้านต่างๆ ว่า ค่าเงินหยวนที่ลดลงจะส่งผลทางบวกหรือลบกับบริษัทจดทะเบียนไทย 

?ที่ผ่านมาตลาดหลักทรัพย์หารือกับบริษัทจดทะเบียนตลอดเวลา ขณะที่บริษัทในตลาดหลักทรัพย์มีทั้งที่ได้รับผลบวกและได้รับผลลบบ้าง แต่เนื่องจากธุรกิจของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์มีความหลากหลายและเข้มแข็งจึงเชื่อว่าจะไม่กระทบต่อภาพระยะยาว ขณะที่สินค้าส่งออกของไทยไม่ได้เป็นคู่แข่งกับจีนแต่เป็นในลักษณะผู้ค้าร่วมมากกว่า คือป้อนสินค้าเพื่อไปประกอบในประเทศจีน ส่วนสินค้าที่จะได้รับผลกระทบเพราะราคานำเข้าสูงขึ้นส่งผลให้ความต้องการบริโภคในจีนลดลงคือ สินค้าเพื่ออุปโภคบริโภค หรือสินค้าเกษตร เช่น ราคายางพารา?นางเกศรากล่าว

อย่างไรก็ตาม จากการวิเคราะห์ของนักวิเคราะห์ค่าเงินพบว่า ไทยอาจไม่จำเป็นต้องมีมาตรการออกมารองรับหรือบริหารจัดการ เพราะค่าเงินบาทจะอ่อนตามค่าเงินหยวน ขณะที่สงครามค่าเงินนั้นหลายประเทศต้องลดค่าเงินเพื่อให้ประเทศมีความสามารถในการแข่งขันมากขึ้น ส่วนประเทศไทยค่าเงินบาทอ่อนค่าลงแต่จะมีความสามารถหรือไม่นั้น ต้องติดตามความต้องการบริโภคของตลาดโลกที่ลดลงด้วย ส่วนตัวเชื่อว่าอัตราการส่งออกที่ลดลงของไทยเมื่อเทียบกับเพื่อนบ้านไทยยังลดลงน้อย เพราะกระจายการส่งออกไปหลายประเทศ