ผู้เขียน หัวข้อ: วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อราคายาง วันศุกร์ที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2558  (อ่าน 825 ครั้ง)

Rakayang.Com

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 83118
    • ดูรายละเอียด

วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อราคายาง
วันศุกร์ที่  7  สิงหาคม  พ.ศ. 2558
ปัจจัย
วิเคราะห์
1. สภาพภูมิอากาศ
- ทั่วทุกภาคของประเทศไทยมีฝนตกหนาแน่นและตกหนักบางแห่ง ร้อยละ 60 - 70 ของพื้นที่ โดยเฉพาะภาคใต้ฝั่งตะวันตกมีฝนฟ้าคะนองเกือบทั่วไป ร้อยละ 80 ของพื้นที่ ส่งผลกระทบต่อการกรีดยาง
2. การใช้ยาง
- สมาคมผู้ผลิตและจำหน่ายรถยนต์อังกฤษ เปิดเผยว่า ตัวเลขการจดทะเบียนรถยนต์ใหม่เดือนกรกฎาคมเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.2 สู่ระดับ 178,420 คัน เพิ่มขึ้นเป็นเดือนที่ 41 ติดต่อกัน หากนับตั้งแต่ต้นปีนี้ตัวเลขจดทะเบียนรถยนต์ใหม่อยู่ที่ 1.56 ล้านคัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.5 เมื่อเทียบกับช่วงครึ่งแรกของปี 2557- สมาคมผู้นำเข้ารถยนต์ญี่ปุ่นเปิดเผยว่า ยอดจำหน่ายรถยนต์นำเข้าเดือนกรกฎาคม รวมถึงรถยนต์ที่ผลิตโดยบริษัทญี่ปุ่นในต่างประเทศ ปรับตัวขึ้นร้อยละ 5.4 เมื่อเทียบเป็นรายปี สู่ระดับ 24,441 คัน ส่วนยอดจำหน่ายรถยนต์สัญชาติต่างประเทศเพิ่มขึ้นร้อยละ 11.6 อยู่ที่ 20,607 คัน และยอดจำหน่ายรถยนต์สัญชาติญี่ปุ่นลดลงร้อยละ 18.9 อยู่ที่ 3,834 คัน
3. เศรษฐกิจโลก
- สถาบันหลายแห่งคาดการณ์ว่า ดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) เดือนกรกฎาคมของจีนจะปรับตัวลดลงในอัตราที่เร็วขึ้นจากเดือนมิถุนายน หลังจากที่ปรับตัวลงเล็กน้อยในเดือนพฤษภาคม เนื่องจากราคาสินค้าที่ปรับตัวลดลงทั่วโลก ทั้งนี้มีการคาดการณ์ว่าดัชนีราคาผู้ผลิตจะปรับตัวลงติดต่อกันเป็นเดือนที่ 41 ในเดือนกรกฎาคา มาอยู่ที่ร้อยละ 5.0 โดยลดลงในอัตราที่เร็วขึ้นร้อยละ 0.2- ธนาคารกลางอังกฤษ (BOE) ประกาศคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ร้อยละ 0.5 ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ และเป็นการคงอัตราดอกเบี้ยที่ระดับดังกล่าวเป็นเดือนที่ 78 ติดต่อกัน- กระทรวงเศรษฐกิจเยอรมันเปิดเผยว่า คำสั่งซื้อภาคการผลิตเดือนมิถุนายนปรับตัวสูงขึ้นร้อยละ 2.0 จากเดือนก่อน โดยได้รับแรงหนุนจากอุปสงค์ที่แข็งแกร่งจากนอกกลุ่มยูโรโซน โดยกระทรวงระบุว่าคำสั่งซื้อในภาคการผลิตมีแนวโน้มปรับตัวในช่วงขาขึ้นอย่างชัดเจน เนื่องจากคำสั่งซื้อจากต่างประเทศในเดือนมิถุนายนทะยานขึ้นร้อยละ 4.8 เมื่อเทียบเป็นรายเดือน หลังจากเงินยูโรอ่อนค่า ทำให้สินค้าของยูโรโซนมีศักยภาพในการแข่งขันมากขึ้นในต่างประเทศ- สถาบันวิจัยเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติอังกฤษ (nIESR) คาดการณ์ว่าเศรษฐกิจโลกจะมีอัตราการขยายตัวที่ต่ำสุด นับตั้งแต่เกิดวิกฤตการณ์การเงินโลกในปีนี้ ทั้งนี้สถาบันได้ปรับลดคาดการณ์การขยายตัวเศรษฐกิจโลกสำหรับปี 2558 และ 2559 ลงร้อยละ 0.2 และ 0.3 มาอยู่ที่ร้อยละ 3.0 และ 3.5 ตามลำดับ ซึ่งเป็นอัตราการขยายตัวต่ำที่สุดนับตั้งแต่เกิดวิกฤตการณ์การเงินโลก สะท้อนให้เห็นว่าการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศตลาดเกิดใหม่และกลุ่มประเทศที่พัฒนาแล้วมีแนวโน้มอ่อนแอลง
4. อัตราแลกเปลี่ยน
- เงินบาทอยู่ที่ 35.15 บาทต่อดอลล่าร์สหรัฐ แข็งค่าขึ้น 0.04 บาทต่อดอลล่าร์สหรัฐ- เงินเยนอยู่ที่ 124.78 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ อ่อนค่าลง 0.06 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ
5. ราคาน้ำมัน
- สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาด Nymex ส่งมอบเดือนกันยายนปิดตลาดที่ 44.66 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล ลดลง 0.49 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล เนื่องจากนักลงทุนวิตกกังวลเกี่ยวกับน้ำมันล้นตลาด หลังจากสหรัฐฯ เปิดเผยสต๊อคน้ำมันเบนซินและปริมาณการผลิตที่สูงขึ้นในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา ขณะโกลด์แมน แซคส์ ระบุว่า ตลาดน้ำมันโลกกำลังเผชิญภาวะอุปทานส่วนเกินที่สูงขึ้น- สัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ (Brent) ตลาดลอนดอนส่งมอบเดือนกันยายน ปิดที่ 49.52ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล ลดลง 0.07 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล- โกลด์แมน แซคส์ เปิดเผยว่า ขณะนี้ตลาดน้ำมันโลกมีปริมาณน้ำมันส่วนเกินอยู่ 2 ล้านบาร์เรลต่อวัน เมื่อเทียบกับช่วง 6 เดือนแรกของปีที่ระดับ 1.8 ล้านบาร์เรลต่อวัน
6. การเก็งกำไร
- ราคา TOCOM ส่งมอบเดือนกันยายน อยู่ที่ 188.0 เยนต่อกิโลกรัม ลดลง 2.8 เยนต่อกิโลกรัม และส่งมอบเดือนมกราคม 2559 อยู่ที่ 194.4 เยนต่อกิโลกรัม ลดลง 3.8 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ- ราคา SICOM เปิดตลาดที่ 155.8 เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม ไม่เปลี่ยนแปลง
7. ข่าว
- กระทรวงแรงงานสหรัฐฯ เปิดเผยว่า จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานครั้งแรกในรอบสัปดาห์ สิ้นสุดวันที่ 1 สิงหาคม 2558 เพิ่มขึ้น 3,000 ราย สู่ระดับ 270,000 ราย ตัวเลขดังกล่าวยังคงต่ำกว่าระดับ 300,000 ราย เป็นสัปดาห์ที่ 21 ติดต่อกัน ซึ่งเป็นช่วงที่ยาวนานที่สุดนับตั้งแต่ปี 2543 และเป็นสัญญาณที่บ่งชี้ว่าตลาดแรงงานยังคงมีความแข็งแกร่ง- ไคซิน สื่อธุรกิจของจีนรายงานว่า เงินกู้หนี้เสียในระบบธนาคารสิ้นสุดเดือนมิถุนายนอยู่ที่ 1.8 ล้านล้านหยวน ขณะที่สัดส่วนหนี้เสียโดยเฉลี่ยของธนาคารทุกแห่งในจีนอยู่ที่ร้อยละ 1.82 การชะลอตัวของเศรษฐกิจจีนได้สร้างแรงกดดันอย่างหนักต่อภาคธนาคารภายในประเทศ โดยเงินกู้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL) และสัดส่วนเงินกู้หนี้เสียปรับตัวสูงขึ้นเป็นเวลาหลายไตรมาส เนื่องจากผู้กู้ยืมไม่สามารถชำระคืนหนี้สินได้
8. ข้อคิดเห็นของผู้ประกอบการ
- ราคายางน่าจะทรงตัวหรือลดลงเล็กน้อย ไม่ปรับลดลงมากตามตลาดต่างประเทศ เพราะปริมาณผลผลิตออกสู่ตลาดน้อย เนื่องจากภาวะฝนตกหนัก กรีดยางได้น้อยมากเมื่อเทียบกับปีก่อน
แนวโน้ม ราคายางมีแนวโน้มปรับตัวลดลงตามตลาดล่วงหน้าโตเกียวและราคาน้ำมัน ประกอบกับนักลงทุนระมัดระวังในการซื้อขายเพื่อจับตาดูตัวเลขจ้างงานเดือนกรกฎาคมของสหรัฐฯ ในวันนี้อย่างใกล้ชิด โดยคาดว่าข้อมูลดังกล่าวจะเป็นหนึ่งในปัจจัยที่สามารถบ่งชี้แนวโน้มการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) อย่างไรก็ตาม ภาวะฝนตกหนักในหลายพื้นที่ปลูกยางของไทย ซึ่งส่งผลกระทบต่อการกรีดยาง ยังคงเป็นปัจจัยหนุนราคายางได้ในระดับหนึ่ง?ทีมวิเคราะห์สำนักงานตลาดกลางยางพาราสงขลา