ผู้เขียน หัวข้อ: วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อราคายาง วันพฤหัสบดีที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2558  (อ่าน 945 ครั้ง)

Rakayang.Com

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 83189
    • ดูรายละเอียด
วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อราคายาง
วันพฤหัสบดีที่  6  สิงหาคม  พ.ศ. 2558
ปัจจัย
วิเคราะห์
1. สภาพภูมิอากาศ
- อิทธิพลร่องมรสุมและมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ทำให้บริเวณประเทศไทยมีฝนตกหนาแน่นและตกหนักบางแห่ง ร้อยละ 60 - 80 ของพื้นที่ โดยเฉพาะภาคใต้ฝั่งตะวันตกมีฝนร้อยละ 80 ของพื้นที่ ระยะนี้ระวังน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก ส่งผลกระทบต่อการกรีดยาง
2. การใช้ยาง
- โตโยต้ามั่นใจเศรษฐกิจไทย หรือตลาดรถยนต์ฟื้นใน 3 ปีข้างหน้า ย้ำยอดจำหน่ายปีนี้ไม่ถึง 800,000 คัน พร้อมเดินหน้าลงทุนต่อเนื่อง ระบุไทยขึ้นแท่นฐานผลิตสำคัญของภูมิภาค อย่างไรก็ตาม สถานการณ์ของอุตสาหกรรมยานยนต์ปี 2558 เป็นปีที่ยากลำบาก คาดว่ายอดจำหน่ายรถยนต์โดยรวมน่าจะไม่เกิน 800,000 คัน โดยโตโยต้าทำได้ 280,000 คัน จากเป้าเมื่อต้นปี 330,000 คัน
3. เศรษฐกิจโลก
- สำนักงานสถิติแห่งสหภาพยุโรปเปิดเผยว่า ยอดค้าปลีกเดือนมิถุนายนใน 19 ประเทศยูโรโซน ลดลงร้อยละ 0.6 จากเดือนพฤษภาคม เป็นการลดลงมากที่สุดนับตั้งแต่เดือนกันยายนปีก่อน อย่างไรก็ดี เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนยอดค้าปลีกเดือนมิถุนายนเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.2- กระทรวงพาณิชย์สหรัฐฯ เปิดเผยว่า เดือนมิถุนายนยอดขาดดุลการค้าเพิ่มขึ้นเกินคาด โดยได้รับผลกระทบจากการแข็งค่าของดอลล่าร์สหรัฐและอุปสงค์ต่างประเทศที่ซบเซา ทั้งนี้สหรัฐฯ ขาดดุลการค้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.1 สู่ระดับ 4.384 หมื่นล้านดอลล่าร์ ขณะที่ตัวเลขการขาดดุลในเดือนพฤษภาคมอยู่ที่ 4.09 หมื่นล้านดอลล่าร์สหรัฐ โดยกระทรวงพาณิชย์ยังระบุว่าการส่งออกลดลงร้อยละ 0.1 ในเดือนมิถุนายน ขณะที่การนำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.2- ผลสำรวจของสถาบันจัดการด้านอุปทานสหรัฐฯ (ISM) พบว่า ภาคบริการสหรัฐฯ มีการขยายตัวเพิ่มขึ้นในเดือนกรกฎาคม โดยได้แรงหนุนจากการขยายตัวของการจ้างงาน การส่งออก และคำสั่งซื้อใหม่ ทั้งนี้ดัชนีภาคบริการของ ISM เดือนกรกฎาคมอยู่ที่ 60.3  เพิ่มขึ้นจาก 56.0 ในเดือนมิถุนายน- มาร์กิต อิโคโนมิกส์ เปิดเผยผลสำรวจดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคบริการเดือนกรกฎาคม ดังนี้
  • ยูโรโซน ลดลงแตะ 54.0 จาก 54.4 ในเดือนมิถุนายน แต่เพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากข้อมูลเบื้องต้น
  • ฝรั่งเศส ปรับตัวลดลงแตะ 52.0 ซึ่งต่ำสุดในรอบ 3 เดือน จาก 54.1 ในเดือนมิถุนายน
  • เยอรมัน ไม่เปลี่ยนแปลงจากเดือนมิถุนายนที่ระดับ 58.8
  • อิตาลี ยังคงมีการขยายตัวที่ 52.0 แต่ชะลอตัวลงจาก 53.4 ในเดือนมิถุนายน
  • จีนที่จัดทำร่วมกับไคซิน ปรับตัวขึ้นสู่ระดับ 53.8 ซึ่งป็นระดับสูงสุดในรอบ 11 เดือน จากระดับ 51.8 ในเดือนมิถุนายน
  • สหรัฐฯ ปรับตัวขึ้นสู่ระดับ 55.7 จากตัวเลขเบื้องต้นที่ 55.2 สูงกว่าที่คาดไว้ที่ 55.0
[/t][/t][/t][/t][/t][/t]
4. อัตราแลกเปลี่ยน
- เงินบาทอยู่ที่ 35.19 บาทต่อดอลล่าร์สหรัฐ อ่อนค่าลง 0.06 บาทต่อดอลล่าร์สหรัฐ- เงินเยนอยู่ที่ 124.72 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ อ่อนค่าลง 0.29 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ
5. ราคาน้ำมัน
- สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาด Nymex ส่งมอบเดือนกันยายนปิดตลาดที่ 45.15 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล ลดลง 0.59 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล หลังจากสำนักงานสารสนเทศด้านพลังงานสหรัฐฯ (EIA) เปิดเผยปริมาณการผลิตน้ำมันดิบปรับตัวขึ้นในสัปดาห์ที่แล้ว ส่งผลให้นักลงทุนวิตกกังวลเกี่ยวกับภาวะอุปทานพลังงานที่สูงขึ้น- สัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ (Brent) ตลาดลอนดอนส่งมอบเดือนกันยายน ปิดที่ 49.59ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล ลดลง 0.40 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล- สำนักงานสารสนเทศด้านการพลังงานสหรัฐฯ (EIA) เปิดเผยว่า สต๊อคน้ำมันของสหรัฐฯ ลดลงเกินคาดในสัปดาห์ที่แล้ว ทั้งนี้สต๊อคน้ำมันดิบลดลง 4.4 ล้านบาร์เรล สู่ระดับ 455.3 ล้านบาร์เรล ขณะที่นักวิเคราะห์คาดว่าจะลดลง 1.5 ล้านบาร์เรล
6. การเก็งกำไร
- ราคา TOCOM ส่งมอบเดือนกันยายน อยู่ที่ 192.2 เยนต่อกิโลกรัม เพิ่มขึ้น 4.4 เยนต่อกิโลกรัม และส่งมอบเดือนมกราคม 2559 อยู่ที่ 197.2 เยนต่อกิโลกรัม เพิ่มขึ้น 1.6 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ- ราคา SICOM เปิดตลาดที่ 155.8 เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม ไม่เปลี่ยนแปลง
7. ข่าว
- ผลสำรวจของนักวิเคราะห์ระบุว่า กระทรวงแรงงานสหรัฐฯ รายงานตัวเลขจ้างงานนอกภาคการเกษตรประจำเดือนกรกฎาคมเพิ่มขึ้น 215,000 ตำแหน่ง ลดลงจากระดับ 223,000 ตำแหน่งในเดือนมิถุนายน ขณะที่คาดว่าอัตราว่างงานจะทรงตัวที่ร้อยละ 5.3 ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดในรอบกว่า 7 ปี- ผลสำรวจของออโตเมติก โพรเซสซิ่ง อิงค์ (ADP) ระบุว่า ภาคเอกชนสหรัฐฯ มีการจ้างงานเพิ่มขึ้น 185,000 ตำแหน่งในเดือนกรกฎาคม โดยต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ว่าจะเพิ่มขึ้น 215,000 ราย
8. ข้อคิดเห็นของผู้ประกอบการ
- ราคายางน่าจะปรับตัวสูงขึ้นได้เล็กน้อย เพราะมีแรงหนุนจากผลผลิตน้อยและเงินบาทอ่อนค่า จึงส่งผลดีต่อผู้ส่งออก
แนวโน้ม ราคายางมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้นในทิศทางเดียวกับตลาดล่วงหน้าโตเกียว จากการอ่อนค่าของเงินเยนและเงินบาท ประกอบกับนักลงทุนขานรับข้อมูลที่บ่งชี้ถึงการขยายตัวของภาคบริการในสหรัฐฯ และจีน รวมทั้งอุปทานยางออกสู่ตลาดน้อยจากภาวะฝนตกหนักในหลายพื้นที่ปลูกยางของไทย อย่างไรก็ตาม กระแสการส่งสัญญาณปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) ยังคงเป็นปัจจัยกดดันราคาสินค้าโภคภัณฑ์ (รวมถึงยางพารา) ได้ในระดับหนึ่ง?ทีมวิเคราะห์สำนักงานตลาดกลางยางพาราสงขลา