ผู้เขียน หัวข้อ: วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อราคายาง วันพุธที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2558  (อ่าน 931 ครั้ง)

Rakayang.Com

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 83213
    • ดูรายละเอียด
วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อราคายาง
วันพุธที่  5 สิงหาคม  พ.ศ. 2558
ปัจจัย
วิเคราะห์
1. สภาพภูมิอากาศ
- ประเทศไทยยังคงมีฝนตกหนาแน่นและตกหนักบางแห่ง โดยเฉพาะภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคใต้ฝั่งตะวันตก มีฝนร้อยละ 70 ของพื้นที่ ส่งผลกระทบต่อการกรีดยาง
2. การใช้ยาง
- ออโต้ดาต้า คอร์ป บริษัทวิจัยด้านยานยนต์สหรัฐฯ เปิดเผยว่า ยอดจำหน่ายรถยนต์ใหม่ในตลาดสหรัฐฯ เดือนกรกฎาคมซึ่งรวมรถยนต์นั่ง รถโดยสาร และรถบรรทุกน้ำหนักเบา อยู่ที่ 1,511,261 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.3 เมื่อเทียบเป็นรายปี ทำสถิติปรับตัวขึ้นติดต่อกันเป็นเดือนที่ 14
3. เศรษฐกิจโลก
- ธนาคารกลางอินเดียมีมติคงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ร้อยละ 7.25 โดยไม่สนใจแรงกดดันจากกระทรวงการคลังที่ต้องการให้ธนาคารปรับลดต้นทุนการกู้ยืมลง- ธนาคารกลางจีนเปิดเผยว่า ธนาคารกลางได้จัดสรรเงินกู้ระยะกลาง (MLF) มูลค่า 2.5 แสนล้านหยวน ซึ่งมีระยะเวลา 6 เดือน ให้แก่ธนาคารต่าง ๆ ที่อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 3.35 ในเดือนกรกฎาคม- กระทรวงพาณิชย์สหรัฐฯ เปิดเผยว่า ยอดสั่งซื้อภาคโรงงานสหรัฐฯ เดือนมิถุนายนเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.8 สอดคล้องกับตัวเลขคาดการณ์ หลังจากที่ลดลงร้อยละ 1.1 ในเดือนพฤษภาคม โดยได้รับแรงหนุนจากอุปสงค์ในภาคขนส่ง และเป็นสัญญาณบ่งชี้ว่ายอดสั่งซื้อภาคโรงงานได้ฟื้นตัวขึ้น- สถาบันจัดการอุปทานสหรัฐฯ (ISM) เปิดเผยว่า เดือนกรกฎาคมกิจกรรมในนครนิวยอร์กขยายตัวในอัตราสูงสุดของปีนี้ รายงานของ ISM ระบุว่า ดัชนีภาวะธุรกิจนิวยอร์กพุ่งขึ้นแตะ 68.8 ในเดือนกรกฎาคม ซึ่งเป็นระดับสูงสุดในรอบ 7 เดือน จาก 63.1 ในเดือนเมษายน- หนังสือพิมพ์ Economic Information Daily เปิดเผยว่า จีนมีแนวโน้มว่าจะยังคงใช้นโยบายการเงินที่ค่อนข้างจะผ่อนคลายต่อไป รวมทั้งใช้เครื่องมือทางการเงินที่เจาะกลุ่มเป้าหมายมากขึ้นในช่วงครึ่งปีหลัง เพื่อสนับสนุนเศรษฐกิจประเทศให้ดียิ่งขึ้น
4. อัตราแลกเปลี่ยน
- เงินบาทอยู่ที่ 35.13 บาทต่อดอลล่าร์สหรัฐ อ่อนค่าลง 0.01 บาทต่อดอลล่าร์สหรัฐ- เงินเยนอยู่ที่ 124.43 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ อ่อนค่าลง 0.38 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ
5. ราคาน้ำมัน
- สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาด Nymex ส่งมอบเดือนกันยายนปิดตลาดที่ 45.74 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล เพิ่มขึ้น 0.57 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล เนื่องจากนักลงทุนเข้ามาช้อนซื้อเพื่อเก็งกำไร หลังจากที่ราคาลดลงติดต่อกันหลายวัน นอกจากนี้ยังได้แรงหนุนจากการคาดการณ์ว่าสต๊อคน้ำมันดิบประจำสัปดาห์ของสหรัฐฯ จะปรับตัวลดลง- สัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ (Brent) ตลาดลอนดอนส่งมอบเดือนกันยายน ปิดที่ 49.99ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล เพิ่มขึ้น 0.47 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล
6. การเก็งกำไร
- ราคา TOCOM ส่งมอบเดือนกันยายน อยู่ที่ 189.0 เยนต่อกิโลกรัม เพิ่มขึ้น 1.8 เยนต่อกิโลกรัม และส่งมอบเดือนมกราคม 2559 อยู่ที่ 194.9 เยนต่อกิโลกรัม เพิ่มขึ้น 0.5 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ- ราคา SICOM เปิดตลาดที่ 155.8 เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม ลดลง 0.2 เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม
7. ข่าว
- สำนักงานสถิติแห่งชาติจีน (NBS) เปิดเผยว่า ราคาสินค้าทุนในจีนส่วนใหญ่ยังคงปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่อง ระหว่างวันที่ 21 - 30 กรกฎาคม 2558 เมื่อเทียบกับช่วงวันที่ 11 - 20 กรกฎาคม 2558
8. ข้อคิดเห็นของผู้ประกอบการ
- ราคายางทรงตัวหรือเปลี่ยนแปลงเล็กน้อย ผู้ประกอบการกล่าวว่าปีนี้ราคายางผิดปกติอย่างมาก เพราะผลผลิตมีน้อยมากเมื่อเทียบกับปีที่แล้ว เนื่องจากกรีดยางได้น้อยจากภาวะภัยแล้งต่อเนื่องถึงฝนตก ประกอบกับคนงานกรีดยางลาออกไปประกอบอาชีพอื่นเพราะรายได้ไม่พอจ่าย แต่ราคายางก็ยังคงปรับตัวลดลง
แนวโน้ม ราคายางมีแนวโน้มทรงตัวหรือเปลี่ยนแปลงในช่วงแคบ ๆ ทิศทางเดียวกับราคาตลาดล่วงหน้าโตเกียว โดยมีปัจจัยบวกจากเงินเยนและเงินบาทอ่อนค่า ประกอบกับราคาน้ำมันปรับตัวสูงขึ้น ส่วนปัจจัยลบมาจากนักลงทุนวิตกกังวลเกี่ยวกับเศรษฐกิจจีนและธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) ส่งสัญญาณอาจปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในเร็ว ๆ นี้ทีมวิเคราะห์สำนักงานตลาดกลางยางพาราสงขลา