ผู้เขียน หัวข้อ: วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อราคายาง วันจันทร์ที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2558  (อ่าน 1009 ครั้ง)

Rakayang.Com

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 83276
    • ดูรายละเอียด
วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อราคายาง
วันจันทร์ที่  3  สิงหาคม  พ.ศ. 2558
ปัจจัย
วิเคราะห์
1. สภาพภูมิอากาศ
- บริเวณประเทศไทยยังคงมีฝนตกหนาแน่นและตกหนักบางแห่ง โดยภาคใต้มีเมฆมากกับมีฝนตกกระจาย ร้อยละ 60 ของพื้นที่ เป็นอุปสรรคต่อการกรีดยาง ส่วนภาคอื่น ๆ มีฝนร้อยละ 60 - 70 ของพื้นที่
2. การใช้ยาง
- สมาคมผู้ผลิตยานยนต์ญี่ปุ่น (JAMA) เปิดเผยว่า การส่งออกรถยนต์ รถบรรทุก และรถบัส เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.3 เมื่อเทียบเป็นรายปีในเดือนมิถุนายน เป็นการเพิ่มขึ้นครั้งแรกในรอบ 2 เดือน โดยยอดส่งออกอยู่ที่ 403,730 คัน เพิ่มขึ้นจาก 390,915 คัน ในช่วงเดียวกันของปีก่อน ขณะที่การผลิตรถยนต์ในญี่ปุ่นลดลงร้อยละ 5.3 แตะที่ 811,864 คัน จาก 857,415 คัน ในช่วงเดียวกันของปีก่อน และเป็นการปรับตัวลงเป็นเดือนที่ 12 ติดต่อกัน ส่วนความต้องการรถยนต์ในประเทศลดลงร้อยละ 2.2 อยู่ที่ 442,631 คัน
3. สต๊อคยาง
- สต๊อคยางจีน ณ วันที่ 31 กรกฎาคม 2558 เพิ่มขึ้น 5,320 ตัน หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.00 อยู่ที่ 182,714 ตัน จากระดับ 177,395 ตัน เมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม 2558- สต๊อคยางญี่ปุ่น ณ วันที่ 20 กรกฎาคม 2558 เพิ่มขึ้น 92 ตัน หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.81 อยู่ที่ 11,495 ตัน จากระดับ 11,403 ตัน เมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม 2558
4. เศรษฐกิจโลก
- คณะกรรมการเพื่อการพัฒนาและปฏิรูปแห่งชาติจีนเปิดเผยว่า ผลกำไรในภาคการผลิตของจีนช่วงเดือนมกราคม - พฤษภาคม ขยายตัวร้อยละ 6.5 เมื่อเทียบเป็นรายปี- กระทรวงการคลังญี่ปุ่นปรับเพิ่มประเมินเศรษฐกิจในภูมิภาคที่แข็งแกร่งของภาคเอกชนและภาวะการจ้างงาน การปรับเพิ่มการประเมินดังกล่าวนับเป็นครั้งแรกที่ครอบคลุม 11 ภูมิภาค นับตั้งแต่เดือนมกราคม 2557- ธนาคารกลางรัสเซียประกาศปรับลดอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงลงร้อยละ 0.50 สู่ร้อยละ 11.0 เมื่อวันศุกร์ที่ 31 กรกฎาคม 2558 ตามความคาดหมายของตลาด หลังจากที่ปรับลดอัตราดอกเบี้ยเมื่อวันที่ 15 มิถุนายน 2558 สู่ร้อยละ 11.5 จากร้อยละ 12.5 ก่อนหน้านี้- ผลสำรวจของมหาวิทยาลัยมิชิแกนระบุว่า ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคสหรัฐฯ ขั้นสุดท้ายของเดือนกรกฎาคมลดลงสู่ระดับ 93.1 ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดนับตั้งแต่เดือนพฤษภาคม และต่ำกว่าระดับ 96.1 ในเดือนมิถุนายน ขณะที่ดัชนีแตะระดับสูงสุดในรอบ 11 ปีที่ 98.1 ในเดือนมกราคม 2558- ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิต เขตชิคาโก เดือนกรกฎาคมเพิ่มขึ้นแตะ 50.0 บ่งชี้ภาวะขยายตัว หลังจากอยู่ในภาวะหดตัวเป็นเวลา 2 เดือนติดต่อกัน และปรับลงแตะระดับต่ำสุดในรอบ 5 ปีครึ่งในเดือนกุมภาพันธ์ ทั้งนี้ดัชนีปรับตัวขึ้นสู่ระดับ 54.7 ในเดือนกรกฎาคม จาก 49.4 ในเดือนมิถุนายน- สำนักงานสถิติแห่งชาติเยอรมันรายงานว่า ยอดค้าปลีกช่วง 6 เดือนแรกของปีปรับตัวขึ้นร้อยละ 2.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน บ่งชี้ว่าการบริโภคภาคเอกชนช่วยกระตุ้นการขยายตัวทางเศรษฐกิจในปีนี้- รองผู้อำนวยการคณะกรรมการเพื่อการพัฒนาและปฏิรูปแห่งชาติจีน (NDRC) เปิดเผยว่า รัฐบาลจีนจะกระตุ้นการลงทุนเพื่อการพัฒนาด้านเทคโนโลยีในภาคอุตสาหกรรมการผลิต 6 ประเภทในช่วงปี 2558 - 2560 โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อการยกระดับภาคการผลิตและกระตุ้นการเติบโตของเศรษฐกิจ- กระทรวงพาณิชย์สหรัฐฯ เผยประมาณการครั้งแรกของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ไตรมาส 2 ขยายตัวร้อยละ 2.3 หลังจากขยายตัวเพียงร้อยละ 0.6 ในไตรมาสแรก อย่างไรก็ตาม GDP ขยายตัวน้อยกว่าที่ตลาดคาดการณ์ไว้ที่ร้อยละ 2.5- คณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงิน (FOMC) ของธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) ลงมติให้คงอัตราดอกเบี้ยช่วงร้อยละ 0 - 0.25 ต่อไป โดยระบุถึงความคืบหน้าในตลาดแรงงาน ชี้ให้เห็นว่าเฟดยังคงเดินหน้าในความพยายามปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในเดือนกันยายน หรือช่วงต่อไปในปีนี้- ผู้อำนวยการกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) กล่าวว่า เศรษฐกิจโลกกำลังฟื้นตัว แต่ยังมีความเปราะบางและเผชิญความเสี่ยงในช่วงขาลง โดยระบุว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯ มีการขยายตัวแข็งแกร่ง และคาดว่ายูโรโซนจะมีการเติบโตร้อยละ 1.5 ในปีนี้ และร้อยละ 1.7 ในปีหน้า หลังจากที่ขยายตัวเพียงร้อยละ 0.8 ในปีที่แล้ว สำหรับเศรษฐกิจญี่ปุ่นคาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 0.8 ในปีนี้ หลังจากหดตัวร้อยละ 0.1 ในปีที่แล้ว- สหพันธ์พลาธิการและการจัดซื้อของจีน (CFLP) เปิดเผยว่า
  • ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคบริการเดือนกรกฎาคมขยายตัวขึ้นสู่ระดับ 53.9 จาก 53.8 ในเดือนมิถุนายน
  • ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตเดือนกรกฎาคมอยู่ที่ 50.0 ลดลงจาก 50.2 ในเดือนมิถุนายน สอดคล้องกับที่มาร์กิต อิโคโนมิกส์ รายงานก่อนหน้านี้ว่าดัชนี PMI ภาคการผลิตเบื้องต้นของจีนเดือนกรกฎาคมลดลงแตะ 48.2 ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดในรอบ 15 เดือน จาก 49.4 ในเดือนมิถุนายน
  • [/l][/l][/l][/l][/l][/l][/l][/l]
5. อัตราแลกเปลี่ยน- เงินบาทอยู่ที่ 35.03 บาทต่อดอลล่าร์สหรัฐ อ่อนค่าลง 0.17 บาทต่อดอลล่าร์สหรัฐ- เงินเยนอยู่ที่ 123.97 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ อ่อนค่าลง 0.60 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ
6. ราคาน้ำมัน- สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาด Nymex ส่งมอบเดือนกันยายนปิดตลาดที่ 47.12 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล ลดลง 1.40 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล หลังจากสหรัฐฯ รายงานว่าจำนวนแท่นขุดเจาะน้ำมันภายในประเทศปรับตัวสูงขึ้นในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา ซึ่งข้อมูลดังกล่าวส่งผลให้นักลงทุนวิตกกังวลเกี่ยวกับภาวะอุปทานน้ำมันในตลาดโลกที่สูงเกินไป นอกจากนี้ยังได้รับแรงกกดันจากรายงานผลประกอบการที่ย่ำแย่ของบริษัทพลังงานรายใหญ่อย่างเอ็กซอนโมบิลและเชฟรอน- สัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ (Brent) ตลาดลอนดอนส่งมอบเดือนกันยายน ปิดที่ 52.21ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล ลดลง 1.10 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล- เลขาธิการกลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน (โอเปค) กล่าวว่า โอเปคจะไม่ลดกำลังการผลิตแม้ขณะที่โลกกำลังเผชิญกับภาวะน้ำมันล้นตลาด- กระทรวงกิจการภายในประเทศและการสื่อสารของญี่ปุ่นเปิดเผยว่า ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) เดือนมิถุนายนขยับขึ้นร้อยละ 0.1 เมื่อเทียบเป็นรายปี ทำสถิติเพิ่มขึ้นติดต่อกันเป็นเดือนที่ 25 อย่างไรก็ตาม ตัวเลขเงินเฟ้อของญี่ปุ่นยังอยู่ภายใต้แรงกดดันอันเนื่องมาจากการปรับตัวลดลงของราคาน้ำมัน
7. การเก็งกำไร- ราคา TOCOM ส่งมอบเดือนกันยายน อยู่ที่ 192.3 เยนต่อกิโลกรัม ลดลง 3.8 เยนต่อกิโลกรัม และส่งมอบเดือนมกราคม 2559 อยู่ที่ 200.3 เยนต่อกิโลกรัม ลดลง 3.1 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ- ราคา SICOM เปิดตลาดที่ 158.3 เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม ลดลงจากวันพุธที่ 29 กรกฎาคม 2558  0.20 เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม
8. ข่าว- รัฐบาลญี่ปุ่นเปิดเผยตัวเลขการเริ่มต้นสร้างบ้านเดือนมิถุนายนเพิ่มขึ้นร้อยละ 16.3 สู่ระดับ 88,111 ยูนิต โดยมีการขยายตัวเป็นเดือนที่ 4 ติดต่อกัน- กระทรวงกิจการภายในประเทศและการสื่อสารของญี่ปุ่นเผยว่า อัตราว่างงานเดือนมิถุนายนปรับตัวสูงขึ้นสู่ร้อยละ 3.4 นับเป็นการเพิ่มขึ้นครั้งแรกในรอบ 5 ปี เนื่องจากมีจำนวนผู้หางานเพิ่มขึ้น ซึ่งเป็นสัญญาณบ่งชี้ว่าสถานการณ์ตลาดแรงงานญี่ปุ่นดีขึ้นเป็นลำดับ- ผู้อำนวยการกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) กล่าวสนับสนุนความพยายามของทางการจีนในการสกัดความผันผวนในตลาด หลังตลาดหุ้นทรุดตัวลงอย่างหนักในช่วงที่ผ่านมา และเชื่อมั่นว่าความปั่นป่วนในตลาดหุ้นจีนจะไม่ส่งผลกระทบที่ลุกลามออกไป- กระทรวงพาณิชย์เปิดเผยว่า ดัชนีต้นทุนการจ้างงาน (ECI) ซึ่งเป็นมาตรวัดต้นทุนแรงงานที่กว้างที่สุด ขยับขึ้นเพียงร้อยละ 0.2 ในไตรมาส 2 เป็นการเพิ่มขึ้นน้อยที่สุดในรอบ 33 ปี และน้อยกว่าที่นักวิเคราะห์คาดว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.6
9. ข้อคิดเห็นของผู้ประกอบการ- ราคายางปรับตัวลดลงตามตลาดต่างประเทศ อย่างไรก็ตาม ผู้ประกอบการกล่าวว่า ปริมาณยางยังคงมีน้อย ประกอบกับเงินบาทอ่อนค่า ทำให้ราคายางไม่ปรับตัวลดลงมากตามตลาดต่างประเทศ
แนวโน้ม ราคายางมีแนวโน้มปรับตัวลดลงตามตลาดล่วงหน้าโตเกียวและราคาน้ำมัน ประกอบกับนักลงทุนวิตกกังวลเกี่ยวกับเศรษฐกิจจีนหลังจากภาคการผลิตเดือนกรกฎาคมชะลอตัว ทั้งนี้สต๊อคยาง ณ ตลาดล่วงหน้าเซี่ยงไฮ้ยังคงเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง สู่ระดับ 182,714 ตัน (31 กรกฎาคม 2558) จากสต๊อคเดิมที่ 177,394 ตัน (24 กรกฎาคม 2558) กอปรกับข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่ซบเซา อย่างไรก็ตาม เงินเยนและเงินบาทที่อ่อนค่ายังเป็นปัจจัยหนุนราคายางได้ในระดับหนึ่ง[/t][/t][/t]
   
   
ทีมวิเคราะห์สำนักงานตลาดกลางยางพาราสงขลา
[/list]
[/tr][/table]
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: สิงหาคม 03, 2015, 11:21:30 AM โดย Rakayang.Com »