ผู้เขียน หัวข้อ: วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อราคายาง วันพฤหัสบดีที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2558  (อ่าน 891 ครั้ง)

Rakayang.Com

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 84531
    • ดูรายละเอียด
วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อราคายาง
วันพฤหัสบดีที่  23  กรกฎาคม  พ.ศ. 2558
ปัจจัย
วิเคราะห์
1. สภาพภูมิอากาศ
- มรสุมตะวันตกเฉียงใต้มีกำลังอ่อนลงทำให้ประเทศไทยมีฝนลดลง โดยภาคใต้มีฝนร้อยละ 20.0 ของพื้นที่ ไม่ส่งผลกระทบต่อการกรีดยาง ขณะที่ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีฝนกระจายร้อยละ 60 ของพื้นที่
2. การใช้ยาง
- กรมศุลกากรเวียดนาม ระบุว่า ปริมาณการส่งออกยางของเวียดนามในช่วง 6 เดือนแรกของปี 2558 เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 22.0 หรือมีปริมาณส่งออกประมาณ 421,300 ตัน
3.เศรษฐกิจโลก
- ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคของจีน โดย ANZ-Roy Morgan ลดลงร้อยละ 2.5 สู่ระดับ 141.0 ในเดือนกรกฎาคม ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดนับตั้งแต่มีการรายงานดัชนีเป็นครั้งแรกเมื่อเดือนมกราคม 2557- สำนักสถิติแห่งชาติ่ของจีน รายงานว่า มูลค่าเพิ่มในภาคอุตสาหกรรมของจีนได้ปรับตัวขึ้นร้อยละ 6.3 ในช่วงครึ่งแรกของปีนี้ แต่อัตราดังกล่าวได้ชะลอตัวลงร้อยละ 2.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ขณะที่มูลค่าเพิ่มในภาคอุตสาหกรรมในเดือนมิถุนายน ปรับตัวขึ้นร้อยละ 6.8 ในเดือนมิถุนายน เมื่อเทียบรายปี และมีการขยายตัวติดต่อกันเป็นเดือนที่ 3- กระทรวงอุตสาหกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศของจีน เปิดเผยว่าภาคตสาหกรรมของจีนยังคงเผชิญกับแรงกดดันแม้ว่ามีสัญญาณบวกจากการที่รัฐบาลใช้นโยบายสนับสนุนภาคอุตสาหกรรมก็ตาม- หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ประจำสมาคมการธนาคารจีนและตลาดหลักทรัพย์ยังคงประเมินว่าเศรษฐกิจจีนมีแนวโน้มจะมีการขยายตัว ชะลอลงมาอยู่ที่ร้อยละ 6.0-6.5 ในช่วง 5 ปีข้างหน้า- สำนักงานสถิติแห่งชาติสหภาพยุโรป เปิดเผยว่า อัตราหนี้รัฐบาลต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทส (GDP) ของกลุ่มยูโรโซนเพิ่มขึ้น แตะร้อยละ 92.9 จากระดับร้อยละ 92.0 ในไตรมาส 1 ปี 2558 ส่วนกลุ่มประเทศสหภาพยุโรป (EU) นั้น อัตราหนี้ต่อGDP เพิ่มขึ้นแตะร้อยละ 88.2 จากระดับร้อยละ 86.9 และเมื่อเทียบกับไตรมาสแรกปี 2557 แล้วอัตราหนี้ต่อGDP ของยูโรซโซนเพิ่มขึ้นแตะร้อยละ 92.9 จากระดับร้อยละ 91.9 ส่วนอัตราหนี้ต่อGDP ของEU เพิ่มขึ้นแตะร้อยละ 88.2 จากระดับร้อยละ 86.2- สมาคมเครือข่ายร้านค้าของญี่ปุ่น เปิดเผยว่า ยอดขายในซุปเปอร์มาร์เก็ตญี่ปุ่นในเดือนมิถุนายน เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.3 จากปีก่อนหน้า โดยปรับตัวขึ้นเป็นเดือนที่ 3 ติดต่อกันท่ามกลางความเชื่อมั่นผู้บริโภคที่ปรับตัวดีขึ้น แม้มีโอกาสจับจ่ายใช้สอยลดลงจากปีก่อนหน้า 1 วัน
4. อัตราแลกเปลี่ยน
- เงินบาทอยู่ที่ 34.74 บาทต่อดอลล่าร์สหรัฐ อ่อนค่า 0.20 บาทต่อดอลล่าร์สหรัฐ- เงินเยนอยู่ที่ 124.07 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ อ่อนค่า 0.37 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ
5. ราคาน้ำมัน
- สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาด Nymex ส่งมอบเดือน กันยายน ปิดตลาดที่ 49.19 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล ปรับตัวลดลง 1.67 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล หลังจากสำนักงานสารสนเทศด้านพลังงานของสหรัฐฯ (EIA) เปิดเผยว่าสต๊อคน้ำมันดิบของสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นมากเกินคาดในสัปดาห์ที่แล้ว นอกจากนี้ยังได้รับแรงกดดันจากกลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน(โอเปก) ส่งสัญญาณว่าจะยังไม่ลดการผลิตน้ำมัน- สัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ ส่งมอบเดือนกันยายน ที่ตลาดลอนดอนปรับตัวลดลง 1.04 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล ปิดที่ 56.00 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล- ธนาคารโลกได้ปรับเพิ่มตัวเลขคาดการณ์ราคาน้ำมันดิบในปีนี้สู่ระดับ 57.0 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล จากเดิมที่คาดการณ์ในเดือนเมษายน ที่ 53.0 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล หลังจากราคาน้ำมันปรับเพิ่มขึ้น ร้อยละ 17.0 ในไตรมาส 2
- กลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน (โอเปก) ระบุว่า การร่วงลงของราคาน้ำมันในเดือนนี้เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นเพียงชั่วคราว และจะไม่ทำให้โอเปกลดกำลังการผลิตน้ำมัน- สำนักงานสารสนเทศด้านการพลังงานของรัฐบาลสหรัฐ (EIA) เปิดเผยว่า สต๊อกน้ำมันดิบของสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นมากเกินคาดในสัปดาห์ที่แล้ว ทั้งที่สต๊อกน้ำมันดิบเพิ่มขึ้น 2.5 ล้านบาร์เรลสู่ระดับ 46.3.9 ล้านบาร์เรล ขณะที่นักวิเคราะห์คาดว่าจะลดลง 1.6 ล้านบาร์เรล
6. การเก็งกำไร
- ราคาตลาด TOCOM ส่งมอบเดือนสิงหาคม 2558 อยู่ที่ 202.0 เยนต่อกิโลกรัม ลดลง 1.1 เยนต่อกิโลกรัม และส่งมอบเดือนธันวาคม 2558 อยู่ที่ 214.2 เยนต่อกิโลกรัม เพิ่มขึ้น 0.7  เยนต่อกิโลกรัม- ราคาตลาด SICOM เปิดตลาดที่ 166.5 เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม ลดลง 1.5 เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม
7. ข่าว
- สมาคมนายหน้าอสังหาริมทรัพย์แห่งชาติของสหรัฐฯ(NAR) เปิดเผยว่า ยอดขายบ้านมือสองในเดือนมิถุนายน เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.2 สู่ระดับ 5.49 ล้านยูนิต ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ และบ่งชี้ว่าตลาดที่อยู่อาศัยของสหรัฐฯ ยังคงสดใส
8. ข้อคิดเห็นของ ผู้ประกอบการ
- ราคายางทรงตัวหรือสูงขึ้นได้เล็กน้อย เพราะปริมาณผลผลิตมีน้อย ขณะที่ผู้ประกอบการส่วนใหญ่ยังคงขาดแคลนวัตถุดิบป้อนโรงงานเห็นได้จากมีผู้ประมูลในตลาดกลางจำนวนมากในแต่ละวัน
แนวโน้ม ราคายางมีแนวโน้มทรงตัวหรือเปลี่ยนแปลงในช่วงแคบ ๆ ในทิศทางเดียวกับตลาดโตเกียว โดยมีปัจจัยบวกมาจากเงินเยนและเงินบาทอ่อนค่า ประกอบกับอุปทานยางยังคงออกสู่ตลาดน้อย ส่วนปัจจัยลบมาจากราคาน้ำมันปรับตัวลดลงและโดยภาพรวมปัจจัยโดยตรงเกี่ยวกับภาคการผลิตอุตสาหกรรมยานยนต์ทั่วโลกยังไม่ฟื้น ส่งผลให้อุปสงค์ยางซบเซา



ทีมวิเคราะห์สำนักงานตลาดกลางยางพาราสงขลา